Skip to main content
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง

 
ตั้งแต่เด็ก ผมย้ายบ้านเป็นว่าเล่น เคยอยู่แถวสุทธิสาร ย้ายไปซอยอารี ย้ายไปสวนรื่น ไปเกียกกาย ไปเตาปูน ไปประชาชื่น แล้วไปๆ กลับๆ อยุธยา แล้วไปแมดิสัน แล้วไปเวียดนาม ฮานอย เซอนลา อยู่มหาชัย แล้วมาอยู่หนองแขม
 
แต่มีที่ไหนบ้างที่เราจะรู้สึกว่า "เป็นบ้าน" ได้ เมื่อถามตัวเองอย่างนั้น ผมรู้สึกว่า (เป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ใช่ความคิด) ความเป็นบ้านต้องให้ความมั่นใจ ให้ความอบอุ่น ให้ความสบายใจ ให้ความคุ้นเคย ให้ความไว้ใจ แล้วก็รู้สึกได้ว่า มีไม่กี่ที่ที่จะรู้สึกแบบนั้นได้
 
มีที่หนึ่งที่ผมรู้สึกเป็นบ้าน คือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตลกน่าดูที่ใครจะนับมหาวิทยาลัยว่าเป็นบ้าน เพราะนั่นคือสถานศึกษา จะเรียกว่าบ้านได้อย่างไร
 
แต่ถ้าใครได้เคยมีประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้เวลาแทบทั้งวันหรือบางทีเกือบทั้งคืนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอยู่นานเกือบ 10 ปี ได้รู้จักผู้คนมากมาย ได้สัมผัสรายละเอียดประจำวันทั้งซ้ำซากและแปลกใหม่ ได้เรียนรู้ทั้งชีวิตจำเจและความรู้ล้ำลึก เขาอาจรู้สึกถึงว่าสถานศึกษาเป็นบ้านได้
 
กลับมามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเที่ยวนี้ ผมรู้สึกเหมือนจากไปนาน ที่จริงก็นานนับ 7 ปีได้ แต่ก็กลับเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งของคนที่สนิทสนมคุ้นเคยอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของสถานที่แทบไม่เปลี่ยน สิ่งที่เคยใหม่ที่เคยต้องลำบากเรียนรู้ค่อยๆ กลับมา
 
ที่ดีกว่าการมาคราวก่อนมากคือ การมาครั้งนี้เป็นการกลับมาสู่ความคุ้นเคย ต่างจากการมาต่อสู้ มาดั้นด้น มาฝ่าฟัน มาท้าทายแบบเมื่อมาเรียน มาคราวนี้มีที่ว่าง มีเวลาว่าง มึอุปสรรคน้อยลง แต่ก็แตกต่างอย่างมากที่มาคราวนี้มาฟื้นฟู มากอบกู้ มาคราวนี้ก็มาเพิ่มพูน มาพัฒนา มาขยับขยาย
 
ผมคงมีเรื่องราวเก็บเกี่ยวได้อีกมากมาย ทั้งจากการได้เข้าใจทบทวนความเป็นไปที่ชินชาในอดีตที่ถูกทับถมด้วยการเรียนจนเรียนรู้ได้เพียงปล่อยตัวใจให้ไหลเรื่อยตามจังหวะชีวิตไป และจากการค้นพบเรียนรู้และรู้สึกใหม่ๆ จากการค้นหาเพิ่มเติมจากช่องว่างและผู้คนแปลกหน้าอีกกว่าครึ่งของเมื่อก่อน
 
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจความเป็นบ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ที่ไหนอย่างจริงจังเนิ่นนานในภาวะเปราะบางแล้ว ที่ไหนที่ช่วยให้สบายใจขึ้น ก็คงเป็นที่ที่เรียกว่าบ้านได้กระมัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย