Skip to main content

จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 

 
เช่นว่า ที่จริงก็อยากเขียนเรื่องหลักสูตร อย่างหลักสูตรโครงการปกติ โดยเฉพาะรายวิชาการศึกษาทั่วไป ที่แทบไม่พัฒนาเลยและมีวิธีคิดที่ล้าหลังย่ำอยู่กับที่มานับ 20 ปีแล้ว หลักสูตรพิเศษ ที่เปิดหากินกับกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่ไม่สามารถทำคุณภาพให้เท่าหลักสูตรปกติได้ เพราะต้นทุนสูงลิบ และเพราะเงื่อนไขที่กีดกันการจัดชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ เขียนไปก็ปากว่าตาขยิบเปล่าๆ เพราะอย่างที่บอกคือ ทุกวันนี้หลักสูตรพิเศษคือแหล่งรายได้หลักของมหาวิทยาลัยไทย
 
หรือปัญหาเรื่องหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ สกอ. คิดในระบบเดียวกับคิดถึงการแบ่งชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ก็เลยต้องแยกกันโดยไม่จำเป็น ไม่เหมือนที่ชาวโลกเขาทำกันอย่างไทยทุกวันนี้ หลายๆ คณะและภาควิชารวมทั้งคณะผมก็เลยต้องตีลังกาทำหลักสูตรให้เชื่อมโยงกันอย่างพิสดาร ทั้งๆ ที่ในโลกนี้ไม่มีใครเขาทำกัน 
 
หรือเรื่องการบริหารความรู้ต่างสาขาวิชา ที่ไม่คิดให้สอดคล้องกันทั้งระบบ จึงเป็นการศึกษาแยกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปีสูงของปริญญาตรี บางสถาบันจึงไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเปิดหูเปิดตาเรียนรู้ข้ามสาขา 
 
เรื่องหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรนักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนที่กลวงโบ๋และหลอกลวงทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เปิดกันเหมือนโรงเรียนกวดวิชา แทบจะไม่มีอาจารย์ประจำ จ้างอาจารย์เกษียณและอาจารย์ล่าค่าสอน ให้วิ่งรอกสอนกันไปทั่ว รวมทั้งพื้นฐานนักศึกษาก็อ่อนปวกเปียก แถมห้องเรียนแน่นยั้วเยี้ยและไม่ส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะหวังกำไรไปสร้างตึกใหม่แต่อ้างว่ามีต้นทุนการจัดการสูงลิ่ว อย่างนี้เป็นต้น
 
ไม่ต้องห่วงครับ ผมสอนหลักสูตรพวกนี้มากแล้ว จนมีคนจะให้บริหารมาแล้วก็มี แต่บริหารอย่างไรได้ล่ะครับ ในเมื่อทั้งระบบใหญ่มันนุงนังกันอย่างนี้ ผมไม่เอาด้วยหรอก ก็จึงเอามาบ่นอยู่นี่ได้ไงครับ ต่อไปนี้ผมคงไม่สอนแล้วล่ะ ส่วนอนาคตข้างหน้าหากเกษียณแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ได้นานขนาดนั้น ก็คงจะหาทางดิ้นรนทำอย่างอื่นไปได้เองนั่นแหละ แต่บอกได้ว่า ระบบที่เป็นอยู่นี้น่ะล้าหลัง ไม่ทันแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน 
 
ผมเคยสอนหลักสูตรโครงการแลกเปลี่ยนให้โครงการหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน เขาไม่ทำอย่างนี้หรอก เขาทุ่มเทให้กับการให้ความรู้มากกว่าที่เมืองไทย เพราะคนจัดการเรียนการสอนอยู่ในระบบอเมริกันเอง ใช้อีกมาตราฐานหนึ่ง ไม่เหมือนในไทยที่ใช้มาตราฐานไทย บางโครงการก็เลยเละจนมหาวิทยาลัยอเมริกันเจ้าของทุนต้องระงับแล้วตั้งต้นกันใหม่ อย่ารู้เลยครับว่าที่ไหน เจ้าตัวถ้าเข้ามาอ่านอาจจะรู้ตัวอยู่บ้าง หรือไม่รู้ก็แล้วไป
 
อีกเรื่องที่พูดได้ไม่รู้จบคือเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เรื่องใหญ่คือระบบประกันคุณภาพ ผมแตะผ่านๆ มาตลอดในเรื่องอื่นๆ ที่เขียนถึงมาแล้ว และจะให้สาธยายเจาะลงไปโดยตรงก็มีเรื่องให้พูดอีกมากมาย เช่นว่า นอกจากตัวระบบการนับคะแนนจะยุ่งขิงแล้ว วิธีการประกันคุณภาพเอง โดยเฉพาะตัวกรรมการประกันคุณภาพ และ "คุณภาพองกรรมการประกันคุณภาพ" ก็พูดกันได้เป็นวรรคเป็นเวร  หากใครอยากอ่านเรื่องพวกนี้ ก็หาที่ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วในหลายๆ ที่อ่านก็แล้วกันครับ
 
ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวระบบประกันคุณภาพ ระบบประเมินต่างๆ ที่ซ้อนทับกันยุ่งไปหมด ประกันคุณภาพดีแล้วยังไม่พอ ยังต้องมากรอก มคอ. ประกันมาตรฐานคุณวุฒิกันอีก เอาเฉพาะ มคอ. เองน่ะมั่วและลวงโลกขนาดไหน อย่างที่บอกแล้วคือ มคอ. น่ะ ต้องมี มคอ. 1 ถึง มคอ. 7 ทุกวันนี้หลกสูตรส่วนใหญ่มีแต่ มคอ. 2-7 ไม่มีหรอกครับ มคอ. 1 น่ะ บางหลักสูตรน่ะมี เพราะ สกอ. หาคนทำแล้ว แต่หลักสูตรอีกจำนวนมาก บรรดาคณะใหญ่ๆ อีกหลายคณะ โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์น่ะ ไม่มีหรอก แล้ว มคอ. 3, 4, 5, 6 ที่กรอกๆ กันน่ะเอาไปไหน ก็เอาไปกองๆ ไว้ใต้ถุนตึกไหนสักตึกน่ะแหละ ไม่มีใครอ่านหรอก สกอ. ยังเคยบอกเองว่า ส่งมาก็ไม่อ่าน
 
ก็เลยขอพักการเขียนเรื่องนี้เอาไว้แค่ก่อน จะได้คิดเรื่องอื่นกันบ้าง เรื่องโลกวิชาการไทยน่ะ คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ปลี้ๆ ครับเพราะไม่มีทางแก้ และไม่มีใครอยากแก้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจไปก็เพื่อรอรับส่วนบุญจากการรัฐประหารอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้น โลกวิชาการไทยน่ะไม่มีวันก้าวไปสู่โลกวิชาการสากลได้ภายใน 20-30 ปีนี้หรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี