Skip to main content
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง

 
แต่แวดวงการศึกษาเรื่องไทยในโลกสากล เสนอทั้งข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์โต้แย้งทัศนะแบบนี้ไว้อย่างพิศารมากมายเนิ่นนานมาหลายสิบปีแล้ว อย่าเพิ่งรังเกียจ "แวดวงวิชาการไทยศึกษาสากล" เพียงเพราะแวดวงนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะแวดวงนี้ไม่ได้มีแต่ฝรั่ง มีคนเอเชียอื่นๆ รวมทั้งคนไทยอยู่ด้วยมากมาย ผลงานวิชาการก็มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ สมัยนี้ใครทำงานไทยศึกษานานาชาติแล้วไม่อ่านงานนักวิชาการไทย ยิ่งตกยุคไปกันใหญ่
 
ไม่ว่าจะมองผ่านเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ระบบศาลยุติธรรม หรือวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทัศนะที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเ็นเมืองขึ้นฝรั่ง" นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปหมด
 
นับตั้งแต่อำนาจฝรั่งตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลียนทิศทางไป จากการค้าขายแลกเปลี่ยน ไปเป็นการแข่งขันทางการค้าและการยึดพื้นที่การผลิตวัตถุดิบในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 
 
ในกรณีของสยาม ไหนจะทำให้ชนชั้นนำเสียอำนาจการผูกขาดการค้าขาย ไหนจะการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้คนในอานัติต่างชาติหากทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลสยาม ไหนจะการเปิดพื้นที่สาธารณะของการถกเถียงผ่านหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ ที่ส่วนหนึ่งเฟื่องฟูเพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ว่าทำให้คนนอกอานัติสยามกล้าแสดงความเห็นด้วยภาษาไทยด้วยซ้ำ 
 
ไหนจะการปฏรูปเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่กระทบตั้งแต่ในวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด เช่น การยกเลิกการหมอบกราบ ไหนจะการนำเข้าวรรณคดีและความคิดจากต่างประเทศของชนชั้นนำเอง และการบริโภคสินค้าจากต่างประเทศอย่างล้นเหลือของชนชั้นนำเอง เหล่านี้ทำให้ต้องประเมินกันให้ดีว่า ตกลง "ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" จริงหรือ
 
เอาเข้าจริงๆ แทนที่จะเป็นบุญคุณความสามารถพิเศษของใครที่ไหน ที่จริงคนไทยควรขอบคุณฝรั่งเศสกับอังกฤษที่ตกลงกันได้ว่าจะเก็บสยามไว้เป็นรัฐกันชนระหว่างอินโดจีนกับบริติชอินเดีย หลักฐานข้อนี้นักวิชาการสำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ไม่เคยเห็นกันหรือไง หรือไม่อยากเห็นก็เลยไม่ค้นคว้า
 
ลึกลงไปกว่านั้น การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการสร้างระบบการปกครองส่วนภูมิภาค การสร้างเอกภาพของรัฐสมัยใหม่ผ่านจินตนาการตัวตนบนแผนที่ การสร้างสำนึกความเป็นคนไทยร่วมกัน การลดทอนทำลายความเป็นท้องถิ่น การศึกษาสมัยใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้ท้องถิ่นและคนกลุ่มต่างๆ กลายเป็นอาณานิคมของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากที่ฝรั่งทำกับประเทศใต้อาณานิคม
 
ล่าสุด ทัศนะแบบ "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ปรากฏตัวอีกครั้งผ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่หลายคนเคยยกย่องว่าเป็นครู แต่ตอนนี้แม้จะเอ่ยชื่อยังไม่อยากเอ่ยถึงให้แปดเปื้อนหน้ากระดาษ (http://www.ryt9.com/s/tpd/1969581)
 
แถมบทความนี้ยังอ้างงานนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่เคยเขียนรายงานซึ่งไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ให้สหรัฐอเมริกามาสนับสนุน (ค.ศ. 1943 เผยแพร่โดยคอร์แนลปี 1952 และ 1963) ตลกไหมล่ะ วันนี้สหรัฐฯ (ค.ศ. 2014) ต่อต้านรัฐประหารในไทย แต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนร่วมมือกระทั่งสร้างและอุ้มชูรัฐบาลเผด็จการในไทย เอกสารสมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตยกลับไม่อ้าง แต่นักหนังสือพิมพ์สำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" กลับไปอ้างเอกสารสหรัฐฯ สมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนเผด็จการเมื่อ 71 ปีที่แล้วเพื่อเข้าใจสังคมไทยปัจจุบัน (http://www.nla.gov.au/apps/doview/nla.gen-vn5040081-p.pdf)
 
ผมไม่อยากเสียเวลามากนัก แต่ขอกล่าวถึงงานเขียนของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นนี้สั้นๆ ว่า ปัจจุบันที่ใครจะอ่านบทความนี้เพื่อเข้าใจสังคมไทยจริงๆ นั้น น้อยมากแล้ว นักเรียนมานุษยวิทยาเขาอ่านเพื่อเข้าใจวิธีคิดของนักทฤษฎีสมัยนั้นเท่านั้น ทำไมล่ะ ก็เพราะว่า ที่จะบอกว่าคนไทยเป็นแบบใดแบบหนึ่งเหมือนๆ กันไปหมดน่ะ ความคิดแบบนั้นมันล้าหลังงตกขอบไปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว ถ้าความคิดนี้ยังใช้ได้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจนักศึกษาไทยที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารในทศวรรษ 1970 ได้หรอก ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมได้หรอก ไม่เข้าใจการต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุดได้หรอก
 
นี่ยังไม่นับว่า คนเขียนเอกสารยาวแค่ 50 กว่าหน้านี้แม้จะโด่งดัง แต่ก็ไม่เคยมาทำวิจัยในประเทศไทย แถมเบเนดิกต์ยังหูหนวกส่วนหนึ่ง ข้อนี้รู้กันทั่วว่าเธอทำวิจัยเอกสารเป็นหลัก จึงไม่ได้จะแม้แต่สัมภาษณ์คนไทย นักการทูตไทย ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเอกสารที่ผ่านการตีความมาแล้วอีกทีทั้งสิ้น แถมเธอยังเลือกเฉพาะเอกสารที่ช่วยให้สรุปไปได้ทางเดียวทั้งสิ้น ภาพสังคมไทยจึงเป็นก้อนเดียวเหมือนกันไปหมด สมัยนี้การวิจัยแบบนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันในแวดวงมานุษยวิทยาแล้ว (นี่ไม่ได้หมายความว่างานของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นอื่นๆ อีกมากมายจะไม่ควรศึกษาอีกต่อไป ได้โปรดอย่าสรุปง่ายๆ อย่างนั้น)
 
แนวคิด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" เป็นคำพูดหลอกตัวเองจริงๆ คำพูดนี้ลดทอนความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยกับโลกสากล ยิ่งกว่านั้น คำพูดนี้ยังเป็นการหลอกประชาชนว่า ที่สยาม/ไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้นี่ก็เพราะบุญคุณของชนชั้นนำที่สามารถปกป้องประเทศและประชาชนจากฝรั่งได้ ทั้งที่ความจริงมีเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศมากมายที่รองรับสถานะเฉพาะข้อนี้ของสยาม/ไทย
 
เหนืออื่นใด การผลิตซ้ำคำพูด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ยังเป็นการหลอกประชาชนมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ชนชั้นนำสามารถคงอำนาจเหลื่อมล้ำที่ทำให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนเอาไว้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ