Skip to main content

จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 

 
เช่นว่า ที่จริงก็อยากเขียนเรื่องหลักสูตร อย่างหลักสูตรโครงการปกติ โดยเฉพาะรายวิชาการศึกษาทั่วไป ที่แทบไม่พัฒนาเลยและมีวิธีคิดที่ล้าหลังย่ำอยู่กับที่มานับ 20 ปีแล้ว หลักสูตรพิเศษ ที่เปิดหากินกับกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่ไม่สามารถทำคุณภาพให้เท่าหลักสูตรปกติได้ เพราะต้นทุนสูงลิบ และเพราะเงื่อนไขที่กีดกันการจัดชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ เขียนไปก็ปากว่าตาขยิบเปล่าๆ เพราะอย่างที่บอกคือ ทุกวันนี้หลักสูตรพิเศษคือแหล่งรายได้หลักของมหาวิทยาลัยไทย
 
หรือปัญหาเรื่องหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ สกอ. คิดในระบบเดียวกับคิดถึงการแบ่งชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ก็เลยต้องแยกกันโดยไม่จำเป็น ไม่เหมือนที่ชาวโลกเขาทำกันอย่างไทยทุกวันนี้ หลายๆ คณะและภาควิชารวมทั้งคณะผมก็เลยต้องตีลังกาทำหลักสูตรให้เชื่อมโยงกันอย่างพิสดาร ทั้งๆ ที่ในโลกนี้ไม่มีใครเขาทำกัน 
 
หรือเรื่องการบริหารความรู้ต่างสาขาวิชา ที่ไม่คิดให้สอดคล้องกันทั้งระบบ จึงเป็นการศึกษาแยกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปีสูงของปริญญาตรี บางสถาบันจึงไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเปิดหูเปิดตาเรียนรู้ข้ามสาขา 
 
เรื่องหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรนักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนที่กลวงโบ๋และหลอกลวงทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เปิดกันเหมือนโรงเรียนกวดวิชา แทบจะไม่มีอาจารย์ประจำ จ้างอาจารย์เกษียณและอาจารย์ล่าค่าสอน ให้วิ่งรอกสอนกันไปทั่ว รวมทั้งพื้นฐานนักศึกษาก็อ่อนปวกเปียก แถมห้องเรียนแน่นยั้วเยี้ยและไม่ส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะหวังกำไรไปสร้างตึกใหม่แต่อ้างว่ามีต้นทุนการจัดการสูงลิ่ว อย่างนี้เป็นต้น
 
ไม่ต้องห่วงครับ ผมสอนหลักสูตรพวกนี้มากแล้ว จนมีคนจะให้บริหารมาแล้วก็มี แต่บริหารอย่างไรได้ล่ะครับ ในเมื่อทั้งระบบใหญ่มันนุงนังกันอย่างนี้ ผมไม่เอาด้วยหรอก ก็จึงเอามาบ่นอยู่นี่ได้ไงครับ ต่อไปนี้ผมคงไม่สอนแล้วล่ะ ส่วนอนาคตข้างหน้าหากเกษียณแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ได้นานขนาดนั้น ก็คงจะหาทางดิ้นรนทำอย่างอื่นไปได้เองนั่นแหละ แต่บอกได้ว่า ระบบที่เป็นอยู่นี้น่ะล้าหลัง ไม่ทันแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน 
 
ผมเคยสอนหลักสูตรโครงการแลกเปลี่ยนให้โครงการหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน เขาไม่ทำอย่างนี้หรอก เขาทุ่มเทให้กับการให้ความรู้มากกว่าที่เมืองไทย เพราะคนจัดการเรียนการสอนอยู่ในระบบอเมริกันเอง ใช้อีกมาตราฐานหนึ่ง ไม่เหมือนในไทยที่ใช้มาตราฐานไทย บางโครงการก็เลยเละจนมหาวิทยาลัยอเมริกันเจ้าของทุนต้องระงับแล้วตั้งต้นกันใหม่ อย่ารู้เลยครับว่าที่ไหน เจ้าตัวถ้าเข้ามาอ่านอาจจะรู้ตัวอยู่บ้าง หรือไม่รู้ก็แล้วไป
 
อีกเรื่องที่พูดได้ไม่รู้จบคือเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เรื่องใหญ่คือระบบประกันคุณภาพ ผมแตะผ่านๆ มาตลอดในเรื่องอื่นๆ ที่เขียนถึงมาแล้ว และจะให้สาธยายเจาะลงไปโดยตรงก็มีเรื่องให้พูดอีกมากมาย เช่นว่า นอกจากตัวระบบการนับคะแนนจะยุ่งขิงแล้ว วิธีการประกันคุณภาพเอง โดยเฉพาะตัวกรรมการประกันคุณภาพ และ "คุณภาพองกรรมการประกันคุณภาพ" ก็พูดกันได้เป็นวรรคเป็นเวร  หากใครอยากอ่านเรื่องพวกนี้ ก็หาที่ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วในหลายๆ ที่อ่านก็แล้วกันครับ
 
ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวระบบประกันคุณภาพ ระบบประเมินต่างๆ ที่ซ้อนทับกันยุ่งไปหมด ประกันคุณภาพดีแล้วยังไม่พอ ยังต้องมากรอก มคอ. ประกันมาตรฐานคุณวุฒิกันอีก เอาเฉพาะ มคอ. เองน่ะมั่วและลวงโลกขนาดไหน อย่างที่บอกแล้วคือ มคอ. น่ะ ต้องมี มคอ. 1 ถึง มคอ. 7 ทุกวันนี้หลกสูตรส่วนใหญ่มีแต่ มคอ. 2-7 ไม่มีหรอกครับ มคอ. 1 น่ะ บางหลักสูตรน่ะมี เพราะ สกอ. หาคนทำแล้ว แต่หลักสูตรอีกจำนวนมาก บรรดาคณะใหญ่ๆ อีกหลายคณะ โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์น่ะ ไม่มีหรอก แล้ว มคอ. 3, 4, 5, 6 ที่กรอกๆ กันน่ะเอาไปไหน ก็เอาไปกองๆ ไว้ใต้ถุนตึกไหนสักตึกน่ะแหละ ไม่มีใครอ่านหรอก สกอ. ยังเคยบอกเองว่า ส่งมาก็ไม่อ่าน
 
ก็เลยขอพักการเขียนเรื่องนี้เอาไว้แค่ก่อน จะได้คิดเรื่องอื่นกันบ้าง เรื่องโลกวิชาการไทยน่ะ คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ปลี้ๆ ครับเพราะไม่มีทางแก้ และไม่มีใครอยากแก้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจไปก็เพื่อรอรับส่วนบุญจากการรัฐประหารอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้น โลกวิชาการไทยน่ะไม่มีวันก้าวไปสู่โลกวิชาการสากลได้ภายใน 20-30 ปีนี้หรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด