Skip to main content

เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 

ผู้ประกาศว่า "จงศึกษาผู้คนสามัญ" ศึกษา "มวลชนนิรนาม" ผู้เป็น "คนส่วนใหญ่ที่ดูต่ำต้อยเสมอชนกลุ่มน้อย" และคือผู้ประกาศว่า "การอ่านคือการฉกฉวย" ก็ชวนให้นึกถึงคำชวนเชิญของมิตรออนไลน์ผู้หนึ่ง ที่ให้เขียนเรื่องการอ่าน

ทุกวันนี้ดูเหมือนโลกออนไลน์ชวนให้เราอ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก เราอยากอ่านเรื่องราวของคนอื่น อยากอ่านเรื่องส่วนตัวที่คนแชร์ อยากอ่านเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับรู้ อยากอ่านเรื่องน่ารู้เจือประสบการณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ทั้งนั้น เร่่ืองน่าอ่านต้องสั้น ต้องไม่ซับซ้อนนัก ต้องไม่เฉพาะเจาะจงลึกลับจนเกินไป 

ในโลกออนไลน์ เหมือนคนอ่านสร้างงานเขียน ด้วยการกดไลท์หรือการเงียบงัน ด้วยการแซว จนถึงถากถาง ของชนเสมือนนิรนามต่อนักเขียนนามระบือ กระทั่งนักเขียนบางคนถึงกับทนคำเสียดสี ถากถางเหล่านั้นไม่ไหว จนนักอ่านช่างถากถางบางคนต้องไปสร้างพื้นที่ลี้ภัยการ "บล๊อก" ปิดกั้นการเข้าถากถางของนักเขียนนิรนามบางคน

ในยามที่ต้องกลับมา "อ่านซ้ำ (ๆๆๆ)" งานเขียนของบรมครูทางมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ตามคำเชื้อเชิญของ "เจ้าห้องอ่าน" (The Reading Room) ผมไม่ได้คิดถึง "อสัญกรรมของประพันธกร" หรือ "ประพันธกรคืออะไร?" ของนักวิเคราะห์วัฒนธรรมการเขียน-การอ่านอีกสองผู้ แต่ผมกลับคิดถึง "การอ่านคือการฉกฉวย" ของผู้ที่เพิ่งจั่วหัวข้อเขียนนี้ไป นั่นเพราะไม่ได้อยู้ในอารมณ์ที่จะถอดรื้อการเขียน มากเท่ากับอยากเฉลิมฉลองการอ่าน

ท่านว่า การอ่านคือการผลิตในกระบวนการของการบริโภค ความหมายของตัวบทที่มีผู้ผลิตขึ้นมา ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าความหมายที่การอ่านประกอบสร้างขึ้นมา การอ่านคือการฉกฉวยเนื้อหา ฉกฉวยความหมาย ที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ 

แต่อย่าสับสนกับการขโมยผลงานคนอื่นนะครับ นี่ไม่ได้ต้องการยุให้เที่ยวขโมยงานใครต่อใครไปใช้นะครับ การฉกฉวยที่ว่านี้คือการฉกฉวยด้วยการผลิตความหมาย ต่างจากการขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน

ครูทางการอ่านของผมอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอ่านสิ่งที่เราอยากอ่าน เราอ่านเอาเรื่องที่เราอยากรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่ผู้เขียนอยากบอกเล่าเท่านั้น ท่านว่า จงอ่านเพื่อหาว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ข้อเขียนนั้นๆ บอกอะไรในตัวเรา จงอ่านเพื่อหาสิ่งที่หนังสือพูดกับเรา และหากพบว่ามีความหมายบางอย่างที่หนังสือพูดกับเราเพียงคนเดียว ไม่ได้พูดกับผู้อ่านคนอื่น นั่นแหละที่เราได้เจออะไรใหม่ๆ เข้าให้แล้ว 

หรือหากจะกลับมาพูดแบบครูที่ว่าการอ่านคือการฉกฉวย เมื่อนั้นเองที่การอ่านคือการผลิต เมื่อนั้นเองที่ผู้อ่านไม่ได้เป็นเพียงผู้บริโภคความหมาย

นั่นคือ "เศรษฐกิจด้านการบริโภค" ของการอ่าน ยิ่งบริโภคยิ่งผลิต ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งกัดกินยิ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยิ่งบริโภคยิ่งล้างผลาญ ยิ่งฟุ่มเฟือย ยิ่งทำลายล้าง อย่างที่นักเทศน์ที่เข้าใจการบริโภคเพียงในแง่ร้ายเข้าใจ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์