Skip to main content
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง

 
ตั้งแต่เด็ก ผมย้ายบ้านเป็นว่าเล่น เคยอยู่แถวสุทธิสาร ย้ายไปซอยอารี ย้ายไปสวนรื่น ไปเกียกกาย ไปเตาปูน ไปประชาชื่น แล้วไปๆ กลับๆ อยุธยา แล้วไปแมดิสัน แล้วไปเวียดนาม ฮานอย เซอนลา อยู่มหาชัย แล้วมาอยู่หนองแขม
 
แต่มีที่ไหนบ้างที่เราจะรู้สึกว่า "เป็นบ้าน" ได้ เมื่อถามตัวเองอย่างนั้น ผมรู้สึกว่า (เป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ใช่ความคิด) ความเป็นบ้านต้องให้ความมั่นใจ ให้ความอบอุ่น ให้ความสบายใจ ให้ความคุ้นเคย ให้ความไว้ใจ แล้วก็รู้สึกได้ว่า มีไม่กี่ที่ที่จะรู้สึกแบบนั้นได้
 
มีที่หนึ่งที่ผมรู้สึกเป็นบ้าน คือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตลกน่าดูที่ใครจะนับมหาวิทยาลัยว่าเป็นบ้าน เพราะนั่นคือสถานศึกษา จะเรียกว่าบ้านได้อย่างไร
 
แต่ถ้าใครได้เคยมีประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้เวลาแทบทั้งวันหรือบางทีเกือบทั้งคืนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอยู่นานเกือบ 10 ปี ได้รู้จักผู้คนมากมาย ได้สัมผัสรายละเอียดประจำวันทั้งซ้ำซากและแปลกใหม่ ได้เรียนรู้ทั้งชีวิตจำเจและความรู้ล้ำลึก เขาอาจรู้สึกถึงว่าสถานศึกษาเป็นบ้านได้
 
กลับมามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเที่ยวนี้ ผมรู้สึกเหมือนจากไปนาน ที่จริงก็นานนับ 7 ปีได้ แต่ก็กลับเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งของคนที่สนิทสนมคุ้นเคยอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของสถานที่แทบไม่เปลี่ยน สิ่งที่เคยใหม่ที่เคยต้องลำบากเรียนรู้ค่อยๆ กลับมา
 
ที่ดีกว่าการมาคราวก่อนมากคือ การมาครั้งนี้เป็นการกลับมาสู่ความคุ้นเคย ต่างจากการมาต่อสู้ มาดั้นด้น มาฝ่าฟัน มาท้าทายแบบเมื่อมาเรียน มาคราวนี้มีที่ว่าง มีเวลาว่าง มึอุปสรรคน้อยลง แต่ก็แตกต่างอย่างมากที่มาคราวนี้มาฟื้นฟู มากอบกู้ มาคราวนี้ก็มาเพิ่มพูน มาพัฒนา มาขยับขยาย
 
ผมคงมีเรื่องราวเก็บเกี่ยวได้อีกมากมาย ทั้งจากการได้เข้าใจทบทวนความเป็นไปที่ชินชาในอดีตที่ถูกทับถมด้วยการเรียนจนเรียนรู้ได้เพียงปล่อยตัวใจให้ไหลเรื่อยตามจังหวะชีวิตไป และจากการค้นพบเรียนรู้และรู้สึกใหม่ๆ จากการค้นหาเพิ่มเติมจากช่องว่างและผู้คนแปลกหน้าอีกกว่าครึ่งของเมื่อก่อน
 
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจความเป็นบ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ที่ไหนอย่างจริงจังเนิ่นนานในภาวะเปราะบางแล้ว ที่ไหนที่ช่วยให้สบายใจขึ้น ก็คงเป็นที่ที่เรียกว่าบ้านได้กระมัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"