Skip to main content
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 
“การปกครองส่วนภูมิภาค” ได้แก่ ระบบกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย องค์กรเหล่านี้อยู่ในกำกับของรัฐมากที่สุด รวมศูนย์มากที่สุด “สภาองค์กรชุมชน” เป็นองค์กรที่ใหม่ เกิดขึ้นมาหลังการรัฐประหาร 2549 สภานี้เป็นสภาแต่งตั้งและยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก 
 
ส่วน “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หรือ อปท. ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีสมาชิกสภาและนายกสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หากไม่นับ อปท. อย่างกรุงเทพมหานครและพัทยา อปท. ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างส่วนใหญ่เริ่มมีขึ้นทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2537 และมีพัฒนาการที่เพิ่มอำนาจการบริหารงบประมาณและมีที่มาจากการเลือกตั้งมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา
 
นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง อปท. ขึ้นมาทั่วระเทศ มีงานวิจัยจำนวนมากที่ตั้งคำถามกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในที่นี้ขอประมวลให้เห็นชัดๆ อย่างย่อๆ ง่ายๆ จากงานวิจัยที่ผมมีส่วนร่วมอยู่ด้วยคืองานวิจัยเรื่อง “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ซึ่งได้ทุนสนับสนุนจาก สสส. หาอ่านได้ที่ http://www.scribd.com/doc/232877291/ภูมิทัศน-การเมืองไทย) ได้ดังนี้ 
 
1. “อปท. เป็นเพียงแหล่งทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองท้องถิ่นหรือไม่” การศึกษาจำนวนมากชี้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเอง 
 
เช่น จากตัวอย่างหมู่บ้านที่คณะวิจัยผมศึกษาหลายหมู่บ้าน พบว่าผู้นำและสมาชิกของ อปท. มีอิสระในการตัดสินใจของตนเอง สร้างโครงการพัฒนาที่ตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นได้โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขามาจากการเลือกตั้งของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อประชาชนตามวาระของการเลือกตั้ง
 
2. “อปท. มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่” งานวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เลือกศึกษา อปท. จำนวนหนึ่งในจังหวัดทางภาคตะวันออกชี้ให้เห็นว่า อปท. ระดับเทศบาลสามารถเก็บภาษีท้องถิ่นมาบริหาร พัฒนาเทศบาลของตนเองจำนวนมาก มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพจนได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างดี 
 
ไม่เพียงผลสะท้อนความพอใจจะแสดงออกจากผลการเลือกตั้ง แต่เทศบาลเหล่านั้นยังสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนในพื้นที่พึงพอใจและไว้ใจการให้บริการของ อปท. เหล่านั้น
 
3. “อปท. เป็นเพียงฐานอำนาจของผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นหรือไม่” งานศึกษาการเมืองท้องถิ่นจำนวนมากชี้ว่า พัฒนาการของการเมืองท้องถิ่นและเศรษฐกิจท้องถิ่นในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่แสดงว่า ทั้งผู้มีอิทธิพลทางการเมืองและผู้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นมีลดน้อยลง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า มีการแข่งขันกันระหว่างผู้มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้การผูกขาดอำนาจทั้งสองในท้องถิ่นลดลง 
 
ดังนั้น ในปัจจุบันเราจึงไม่ค่อยได้เห็นข่าวเสี่ยนั่น นายห้างนั้น พ่อเลี้ยงนี้ ถูกยิงตายหรือสังหารล้างตระกูลเพื่อสร้างบารมีกัน ผู้บริหาร อปท. จำนวนมากที่คณะวิจัยผมได้เคยสัมภาษณ์ ก็เปิดเผยว่าพวกเขากล้าท้าทายอำนาจของบรรดา “บ้านใหญ่” ในอดีตกันมากขึ้น เนื่องจากทางเลือกทางการเมืองและเศรษฐกิจมีมากขึ้น
 
4. “อปท. เป็นเพียงฐานอำนาจของพรรคการเมืองระดับชาติหรือไม่” จากการศึกษาพบว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ มักจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ไม่จำเป็นที่นักการเมืองท้องถิ่นในระดับตำบล หรือในระดับจังหวัด ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมระดับชาติ จะพลอยได้รับเลือกตั้งไปด้วยเพียงเพราะเขาสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นที่นิยมนั้น 
 
มีตัวอย่างมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งเป็น สส. แล้วลาออกจากตำแหน่งมาสมัคร สมาชิก อบจ. ก็ยังสอบตกได้ ที่เป็นดังนี้เพราะประชาชนใช้เกณฑ์ในการเลือก สส. แตกต่างจากเกณฑ์ในการเลือกสมาชิก อบจ.
 
5. “การเลือกตั้ง อปท. มีส่วนสร้างความขัดแย้งในท้องถิ่นหรือไม่” ขึ้นชื่อว่าสังคมมนุษย์ ที่ไหน เมื่อใด ก็จะต้องเต็มไปด้วยความขัดแย้ง สังคมที่ไม่ขัดแย้งก็น่าสงสัยว่าจะเป็นสังคมที่กลบเกลื่อนเก็บซ่อนความขัดแย้งเอาไว้ด้วยการกดหัวฝ่ายตรงข้ามให้ยอมรับ หากสังคมมีความเท่าเทียมกัน ความขัดแย้งก็จะต้องแสดงออกมา และการเลือกตั้งเป็นการจัดการความขัดแย้งในชุมชนอย่างสันติที่สุดเท่าที่สังคมมนุษย์คิดได้ในขณะนี้ 
 
ในหมู่บ้านที่ผมศึกษา ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งเป็นหนทางที่จะทำให้เขาได้ผู้นำท้องถิ่นที่พวกเขาต้องการ และเมื่อพวกเขาได้ผู้นำที่ต้องการแล้ว พวกเขาก็จะรอดูผลงาน จะตรวจสอบผู้นำ แล้วจะตัดวินใจใหม่เมื่อวาระของการเลือกตั้งใหม่มาถึง ประชาชนทุกแห่งสามารถเรียนรู้กระบวนการนี้ได้ แล้วพวกเขาก็จะเข้าใจว่า การเลือกตั้งต่างหากที่เป็นหนทางสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้ง
 
กล่าวอย่างถึงที่สุด ในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยกำลังเติบโต เป็นการเติบโตทั้งในทางประสิทธิภาพการบริหารงานและการบริหารจัดการงบประมาณ ไม่เพียงเท่านั้น การเติบโตของ อปท. คือดัชนีหนึ่งของการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น 
 
หากเราวาดหวังที่จะให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว เราก็จะต้องยิ่งส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นอันมีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจแบบนี้ยิ่งๆ ขึ้นไม่ใช่หรือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์