Skip to main content
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น

 
อันที่จริงข้อเสนอของนักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้ก็ไม่มีอะไรใหม่ เพียงแต่เลี่ยงบาลี เปลี่ยนจากการเรียกนายกฯ คนกลาง ไปเป็นรองนายกฯ คนกลาง จะเรียกว่านายกฯ หรือรองนายกฯ หรือรักษาการนายกฯ ก็นับว่าเป็นหัวหน้ารัฐบาลทั้งสิ้น ที่สำคัญคือ แล้วเขาจะมาทำอะไร ทำไมจะต้องมีรัฐบาลอยู่ต่อไป จะปฏิรูปอะไรในเมื่อสภาก็ไม่มีแล้ว จะเอาเทคโนแครทอะไรมาจากอำนาจไหน จะต่างอะไรกับที่ กปปส. และพรรคพวกเรียกว่า “สภาประชาชน” หรือเผลอๆ เรียกสภาประชาชนโดยพยายามดึงคนจากกลุ่มต่างๆ มาร่วมก็จะยังน่าฟังเสียกว่า
 
แล้วทำไมประชาชนจะต้องยอมรับรัฐบาลประหลาดนี้ ทำไมผมจะต้องยอมรับด้วยล่ะ ประชาชนอย่างผมมีสิทธิไหมที่จะบอกว่าไม่เอาคนนั้นคนนี้ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้ารัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีชั่วคราว พวกเขามีความชอบธรรมอะไรมาให้ประชาชนอย่างผมยอมรับ แค่ไม่เข้าข้างใครสม่ำเสมอ ไม่ด่างพร้อย บริหารเก่งน่ะเหรอ แค่นี้ก็มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นกลางแล้ว เพราะไม่จำเป็นว่าคุณสมบัติเหล่านี้จะอยู่ในใจคนทุกคน ผมจะเลือกหัวหน้ารัฐบาลที่หล่อพูดเก่งแต่บริหารไม่เอาไหนไม่ได้เหรอ ผมจะเลือกคนที่มีความคิดความอ่านก้าวหน้าแต่อาจโกงบ้างไม่ได้เหรอ ผมจะเลือกคนสวยดูไม่ฉลาดแต่ตั้งใจทำงานไม่ได้เหรอ ผมเลือกเองไม่ได้เหรอ
 
ข้อเสนอของนักวิชาการสันติศึกษากลุ่มนี้เองก็จึงไม่เป็นกลาง ระหว่างการเลือกตั้งกับการแต่งตั้ง ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ จะมีอะไรกลางได้อย่างไร แล้วทำไมจึงต้องเลี่ยงไม่ยอมรับการเลือกตั้งแต่ต้น หากเห็นว่าเรายังไม่ควรเดินหน้าเลือกตั้ง นักวิชาการกลุ่มนี้ควรชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งขณะมีปัญหาอย่างไร ควรเถียงกับงานวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า ระบบการเลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดไม่มีปัญหา แต่ผู้จัดการเลือกตั้งคือ กกต. และกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงขัดขวางการเลือกตั้งต่างหากที่เป็นปัญหา การซื้อเสียงก็มีส่วนน้อยต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง อีกทั้งการซื้อเสียง-ขายเสียงก็ซับซ้อนและไม่อาจชี้ขาดผลการเลือกตั้งได้ ประเด็นเหล่านี้มีงานวิจัยทั้งสิ้น ถ้าไม่มีข้อถกเถียงมาหักล้าง แล้วจะให้ปฏิรูปอะไร 
 
แต่หากนักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้เห็นด้วยกับการเลือกตั้งก็ควรสนับสนุนให้ชัดเจน ไม่ใช่มาบ่ายเบี่ยงหาทางออกอื่นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำไมนักวิชาการกลุ่มนี้จึงออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จะซื้อเวลาไปทำไม ทำไมให้รีบๆ เลือกตั้ง จะได้มีรัฐบาลใหม่ที่ชอบธรรม จะได้เป็นการปฏิรูปที่ชอบธรรม ทำไมไม่เรียกร้องให้เลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปฏิรูป ผมไม่เชื่อว่าพวกท่านเองก็มีวาระซ่อนเร้นอยากจะเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งกับเขาด้วย เพียงแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่สนับสนุนให้สังคมเดินหน้าไปอย่างปกติ
 
ในทางกลับกัน หากท่านเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูป จะทำให้พวกท่านกลายเป็นคนไม่กลางหรืออย่างไร แล้วใครที่สนับสนุนการเลือกตั้งมีแต่ฝ่ายเพื่อไทยกับ นปช. หรืออย่างไร คนกลาง คนที่สนับสนุนพรรคอื่นๆ รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องการเลือกตั้งไม่มีหรือ การเลือกตั้งไม่เป็นกลางอย่างไร เพราะในท้ายที่สุด ในข้อเสนอของนักวิชาการสันติศึกษา พวกท่านก็ต้องการให้มีการลงประชามติ ให้เลือกตั้ง แล้วทำไมจะต้องรอด้วยล่ะ ทำไมต้องยอมหักกฎเกณฑ์เพื่อเอาใจคนส่วนน้อยและย่ิงน้อยลงไปทุกวันจนแทบจะเหลือไม่กี่คนแล้วด้วยล่ะ หรือพวกเขาเหลือน้อยเกินไปก็จึงต้องมาหนุนกันหน่อย
 
ทำไมเราต้องระดมสรรพปัญญามาแก้ปัญหาคนดื้อที่เอาแต่ใจตัวเองไม่ยอมรับกฎกติกาล่ะ ทำไมเราจึงไม่ระดมสรรพปัญญาเพื่อพยายามทำให้สาธารณชนเห็นว่า การเดินบนเส้นทางของกฎกติกานั้นสำคัญอย่างไรล่ะ ทำไมเราจะต้องคิดหาหนทางออกจากเส้นทางปกติจนกระทั่งอาจนำเราไปสู่หุบเหวล่ะ ทำไมเราต้องเอาใจใส่กับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบทางการเมือง คนเสื่อมศีลธรรม คนไม่เคารพกฎหมาย ที่มาเรียกร้องการปฏิรูปล่ะ ทำไมเราไม่เห็นใจคนที่เขาไม่มีหนทางใดที่จะส่งเสียงนอกจากการใช้สิทธิในคูหาเลือกตั้งบ้างล่ะ
 
ประชาธิปไตยไทยออกนอกเส้นทางมากี่ครั้งแล้ว แต่ละครั้งกว่าจะกลับเข้ามาได้เราต้องเสียเลือดเนื้อไปเท่าไหร่ นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้ย่อมทราบและชอกช้ำมามากกว่าผม นักวิชาการรับผิดชอบต่อข้อเสนอของได้เพียงการเอาปี๊บปิดหน้า หรือปีนหายกลับเข้าไปบนหอคอยงาช้าง กอดทุนวิจัยก้อนใหญ่และรางวัลทางวิชาการมากมาย แล้วสักพักก็ลงมาโลดแล่นเสนอทางออกให้สังคมได้ใหม่ แต่ประชาชนนั้นต้องรับผิดชอบกับทางเลือกทางการเมืองด้วยเลือดเนื้อและความบอบช้ำของจิตวิญญาณพวกเขา
 
*http://www.isranews.org/isra-news/item/29371-รักษาการนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนกลาง-แต่ไม่ได้มาด้วย-มาตรา-7.html#.U3HijTGr8Hs.twitter

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง