Skip to main content

เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้

 
เข้าเรื่องครูดีกว่า จะว่าเรื่อง "ครู" ก็ไม่ถูกนัก เพราะผมอยากเล่าเรื่องความอับจนของโลกวิชาการไทย ที่มาเล่าวันนี้ก็เพราะมันพอจะมีอะไรโยงกับวันครูอยู่บ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เป็นครูสอนหนังสือ อีกส่วนหนึ่งก็ทำงานวิชาการผลิตความรู้ อีกส่วนก็บริการสังคม ให้ความรู้กับสาธารณชน แต่ทั้งสามส่วนนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การทำงานวิชาการ
 
อะไรคืองานวิชาการ งานวิชาการคือการ "ผลิต" ความรู้ ได้แก่การวิจัย การพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการ การพิมพ์หนังสือและตำรา การเสนอผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเขียนและการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ไม่ใช่งานสำคัญก็จริง แต่ก็จำเป็น เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนักวิชาการและฝึกให้ความรู้กับประชาชน โดยรวมแล้ว หากอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ทำงานวิชาการ ความรู้ก็จะย่ำอยู่กับที่ ความรู้ที่สอนปาวๆ ที่บรรยายต่อสาธารณชนปาวๆ ก็เป็นความรู้เก่าๆ สังคมก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
 
หลักคิดที่ว่านั้นใครๆ ก็รู้ แต่คำถามคือ ทำไมโลกวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ติดอันดับสูงๆ ในโลกวิชาการสากล ทำไมนักวิชาการไทยจึงแทบไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิชาการระดับโลก ถึงมีบ้าง ก็มักเป็นนักวิชาการไทยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ หรือไม่อย่างนั้นก็ได้รับการยกย่องจากโลกวิชาการสากลก่อนหรือในคนละบริบทกับโลกวิชาการไทย บางคนเป็นที่รู้จักดีในโลกวิชาการสากล แต่ไม่มีใครรู้จักในโลกวิชาการไทย แต่นักวิชาการที่รู้จักกันดีในไทย ส่วนใหญ่กลับไม่มีใครในโลกรู้จักกัน
 
เอาเป็นว่าจำกัดเฉพาะอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แล้วกัน ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่ผมร่ำเรียนมาในประเทศไทยจึงไม่กลายเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัย C, H, C-B, หรือแม้แต่ S และอีกสอง Cs ในอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัย O, C, L และ L ในอังกฤษ 
 
ถามว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนพวกเขาล่ะเป็นใคร ทำไมในขณะที่พวกครูบาอาจารย์ผมจบแล้วส่วนใหญ่จึงหายจ้อยไปจากเวทีระดับโลก เพื่อนๆ ร่วมห้องของคณาจารย์ผมกลับโด่งดังระดับโลก หรือที่จริงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันกับอาจารย์เหล่านี้ ต่างก็เรียนแย่เหมือนกันหมด คงไม่จริงหรอก เพราะบรรดานักวิชาการที่โด่งดังระดับโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็อายุอานามพอๆ กับครูบาอาจารย์ของผมกันทั้งสิ้น
 
เมื่อผมมาเรียนที่สหรัฐอเมริกาด้วยตนเอง เท่าที่เห็น ผมก็ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ทั้งร่วมสาถบันเดียวกัน หรือเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ว่ามหาวิทยาลัยดีๆ เข้ายากเย็น หรือเรียนกันโหดมหาโหดอย่างไร เมื่อเจอกันในระหว่างเรียนระดับสูง ในงานสัมมนาวิชาการ ในห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อย่างผมก็ห้องเรียนภาษาเวียดนาม) ก็ไม่เห็นว่าเพื่อนร่วมรุ่นจะเก่งกาจแตกต่างไปจากกันมากนัก ความรู้ ความไม่รู้ ก็มีพอๆ กัน แต่ทำไมเมื่อเรียนจบกันไปแล้ว โดยรวมๆ แล้วงานวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้าแบบงานวิชากรในโลกสากล
 
ที่จริงมีปัจจัยหลายอย่าง แต่ผมอยากจะเน้นที่กลไกทางวิชาการของไทยที่ปิดกั้นการทำงานวิชาการในระดับสากล ผมจะละเว้นไม่พูดถึงบรรยากาศที่ไร้เสรีภาพทางวิชาการอย่างในปัจจุบัน ละไว้ไม่กล่าวถึงความไร้เสรีภาพทางวิชาการในการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ แต่ผมอยากพูดถึงระบบระเบียบบางอย่างที่ปิดกั้นพัฒนาการของโลกวิชาการไทย เอาไว้จะมาเล่าตอนต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ