Skip to main content
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง

 
ตั้งแต่เด็ก ผมย้ายบ้านเป็นว่าเล่น เคยอยู่แถวสุทธิสาร ย้ายไปซอยอารี ย้ายไปสวนรื่น ไปเกียกกาย ไปเตาปูน ไปประชาชื่น แล้วไปๆ กลับๆ อยุธยา แล้วไปแมดิสัน แล้วไปเวียดนาม ฮานอย เซอนลา อยู่มหาชัย แล้วมาอยู่หนองแขม
 
แต่มีที่ไหนบ้างที่เราจะรู้สึกว่า "เป็นบ้าน" ได้ เมื่อถามตัวเองอย่างนั้น ผมรู้สึกว่า (เป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ใช่ความคิด) ความเป็นบ้านต้องให้ความมั่นใจ ให้ความอบอุ่น ให้ความสบายใจ ให้ความคุ้นเคย ให้ความไว้ใจ แล้วก็รู้สึกได้ว่า มีไม่กี่ที่ที่จะรู้สึกแบบนั้นได้
 
มีที่หนึ่งที่ผมรู้สึกเป็นบ้าน คือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตลกน่าดูที่ใครจะนับมหาวิทยาลัยว่าเป็นบ้าน เพราะนั่นคือสถานศึกษา จะเรียกว่าบ้านได้อย่างไร
 
แต่ถ้าใครได้เคยมีประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้เวลาแทบทั้งวันหรือบางทีเกือบทั้งคืนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอยู่นานเกือบ 10 ปี ได้รู้จักผู้คนมากมาย ได้สัมผัสรายละเอียดประจำวันทั้งซ้ำซากและแปลกใหม่ ได้เรียนรู้ทั้งชีวิตจำเจและความรู้ล้ำลึก เขาอาจรู้สึกถึงว่าสถานศึกษาเป็นบ้านได้
 
กลับมามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเที่ยวนี้ ผมรู้สึกเหมือนจากไปนาน ที่จริงก็นานนับ 7 ปีได้ แต่ก็กลับเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งของคนที่สนิทสนมคุ้นเคยอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของสถานที่แทบไม่เปลี่ยน สิ่งที่เคยใหม่ที่เคยต้องลำบากเรียนรู้ค่อยๆ กลับมา
 
ที่ดีกว่าการมาคราวก่อนมากคือ การมาครั้งนี้เป็นการกลับมาสู่ความคุ้นเคย ต่างจากการมาต่อสู้ มาดั้นด้น มาฝ่าฟัน มาท้าทายแบบเมื่อมาเรียน มาคราวนี้มีที่ว่าง มีเวลาว่าง มึอุปสรรคน้อยลง แต่ก็แตกต่างอย่างมากที่มาคราวนี้มาฟื้นฟู มากอบกู้ มาคราวนี้ก็มาเพิ่มพูน มาพัฒนา มาขยับขยาย
 
ผมคงมีเรื่องราวเก็บเกี่ยวได้อีกมากมาย ทั้งจากการได้เข้าใจทบทวนความเป็นไปที่ชินชาในอดีตที่ถูกทับถมด้วยการเรียนจนเรียนรู้ได้เพียงปล่อยตัวใจให้ไหลเรื่อยตามจังหวะชีวิตไป และจากการค้นพบเรียนรู้และรู้สึกใหม่ๆ จากการค้นหาเพิ่มเติมจากช่องว่างและผู้คนแปลกหน้าอีกกว่าครึ่งของเมื่อก่อน
 
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจความเป็นบ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ที่ไหนอย่างจริงจังเนิ่นนานในภาวะเปราะบางแล้ว ที่ไหนที่ช่วยให้สบายใจขึ้น ก็คงเป็นที่ที่เรียกว่าบ้านได้กระมัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้