Skip to main content
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง

 
แต่แวดวงการศึกษาเรื่องไทยในโลกสากล เสนอทั้งข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์โต้แย้งทัศนะแบบนี้ไว้อย่างพิศารมากมายเนิ่นนานมาหลายสิบปีแล้ว อย่าเพิ่งรังเกียจ "แวดวงวิชาการไทยศึกษาสากล" เพียงเพราะแวดวงนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะแวดวงนี้ไม่ได้มีแต่ฝรั่ง มีคนเอเชียอื่นๆ รวมทั้งคนไทยอยู่ด้วยมากมาย ผลงานวิชาการก็มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ สมัยนี้ใครทำงานไทยศึกษานานาชาติแล้วไม่อ่านงานนักวิชาการไทย ยิ่งตกยุคไปกันใหญ่
 
ไม่ว่าจะมองผ่านเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ระบบศาลยุติธรรม หรือวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทัศนะที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเ็นเมืองขึ้นฝรั่ง" นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปหมด
 
นับตั้งแต่อำนาจฝรั่งตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลียนทิศทางไป จากการค้าขายแลกเปลี่ยน ไปเป็นการแข่งขันทางการค้าและการยึดพื้นที่การผลิตวัตถุดิบในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 
 
ในกรณีของสยาม ไหนจะทำให้ชนชั้นนำเสียอำนาจการผูกขาดการค้าขาย ไหนจะการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้คนในอานัติต่างชาติหากทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลสยาม ไหนจะการเปิดพื้นที่สาธารณะของการถกเถียงผ่านหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ ที่ส่วนหนึ่งเฟื่องฟูเพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ว่าทำให้คนนอกอานัติสยามกล้าแสดงความเห็นด้วยภาษาไทยด้วยซ้ำ 
 
ไหนจะการปฏรูปเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่กระทบตั้งแต่ในวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด เช่น การยกเลิกการหมอบกราบ ไหนจะการนำเข้าวรรณคดีและความคิดจากต่างประเทศของชนชั้นนำเอง และการบริโภคสินค้าจากต่างประเทศอย่างล้นเหลือของชนชั้นนำเอง เหล่านี้ทำให้ต้องประเมินกันให้ดีว่า ตกลง "ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" จริงหรือ
 
เอาเข้าจริงๆ แทนที่จะเป็นบุญคุณความสามารถพิเศษของใครที่ไหน ที่จริงคนไทยควรขอบคุณฝรั่งเศสกับอังกฤษที่ตกลงกันได้ว่าจะเก็บสยามไว้เป็นรัฐกันชนระหว่างอินโดจีนกับบริติชอินเดีย หลักฐานข้อนี้นักวิชาการสำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ไม่เคยเห็นกันหรือไง หรือไม่อยากเห็นก็เลยไม่ค้นคว้า
 
ลึกลงไปกว่านั้น การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการสร้างระบบการปกครองส่วนภูมิภาค การสร้างเอกภาพของรัฐสมัยใหม่ผ่านจินตนาการตัวตนบนแผนที่ การสร้างสำนึกความเป็นคนไทยร่วมกัน การลดทอนทำลายความเป็นท้องถิ่น การศึกษาสมัยใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้ท้องถิ่นและคนกลุ่มต่างๆ กลายเป็นอาณานิคมของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากที่ฝรั่งทำกับประเทศใต้อาณานิคม
 
ล่าสุด ทัศนะแบบ "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ปรากฏตัวอีกครั้งผ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่หลายคนเคยยกย่องว่าเป็นครู แต่ตอนนี้แม้จะเอ่ยชื่อยังไม่อยากเอ่ยถึงให้แปดเปื้อนหน้ากระดาษ (http://www.ryt9.com/s/tpd/1969581)
 
แถมบทความนี้ยังอ้างงานนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่เคยเขียนรายงานซึ่งไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ให้สหรัฐอเมริกามาสนับสนุน (ค.ศ. 1943 เผยแพร่โดยคอร์แนลปี 1952 และ 1963) ตลกไหมล่ะ วันนี้สหรัฐฯ (ค.ศ. 2014) ต่อต้านรัฐประหารในไทย แต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนร่วมมือกระทั่งสร้างและอุ้มชูรัฐบาลเผด็จการในไทย เอกสารสมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตยกลับไม่อ้าง แต่นักหนังสือพิมพ์สำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" กลับไปอ้างเอกสารสหรัฐฯ สมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนเผด็จการเมื่อ 71 ปีที่แล้วเพื่อเข้าใจสังคมไทยปัจจุบัน (http://www.nla.gov.au/apps/doview/nla.gen-vn5040081-p.pdf)
 
ผมไม่อยากเสียเวลามากนัก แต่ขอกล่าวถึงงานเขียนของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นนี้สั้นๆ ว่า ปัจจุบันที่ใครจะอ่านบทความนี้เพื่อเข้าใจสังคมไทยจริงๆ นั้น น้อยมากแล้ว นักเรียนมานุษยวิทยาเขาอ่านเพื่อเข้าใจวิธีคิดของนักทฤษฎีสมัยนั้นเท่านั้น ทำไมล่ะ ก็เพราะว่า ที่จะบอกว่าคนไทยเป็นแบบใดแบบหนึ่งเหมือนๆ กันไปหมดน่ะ ความคิดแบบนั้นมันล้าหลังงตกขอบไปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว ถ้าความคิดนี้ยังใช้ได้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจนักศึกษาไทยที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารในทศวรรษ 1970 ได้หรอก ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมได้หรอก ไม่เข้าใจการต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุดได้หรอก
 
นี่ยังไม่นับว่า คนเขียนเอกสารยาวแค่ 50 กว่าหน้านี้แม้จะโด่งดัง แต่ก็ไม่เคยมาทำวิจัยในประเทศไทย แถมเบเนดิกต์ยังหูหนวกส่วนหนึ่ง ข้อนี้รู้กันทั่วว่าเธอทำวิจัยเอกสารเป็นหลัก จึงไม่ได้จะแม้แต่สัมภาษณ์คนไทย นักการทูตไทย ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเอกสารที่ผ่านการตีความมาแล้วอีกทีทั้งสิ้น แถมเธอยังเลือกเฉพาะเอกสารที่ช่วยให้สรุปไปได้ทางเดียวทั้งสิ้น ภาพสังคมไทยจึงเป็นก้อนเดียวเหมือนกันไปหมด สมัยนี้การวิจัยแบบนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันในแวดวงมานุษยวิทยาแล้ว (นี่ไม่ได้หมายความว่างานของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นอื่นๆ อีกมากมายจะไม่ควรศึกษาอีกต่อไป ได้โปรดอย่าสรุปง่ายๆ อย่างนั้น)
 
แนวคิด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" เป็นคำพูดหลอกตัวเองจริงๆ คำพูดนี้ลดทอนความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยกับโลกสากล ยิ่งกว่านั้น คำพูดนี้ยังเป็นการหลอกประชาชนว่า ที่สยาม/ไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้นี่ก็เพราะบุญคุณของชนชั้นนำที่สามารถปกป้องประเทศและประชาชนจากฝรั่งได้ ทั้งที่ความจริงมีเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศมากมายที่รองรับสถานะเฉพาะข้อนี้ของสยาม/ไทย
 
เหนืออื่นใด การผลิตซ้ำคำพูด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ยังเป็นการหลอกประชาชนมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ชนชั้นนำสามารถคงอำนาจเหลื่อมล้ำที่ทำให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนเอาไว้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้