Skip to main content
 
 
เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 

 
แต่แล้วผมก็ตัดสินใจเข้าสถาบันศิลปะทั้งๆ ที่มีเวลาเพียงอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่งก็จะถึงเวลาปิดแล้ว มีสิ่งเดียวที่ดึงผมเข้าไปได้ในเวลาที่เหลือน้อยนิด นั่นก็คือภาพเรอเน มากริตต์ขนาดมหึมาหน้าสถาบันศิลปะแห่งนี้ 
 
อย่างที่หลายๆ คนทราบดีอยู่แล้วว่า สถาบันศิลปะแห่งนี้มีคอลเล็คชั่นงานศิลปะจำนวนและชิ้นงานสำคัญๆ เทียบกันไม่ได้กับสถาบันศิลปะแห่งอื่นๆ เช่น หากจะเทียบงานศิลปะสมัยใหม่แล้ว ก็เทียบไม่ได้เลยกับ the MoMA ของนิวยอร์ค แต่จากการใช้เวลาโฉบๆ ชมและถ่ายรูปแบบไวๆ ก็พบว่าที่นี่ก็พอจะมีงานชิ้นดังๆ เท่าที่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลป์อันจำกัดของผมจะประเมินได้อยู่นับสิบชิ้น
 
แต่ที่เกินคาดและผมถือว่าคุ้มค่าเป็นส่วนตัวคือการแสดงนิทรรศการพิเศษที่รวมรวมผลงานของมากริตต์น่าจะนับ 100 ชิ้นมาแสดงในช่วงเวลาที่ผมไปเยี่ยมชมพอดี ภาพหลายภาพ ผลงานหลายชิ้น ล้วนผ่านหูผ่านตามาหลายต่อหลายครั้ง หลายคนก็คงเคยเห็นและติดตาติดใจ แต่โอกาสที่จะได้เห็นภาพต้นฉบับอย่างใกล้ชิดเช่นนี้ คงเป็นไปได้ยากมาก เสียดายที่เขาไม่ให้ถ่ายภาพ
 
ผลงานเท่าที่ผมจดมาตามความประทับใจที่มีอยู่เดิมต่อภาพเหล่านี้ก็ได้แก่ The Lovers ภาพคนคลุมผ้าจูบกัน, This is not a pipe อันโด่งดัง, Threatening Weather เมฆก่อรูปความฝัน, The False Mirror ดวงตาสะท้อนท้องฟ้า, The Human Condition ภาพทิวทัศน์ที่สนิทกับทิวทัศน์, The Rape ที่ผมบันทึกมา, Black Magic ภาพนู๊ดลวงตาที่ไม่ค่อยพูดถึงกันนัก
 
The Red Model ภาพรองเท้ารูปเท้า, The Healer คนใส่หมวกคลุมผ้าตัวเป็นกรงนก, Clairvoyance ศิลปินวาดรูปไข่แต่กลายเป็นนกในผ้าใบ, Time Transfixed รถไฟวิ่งออกมาจากเตาผิงข้างผนัง ที่จริงมีงานอื่นๆ อีกมากมาย แต่ผมเลือกงานเหล่าน้เพราะติดตาประทับใจเองมาเนิ่นนานแล้ว
 
 
เมื่อเทียบกับภาพเขียนพวกเซอร์เรียลคนอื่นๆ ผมชอบมากริตต์ตรงที่การใช้ภาพและสัญลักษณ์ที่ปกติสามัญทั่วไป แถมยังใช้สีเรียบง่าย สดใส และมักใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบสมจริง แต่กลับสามารถตั้งคำถามและสร้างความรู้สึกแปลกใหม่ได้อย่างน่าประหลาด มากริตต์ไม่ค่อยเล่นกับเซ็กซ์และความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาหรือเกรี้ยวกราดมากนัก แต่เขาจะอาศัยรูปสัญลักษณ์ที่ต้องตีความ ที่จริงก็มีบ้างเหมือนกันที่เขาวาดรูปคนกินนกแบบสดๆ เลือดสาด แต่ก็ต้วยโทนสีที่เงียบสงบ ที่จะมียากบ้างก็บรรดาสัญลักษณ์เฉพาะตัวของเขาเองที่กลายเป็น motif เฉพาะตัวของเขา เช่นเมฆ หมวก กระดาษตัด เสาประดับโค้งๆ ดวงตา
 
ในแง่ความคิด ผมชอบงานมากริตต์ตรงที่งานเขาตั้งคำถามกับการถ่ายทอดความจริงทางศิลปะ เช่น การเล่นกับภาพแทนความจริงผ่านการล้อเลียนภาพสามมิติด้วยการทำให้มันสองมิติ การเล่นกับภาพลวงตาที่ประกอบจากมุมมองและการจัดวางภาพ การพิจารณาความซับซ้อนและทับซ้อนกันของอักษร ภาพ และความจริง เช่นภาพอันโด่งดังคือ This is not a pipe. และการท้าทายความเข้าใจแบบปกติสามัญด้วยการนำเอาสัญลักษณ์ที่ไม่เข้ากัน ไม่เป็นระบบต่อเนื่องกัน อยู่กันคนละที่ละทางมาวางไว้ด้วยกันจนเกิดความหมายแปลกใหม่ เกิดความรู้สึกประหลาด
 
ประเด็นเหล่านั้นบอกเล่าอยู่ในนิทรรศการพิเศษนี้อย่างครบครันด้วยคำบรรยายภาพมากมาย จนกระทั่งบางครั้งผมดูไปอ่านไปแล้วรู้สึกว่ามันมากเกินไปด้วยซ้ำ
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มาดูภาพด้วยตาตนเองอย่างใกล้ชิดแล้ว ก็เห็นความพิถีพิถันประณีตบรรจงในการทำงานศิลปะของมากริตต์ ผลงานของมากริตต์ส่วนใหญ่เป็นภาพสีน้ำมัน ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่บางภาพก็ใหญ่มาก เมื่อได้ดูภาพใกล้ๆ จนได้เห็นฝีแปรงพู่กัน ได้เห็นการสอดสี ก็ทำให้เข้าใจวิธีการสร้างภาพของมากริตต์ ที่อาศัยเทคนิคแบบภาพสมจริงเป็นหลัก แต่สร้างความไม่สมจริงจากการประกอบภาพ อย่างไรก็ตาม มากริตต์ก็ทดลองสร้างภาพที่สื่อสารกันระหว่างภาพวาดหลายๆ ภาพ ข้ามกรอบรูปด้วยเช่นกัน ผลงานของเขาลางชิ้นจึงไม่ได้เป็นเพียงภาพๆ เดียวโดดๆ แต่ประกอบจากหลายๆ ภาพ
 
นอกจากนั้น การได้มาดูเองยังทำให้ได้เห็นขนาดของภาพ สี และแสง ที่แตกต่างจากที่เคยคิดเคยเห็นหรือไม่มีโอกาสจินตนาการได้ชัดเจนเท่ากับที่เมื่อได้เห็นภาพต้นฉบับ เช่น This is not a pipe. นั้น มีขนาดใหญ่กว่าที่ผมเคยจินตนาการไว้มากนัก นอกจากนั้นงานครั้งนี้ยังรวบรวมเอาภาพถ่ายและภาพพิมพ์จำนวนหนึ่งของมากริตต์มาแสดงด้วย ทำให้ได้เห็นผลงานที่มักไม่ค่อยเห็นกันนักมากขึ้น แต่ที่น่าผิดหวังหน่อยหนึ่งคือ เขาน่าจะนำภาพยนตร์ที่มากริตต์น่าจะมีส่วนร่วมสร้างกับศิลปินคนอื่นๆ มาแสดงบ้าง 
 
ณ ที่ซึ่งเคยเก็บทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์มาก่อนแห่งนี้ ยังมีผลงานศิลปะเอเชีย ศิลปะยุโรป และศิลปะอเมริกันพื้นเมืองอีกมากมายที่ผมยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากพอในการศึกษา-ชื่นชม แม้จะถูกตราหน้าว่า "ซื้อของโจร" มาก่อนแล้วก็ตาม สถาบันแห่งนี้ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษาเทียบเคียงสุนทรีย์ศาสตร์ทั้งที่หลากหลายและที่เป็นสากลของมนุษยชาติผ่านวัตถุทางศิลปะ ทั้งแก่ชาวเมืองนี้เองและผู้เข้าเยี่ยมชมจากทั่วโลก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้