Skip to main content
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง

 
ตั้งแต่เด็ก ผมย้ายบ้านเป็นว่าเล่น เคยอยู่แถวสุทธิสาร ย้ายไปซอยอารี ย้ายไปสวนรื่น ไปเกียกกาย ไปเตาปูน ไปประชาชื่น แล้วไปๆ กลับๆ อยุธยา แล้วไปแมดิสัน แล้วไปเวียดนาม ฮานอย เซอนลา อยู่มหาชัย แล้วมาอยู่หนองแขม
 
แต่มีที่ไหนบ้างที่เราจะรู้สึกว่า "เป็นบ้าน" ได้ เมื่อถามตัวเองอย่างนั้น ผมรู้สึกว่า (เป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ใช่ความคิด) ความเป็นบ้านต้องให้ความมั่นใจ ให้ความอบอุ่น ให้ความสบายใจ ให้ความคุ้นเคย ให้ความไว้ใจ แล้วก็รู้สึกได้ว่า มีไม่กี่ที่ที่จะรู้สึกแบบนั้นได้
 
มีที่หนึ่งที่ผมรู้สึกเป็นบ้าน คือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตลกน่าดูที่ใครจะนับมหาวิทยาลัยว่าเป็นบ้าน เพราะนั่นคือสถานศึกษา จะเรียกว่าบ้านได้อย่างไร
 
แต่ถ้าใครได้เคยมีประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้เวลาแทบทั้งวันหรือบางทีเกือบทั้งคืนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอยู่นานเกือบ 10 ปี ได้รู้จักผู้คนมากมาย ได้สัมผัสรายละเอียดประจำวันทั้งซ้ำซากและแปลกใหม่ ได้เรียนรู้ทั้งชีวิตจำเจและความรู้ล้ำลึก เขาอาจรู้สึกถึงว่าสถานศึกษาเป็นบ้านได้
 
กลับมามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเที่ยวนี้ ผมรู้สึกเหมือนจากไปนาน ที่จริงก็นานนับ 7 ปีได้ แต่ก็กลับเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งของคนที่สนิทสนมคุ้นเคยอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของสถานที่แทบไม่เปลี่ยน สิ่งที่เคยใหม่ที่เคยต้องลำบากเรียนรู้ค่อยๆ กลับมา
 
ที่ดีกว่าการมาคราวก่อนมากคือ การมาครั้งนี้เป็นการกลับมาสู่ความคุ้นเคย ต่างจากการมาต่อสู้ มาดั้นด้น มาฝ่าฟัน มาท้าทายแบบเมื่อมาเรียน มาคราวนี้มีที่ว่าง มีเวลาว่าง มึอุปสรรคน้อยลง แต่ก็แตกต่างอย่างมากที่มาคราวนี้มาฟื้นฟู มากอบกู้ มาคราวนี้ก็มาเพิ่มพูน มาพัฒนา มาขยับขยาย
 
ผมคงมีเรื่องราวเก็บเกี่ยวได้อีกมากมาย ทั้งจากการได้เข้าใจทบทวนความเป็นไปที่ชินชาในอดีตที่ถูกทับถมด้วยการเรียนจนเรียนรู้ได้เพียงปล่อยตัวใจให้ไหลเรื่อยตามจังหวะชีวิตไป และจากการค้นพบเรียนรู้และรู้สึกใหม่ๆ จากการค้นหาเพิ่มเติมจากช่องว่างและผู้คนแปลกหน้าอีกกว่าครึ่งของเมื่อก่อน
 
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจความเป็นบ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ที่ไหนอย่างจริงจังเนิ่นนานในภาวะเปราะบางแล้ว ที่ไหนที่ช่วยให้สบายใจขึ้น ก็คงเป็นที่ที่เรียกว่าบ้านได้กระมัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)