Skip to main content

จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 

 
เช่นว่า ที่จริงก็อยากเขียนเรื่องหลักสูตร อย่างหลักสูตรโครงการปกติ โดยเฉพาะรายวิชาการศึกษาทั่วไป ที่แทบไม่พัฒนาเลยและมีวิธีคิดที่ล้าหลังย่ำอยู่กับที่มานับ 20 ปีแล้ว หลักสูตรพิเศษ ที่เปิดหากินกับกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่ไม่สามารถทำคุณภาพให้เท่าหลักสูตรปกติได้ เพราะต้นทุนสูงลิบ และเพราะเงื่อนไขที่กีดกันการจัดชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ เขียนไปก็ปากว่าตาขยิบเปล่าๆ เพราะอย่างที่บอกคือ ทุกวันนี้หลักสูตรพิเศษคือแหล่งรายได้หลักของมหาวิทยาลัยไทย
 
หรือปัญหาเรื่องหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ สกอ. คิดในระบบเดียวกับคิดถึงการแบ่งชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ก็เลยต้องแยกกันโดยไม่จำเป็น ไม่เหมือนที่ชาวโลกเขาทำกันอย่างไทยทุกวันนี้ หลายๆ คณะและภาควิชารวมทั้งคณะผมก็เลยต้องตีลังกาทำหลักสูตรให้เชื่อมโยงกันอย่างพิสดาร ทั้งๆ ที่ในโลกนี้ไม่มีใครเขาทำกัน 
 
หรือเรื่องการบริหารความรู้ต่างสาขาวิชา ที่ไม่คิดให้สอดคล้องกันทั้งระบบ จึงเป็นการศึกษาแยกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปีสูงของปริญญาตรี บางสถาบันจึงไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเปิดหูเปิดตาเรียนรู้ข้ามสาขา 
 
เรื่องหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรนักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนที่กลวงโบ๋และหลอกลวงทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เปิดกันเหมือนโรงเรียนกวดวิชา แทบจะไม่มีอาจารย์ประจำ จ้างอาจารย์เกษียณและอาจารย์ล่าค่าสอน ให้วิ่งรอกสอนกันไปทั่ว รวมทั้งพื้นฐานนักศึกษาก็อ่อนปวกเปียก แถมห้องเรียนแน่นยั้วเยี้ยและไม่ส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะหวังกำไรไปสร้างตึกใหม่แต่อ้างว่ามีต้นทุนการจัดการสูงลิ่ว อย่างนี้เป็นต้น
 
ไม่ต้องห่วงครับ ผมสอนหลักสูตรพวกนี้มากแล้ว จนมีคนจะให้บริหารมาแล้วก็มี แต่บริหารอย่างไรได้ล่ะครับ ในเมื่อทั้งระบบใหญ่มันนุงนังกันอย่างนี้ ผมไม่เอาด้วยหรอก ก็จึงเอามาบ่นอยู่นี่ได้ไงครับ ต่อไปนี้ผมคงไม่สอนแล้วล่ะ ส่วนอนาคตข้างหน้าหากเกษียณแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ได้นานขนาดนั้น ก็คงจะหาทางดิ้นรนทำอย่างอื่นไปได้เองนั่นแหละ แต่บอกได้ว่า ระบบที่เป็นอยู่นี้น่ะล้าหลัง ไม่ทันแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน 
 
ผมเคยสอนหลักสูตรโครงการแลกเปลี่ยนให้โครงการหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน เขาไม่ทำอย่างนี้หรอก เขาทุ่มเทให้กับการให้ความรู้มากกว่าที่เมืองไทย เพราะคนจัดการเรียนการสอนอยู่ในระบบอเมริกันเอง ใช้อีกมาตราฐานหนึ่ง ไม่เหมือนในไทยที่ใช้มาตราฐานไทย บางโครงการก็เลยเละจนมหาวิทยาลัยอเมริกันเจ้าของทุนต้องระงับแล้วตั้งต้นกันใหม่ อย่ารู้เลยครับว่าที่ไหน เจ้าตัวถ้าเข้ามาอ่านอาจจะรู้ตัวอยู่บ้าง หรือไม่รู้ก็แล้วไป
 
อีกเรื่องที่พูดได้ไม่รู้จบคือเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เรื่องใหญ่คือระบบประกันคุณภาพ ผมแตะผ่านๆ มาตลอดในเรื่องอื่นๆ ที่เขียนถึงมาแล้ว และจะให้สาธยายเจาะลงไปโดยตรงก็มีเรื่องให้พูดอีกมากมาย เช่นว่า นอกจากตัวระบบการนับคะแนนจะยุ่งขิงแล้ว วิธีการประกันคุณภาพเอง โดยเฉพาะตัวกรรมการประกันคุณภาพ และ "คุณภาพองกรรมการประกันคุณภาพ" ก็พูดกันได้เป็นวรรคเป็นเวร  หากใครอยากอ่านเรื่องพวกนี้ ก็หาที่ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วในหลายๆ ที่อ่านก็แล้วกันครับ
 
ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวระบบประกันคุณภาพ ระบบประเมินต่างๆ ที่ซ้อนทับกันยุ่งไปหมด ประกันคุณภาพดีแล้วยังไม่พอ ยังต้องมากรอก มคอ. ประกันมาตรฐานคุณวุฒิกันอีก เอาเฉพาะ มคอ. เองน่ะมั่วและลวงโลกขนาดไหน อย่างที่บอกแล้วคือ มคอ. น่ะ ต้องมี มคอ. 1 ถึง มคอ. 7 ทุกวันนี้หลกสูตรส่วนใหญ่มีแต่ มคอ. 2-7 ไม่มีหรอกครับ มคอ. 1 น่ะ บางหลักสูตรน่ะมี เพราะ สกอ. หาคนทำแล้ว แต่หลักสูตรอีกจำนวนมาก บรรดาคณะใหญ่ๆ อีกหลายคณะ โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์น่ะ ไม่มีหรอก แล้ว มคอ. 3, 4, 5, 6 ที่กรอกๆ กันน่ะเอาไปไหน ก็เอาไปกองๆ ไว้ใต้ถุนตึกไหนสักตึกน่ะแหละ ไม่มีใครอ่านหรอก สกอ. ยังเคยบอกเองว่า ส่งมาก็ไม่อ่าน
 
ก็เลยขอพักการเขียนเรื่องนี้เอาไว้แค่ก่อน จะได้คิดเรื่องอื่นกันบ้าง เรื่องโลกวิชาการไทยน่ะ คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ปลี้ๆ ครับเพราะไม่มีทางแก้ และไม่มีใครอยากแก้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจไปก็เพื่อรอรับส่วนบุญจากการรัฐประหารอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้น โลกวิชาการไทยน่ะไม่มีวันก้าวไปสู่โลกวิชาการสากลได้ภายใน 20-30 ปีนี้หรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ