Skip to main content

นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ

พูดถึง "การเขียน" ผมว่าคนเราต้องเขียนสิ่งที่เรารู้ เราคิด เรารู้สึกจริงๆ คือเขียนอย่างจริงใจ อย่างไม่หลอกลวงตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นลีลาแบบตรงไปตรงมาหรือประชดประชันหรือลีลาไหนๆ ก็ตาม นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด 

ผมว่ามันจะตลกน่าดูหากการเขียนจะเขียนเพียงเพื่อเอาใจคนอ่าน การเขียนคือการแสดงออกอย่างหนึ่ง ถ้าเราต้องแสดงออกเพียงเพื่อให้ถูกใจผู้รับรู้ นักเขียนคนนั้นจะไปได้ไม่ไกลหรอก 

ผมมองการเขียนเหมือนกับการทำงานศิลปะ ถ้าผู้สร้างผลงานทำงานได้แค่งานเอาใจตลาด เขาก็จะไม่มีวันได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากคนอื่น อันนี้ก็ต้องเลือกเอาว่าคุณอยากเป็นคนทำงานป้อนตลาด หรืออยากเป็นคนทำงานที่ได้นำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งก็ต้องเสี่ยงว่าจะตกกระป๋องหรือก้าวลำนำหน้าคนอื่น 

แต่ผมบอกได้ว่า ในประสบการณ์ของผมและจากคนที่รู้จักรอบข้าง การเลือกทำงานตามความเป็นตัวของตัวเอง แม้จะลำบาก แต่ผลที่ได้รับมีสองอย่าง ในเบื้องต้น คุณสนุกกับมัน และจะทำมันอย่างเต็มที่ ในท้ายที่สุด คุณจะได้ผลตอบแทนคือมีที่มีทางในสังคม แม้จะช้าไปบ้าง (จนบางคนอาจต้องรอหลังสิ้นชีวิตไปแล้ว-ข้อนี้ผมไม่ได้บอกเขาไป)

ข้อต่อมา เรื่อง "อนาคต" ว่าในเมื่อคุณเป็นคนช่างสงสัย ไม่เชื่อตามที่ใครๆ เขาบอกกันง่ายๆ แล้วจะทำให้ชีวิตลำบากหรือเปล่า คุณอายุยังน้อย ไม่น่าแปลกใจที่คุณย่อมกังวลว่าอนาคตข้างหน้าไกลๆ จะเดินไปอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร ทางไหนกันแน่ที่จะเป็นทางที่ประสบความสำเร็จ 

เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ มันแล้วแต่จังหวะ โอกาส และการตัดสินใจ หากจะตอบจากตัวเอง ผมเองที่เป็นผมทุกวันนี้ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นตัวเองแบบที่ใฝ่ฝันตั้งแต่เด็กๆ คือความฝันเรามันเป็นอย่าง แต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราฝันเป๊ะๆ หรอก แต่ก็ไม่รู้นะ บางคนอาจทำตามฝันได้ตรงเป๊ะจริงๆ ก็ได้ 

ความฝันเราก็คงต้องปรับไปเรื่อยๆ บ้าง ตามเงื่อนไขความจริงที่มันขยับไปเรื่อยๆ เด็กๆ ผมไม่เคยคิดจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ใครจะไปฝันแบบนั้นได้ล่ะหากไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวแบบนั้น ผมไม่ได้เติมโตมาในครอบครัวที่มีการศึกษาสูงอะไร เพียงแต่เงื่อนไขของชีวิตมันนำพามาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มาทำงานอย่างที่เป็นทุกวันนี้

แต่หากจะถามว่า แล้วผมได้ทำตามความใฝ่ฝันไหม ก็ใช่นะ นี่คือสิ่งที่ผมอยากเป็นโดยรวมๆ คือ อยากทำงานที่อิสระ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากนำเสนอความคิดความอ่านของตัวเอง อยากค้นคว้าหาความรู้ไปเรื่อยๆ เหล่านี้ตรงกับความเป็นผมที่ใฝ่ฝันแบบรวมๆ โดยที่ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะลงเอยอย่างไร 

สรุป ถ้าถามผมว่าจะทำอย่างไรดี คุณก็ต้องถามตัวเองในขณะนี้ แล้วทำเท่าที่จะทำได้ แบบไม่หลอกตัวเอง แต่นั่นก็แล้วแต่ว่าคุณจะเลือกอย่างไรอยู่ดี

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน