Skip to main content

ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย

ชื่อธรรมศาสตร์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ผมรู้มาตั้งแต่จำความได้ เพราะเติบโตในกรุงเทพฯ มีความทรงจำลางเลือนวัยเด็กเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองกลางพระนคร และคนรอบตัวในครอบครัวก็สนใจการเมืองกันมาตลอด ส่วนหนึ่งที่เลือกเรียนธรรมศาสตร์ก็เพราะมีฮีโร่หลายคนที่นั่น 

ผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ปี 2529 รู้จักงานฟุตบอลประเพณีฯ (สมัยนั้นเด็กธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "งานบอลฯ") มาตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม แต่ไม่ว่าจะก่อนหรือเมื่อเข้ามาเรียนแล้ว ผมก็ไม่เคยไปงานบอลฯ เลยแม้แต่ครั้งเดียว ผมออกจะต่อต้านด้วยซ้ำ ผมเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ มัธยมส่วนใหญ่ เมื่อกลับไปเที่ยวที่โรงเรียนช่วงงานบอลฯ เพื่อนคนไหนฝากซื้อเสื้อเชียร์งานบอลฯ ผมก็จะถามกลับไปว่า "มึงจะซื้อไปทำไม ในตู้เสื้อผ้ามึงไม่มีเสื้อผ้าจะใส่แล้วเหรอ" ไม่ใช่ว่าเพราะผมจะกีดกันพวกมัน แต่เพราะผมรังเกียจงานบอลฯ แล้วผมก็ไม่เคยซื้อเสื้อเชียร์งานบอลฯ สักตัวเดียว 

ทำไมผมถึงรังเกียจงานบอลฯ ผมคิดว่างานบอลฯ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการส่งเสริมการเล่นกีฬา หรือเพื่อผ่อนคลายจากการเรียน แต่งานบอลฯ แฝงไว้ด้วยการส่งเสริมคุณค่าระบบสถาบันนิยม คือเชิดชูจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ให้ดูเป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญ ยิ่งใหญ่ ไม่แข่งกับใครแต่แข่งกันเองเท่านั้น แล้วยังมีพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองด้วยพาเหรดล้อการเมือง ซึ่งผมก็มองว่าเป็นแค่น้ำจิ้ม ทำไปอย่างนั้นเองเพื่อให้ดูว่าปัญญาชนมีอะไรเสนอกับสังคม แต่ไม่ได้เป็นสาระอะไรมากมาย 

แถมงานบอลฯ ยังเป็นการส่งเสริมระบบอาวุโส ระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง เพราะจะต้องมีการซ้อมเชียร์ ไป "ขึ้นสแตน" ซ้อมแปรอักษร การฝึกความพร้อมเพรียงเหล่านี้ใช้ระบบเดียวกับทหาร ใช้การฝึกวินัยและการเชื่อฟังคำสั่งอย่างเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ มีแต่จะยิ่งเสริมความเป็นสถาบัน และลดทอดการแลกเปลี่ยนโต้เถียงกันด้วยสติปัญญา ผมจึงไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว 

งานบอลฯ ยังเป็นงานที่สะท้อนสังคมสายลมแสงแดด กิจกรรมเชียร์ลีดเดอร์เป็นกิจกรรมของความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ เหมือนจำลองสังคมของการสร้างเซเล็บ สร้างชนชั้นขึ้นมาจากหน้าตาบุคคลิกของเชียร์ลีดเดอร์ มีการประกวดเชียร์ลีดเดอร์ มีสังคมฟุ้งเฟ้อของเชียร์ลีดเดอร์ การเป็นเชีบร์ลีดเดอร์งานบอลฯ กลายเป็นความใฝ่ฝันของหนุ่มสาว ผมจึงคิดว่ากิจกรรมนี้กลับไปส่งเสริมการวัดคนที่หน้าตาท่าทาง มากกว่าความรู้ความคิด เป็นกิจกรรมที่ไม่ส่งเสริมการศึกษา เสมือนจัดการประกวดความงามและสร้างชนชั้นเซเล็บขึ้นมา 

ในธรรมศาสตร์ มีการถกเถียงกันประปรายบ้างหรือบางปีก็เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตบ้าง ว่าเราควรจัดงานบอลฯ กันต่อไปหรือเปล่า อย่างช่วงที่ผมเรียนปริญญาตรีอยู่ มีปีหนึ่งจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายที่คัดค้านงานบอลฯ มาถกเถียงกันกันถึงประโยชน์กับโทษจากงานบอลฯ ปีนั้นอาจารย์นักพูดชื่อดังที่มีบุคคลิกเฉพาะตัวคนหนึ่งหลังๆ มาท่านใส่เสื้อสีเหลืองก็สละเวลามาร่วมเวทีด้วย แน่นอนว่าท่านเป็นฝ่ายสนับสนุนงานบอลฯ แต่ก็นับว่าช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันอย่างคึกคักทีเดียว หลังๆ มาผมไม่ทราบว่านักศึกษาจัดกิจกรรมลักษณะนี้กันบ้างหรือไม่  

สำหรับผม การที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ปีนี้พร้อมเพรียงกันแสดงออกทางการเมืองในลักษณะส่งเสริมประชาธิปไตย แสดงให้เห็นถึงอะไรหลายๆ อย่างที่ผมมองข้ามไป ที่ว่าพร้อมเพรียงคือ ไม่ใช่เฉพาะขบวนล้อเลียนการเมือง ซึ่งต้องฝ่าฟันอุปสรรคอย่างชัดเจนจนกระทั่งมีการงานแผนล่วงหน้าในการตบตาทหารตำรวจมาอย่างดี แต่ที่น่าทึ่งมากเข้าไปอีกคือการแปรอักษรบนอัฒจรรย์ ที่แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างชัดเจน กิจกรรมนี้ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างพร้อมเพรียง ต้องมีการซักซ้อมกันมาก่อน และต้องอาศัยการประสานงานกันหลายฝ่าย แสดงว่าความเห็นของพวกเขาต้องตกผลึกกันมานานพอสมควร  

ที่ว่ามองข้ามไปคือ การปลูกฝังความคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่องอาจมีส่วนทำให้อุดมการณ์เหล่านั้นแทรกซึมเข้าไปในความรูสึกนึกคิดของนักศึกษาได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การรู้สำนึกจนกระทั่งกล้าแสดงออกมาอย่างพร้อมเพรียงกันนี้ แสดงให้เห็นว่านักศึกษารับรู้ถึงผลกระทบของอำนาจเผด็จการที่กำลังทำงานเหนือพวกเขาขึ้นมาบ้างแล้ว พวกเขาคงเริ่มตระหนักว่าวันข้างหน้าเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกรับฟัง พวกเขาคงเริ่มตระหนักบ้างแล้วว่า ความรู้ของพวกเขาจะไม่มีประโยชน์เลยหากต้องอยู่ในระบบที่ปิดกั้นการแสดงความเห็น พวกเขาคงเริ่มไม่ไว้ใจระบอบที่เป็นอยู่แล้วเริ่มสงสัยมากขึ้น และวันนี้พวกเขาคงได้รู้บ้างแล้วว่า เพียงแค่การขยับตัวแบบขำๆ ของพวกเขา ก็ยังแทบจะทำไม่ได้ ยังกลายเป็นอาญาแผ่นดิน 

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ปีนี้ร่วมมือร่วมใจกันประกาศว่าพวกเขาต้องการประชาธิปไตย พวกเขาเห็นว่าระบอบที่เป็นอยู่ไม่ใช่ประชาธิปไตย พวกเขาเรียกร้องให้คืนอำนาจให้ประชาชน และเหนือสิ่งอื่นใดคือ พวกเขาพร้อมเพรียงกันแสดงความกล้าหาญที่จะท้าทายอำนาจเผด็จการ นี่คือการแสดงออกอย่างสงบ อย่างที่ปัญญาชนพึงและพอที่จะกระทำได้ มากกว่านี้คืออะไรแล้วผลจะเป็นอย่างไร หวังว่าผู้มีอำนาจจะสำเหนียกและไม่ต้องรอให้ถึงวันนั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน