Skip to main content

หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 

ผมไม่ค่อยชอบการอธิบายความขัดแย้งในประเทศไทยขณะนี้ด้วยคำอธิบายแบบ "อำมาตย์-ไพร่" เท่าไรนัก เพราะมันห้วนและสรุปในเชิงชนชั้นสูง-ชนชั้นต่ำมากเกินไป แต่ก็เอาล่ะ หลายคนคงทราบว่าอุปลักษณ์นี้มันถูกอุปโลกน์กันขึ้นมาเพื่อให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางอำนาจมากกว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และถูกใช้อธิบายความเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางการเมืองมากกว่าจะอธิบายเชิงชนชั้น ส่วนหนึ่งมันก็จึงใช้ได้เข้าใจอะไร ใช้บอกเล่าอะไรเร็วๆ ได้อยู่ ก็จึงจะลองใช้คำว่า "เครือข่ายอำมาตย์" มาอธิบายอะไรในแวดวงวิชาการบ้าง

ผมอยากให้ลองนึกดูบนฐานของความเคลื่อนไหวในแวดวงวิชาการขณะนี้ว่า หาก "เครือข่ายอำมาตย์" ชนะในเวทีการเมือง แวดวงวิชาการจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ผลกระทบสำคัญประการแรกคือ การเข้ามายึดกุมอำนาจในการบริหารงานวิชาการ คณะผู้บริหารจะอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายอำมาตย์แทบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น คณบดี อธิการบดี คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยต่างๆ ตลอดจนคณะกรรมการบริหารสถาบันเหล่านี้ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่ยังมีในกระทรวง ในสำนักงานที่ตั้งขึ้นมาพิเศษเพื่อดำเนินการวิจัย และในองค์การมหาชนต่างๆ ที่มีงบประมาณและอำนาจการบริหารงานมากมายและเป็นอิสระกว่ามหาวิทยาลัย

คนเหล่านี้ควบคุมตั้งแต่หลักสูตรการศึกษา เนื้อหาของรายวิชาการที่จัดการเรียนการสอน การรับบุคคลากร ไปจนกระทั่งการไหลเวียนของเงินทุนวิจัย ประเด็นของการศึกษาวิจัย หรือแม้กระทั่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ บางคนอาจไม่เข้าใจว่า ทำไมใครจะมาควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์เราได้ ก็แน่ล่ะหากคุณไม่ต้องการเงินทุนของพวกเขา คุณก็ไม่ต้องพึ่งอำนาจเขา ไม่ต้องอยู่ใต้การกำกับของเขา แต่ชีวิตคุณก็จะต้องลำบากมากกว่าคนที่ทำยอมทำตามหัวข้อครึๆ แต่ตอบโจทย์ชาวอำมาตย์ได้ดี

อันที่จริงความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นแล้วในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ หากแต่เชื่อได้ว่า สถาณการณ์จะยิ่งเลวร้ายลงเมื่อฝ่ายอำมาตย์ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้

ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งนั้น คณะผู้บริหารได้สร้างเครือข่ายให้คณบดีและผู้อำนวยการสถาบันจำนวนหนึ่ง เป็นคนในเครือข่ายเดียวกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พวกเขาย่อมสนองตอบหรือดำเนินนโยบายไปในทำนองเดียวกันกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ผมยังไม่ได้ยินว่ามีใครสามารถสั่งให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงทำตามโดยไม่มีการโต้แย้งได้ง่ายๆ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นัก

ข้อนี้ต่างกับในสถาบันทางวิชาการอีกแห่งหนึ่ง ที่ผมทราบมาว่ามีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อจะให้องค์กรเดินไปในทางที่ "อนุรักษ์นิยม" ปรับตัวให้รับใช้เครือข่ายอำมาตย์มากยิ่งขึ้น ความจริงหากใครติดตามการดำเนินงานของสถาบันวิชาการบางแห่งก็คงจะพอเดาได้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นที่นั่น

อันที่จริงมีความพยายามจากรัฐบาลไทยสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการผลักดันให้วงการ "ไทยศึกษา" ที่เรียกได้ว่าก้าวหน้าที่สุดในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ข้อนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุหลายประการ เอาไว้มีเวลาจะมาเขียนเรื่องนี้ใหม่ว่าทำไมแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทยจึงต่างกับที่อื่นในภูมิภาคทางก้าวหน้ากว่า แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงทราบดีกันอยู่แล้ว) ให้กลายเป็นสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ ในประเทศไทย

ความพยายามที่ว่านี้นำมาซึ่งการเดินทางของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใน "เครือข่ายอำมาตย์" เพื่อออกไปหว่านล้อมให้มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับ Ivy League ในสหรัฐอเมริกา (ที่จริงรวมทั้งในออสเตรเลียด้วย) ทำโครงการไทยศึกษาที่ลดการวิจารณ์สถาบันประเพณีของไทย รวมทั้งตัดทุนสนุบสนุนมหาวิทยาลัยที่มีบุคคลากรที่ช่างวิพากษ์สังคมไทย แล้วผันเงินนั้นไปให้สถาบันที่โด่งดังมีชื่อเสียงแต่อนุรักษ์นิยม ในการเดินทางครั้งนั้น น่าสมเพชที่บางมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาไม่เล่นด้วย ก็เลียเสียหน้ากลับกันมาเล็กน้อย แต่ก็ไม่น่าประหลาดใจนักที่บางมหาวิทยาลัยงับเงินอันน้อยนิดแต่มีเส้นสายแน่นหนานั้นไป

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสถาบันที่ให้ทุนการวิจัยและทุนในการจัดสัมมนาทางวิชาการก็คือการจัดให้ "บรรดาผู้ชรา" กลับเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบันวิชาการสำคัญๆ ในประเทศไทย การนี้ทำให้บรรดาศาสตราจารย์ที่เขียนหนังสือปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งเล่ม ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร แล้วรับเอากลุ่มคนที่ แม้แต่นักวิชาอาวุโสในปัจจุบันยังเรียกคนเหล่านั้นว่า "คนแก่ๆ" กลับเข้ามาบริหาร ผลที่เกิดขึ้นแล้วคือประเด็นวิจัย เงินทุนวิจัย รวมทั้งเงินสนับสนุนการจัดงานประชุมทางวิชาการ ถูกใช้ไปในทิศทางที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นแบบนี้มาร่วม 20 ปีแล้ว ลองคิดดูเอาแล้วกันว่ามันจะถดถอยกันไปได้อีกถึงเพียงไหน

เขียนไปเขียนมาชักจะเป็น Hi S หรือ "ซ้อเจ็ด" ในวงวิชาการเข้าไปทุกที เอาเป็นว่า ดูๆ กันไปแล้วกันว่า แวดวงวิชาการในประเทศนี้จะเป็นอย่างไรหากฝ่ายอำมาตย์กลับมาครองอำนาจอีกครั้ง แต่เชื่อแน่ว่า หากเครือข่ายอำมาตย์ชนะ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทย ไปในทิศทางที่สวนกับพัฒนาการของโลกวิชาการสากลอย่างแน่นอน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...