Skip to main content

ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย

ชื่อธรรมศาสตร์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ผมรู้มาตั้งแต่จำความได้ เพราะเติบโตในกรุงเทพฯ มีความทรงจำลางเลือนวัยเด็กเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองกลางพระนคร และคนรอบตัวในครอบครัวก็สนใจการเมืองกันมาตลอด ส่วนหนึ่งที่เลือกเรียนธรรมศาสตร์ก็เพราะมีฮีโร่หลายคนที่นั่น 

ผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ปี 2529 รู้จักงานฟุตบอลประเพณีฯ (สมัยนั้นเด็กธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "งานบอลฯ") มาตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม แต่ไม่ว่าจะก่อนหรือเมื่อเข้ามาเรียนแล้ว ผมก็ไม่เคยไปงานบอลฯ เลยแม้แต่ครั้งเดียว ผมออกจะต่อต้านด้วยซ้ำ ผมเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ มัธยมส่วนใหญ่ เมื่อกลับไปเที่ยวที่โรงเรียนช่วงงานบอลฯ เพื่อนคนไหนฝากซื้อเสื้อเชียร์งานบอลฯ ผมก็จะถามกลับไปว่า "มึงจะซื้อไปทำไม ในตู้เสื้อผ้ามึงไม่มีเสื้อผ้าจะใส่แล้วเหรอ" ไม่ใช่ว่าเพราะผมจะกีดกันพวกมัน แต่เพราะผมรังเกียจงานบอลฯ แล้วผมก็ไม่เคยซื้อเสื้อเชียร์งานบอลฯ สักตัวเดียว 

ทำไมผมถึงรังเกียจงานบอลฯ ผมคิดว่างานบอลฯ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการส่งเสริมการเล่นกีฬา หรือเพื่อผ่อนคลายจากการเรียน แต่งานบอลฯ แฝงไว้ด้วยการส่งเสริมคุณค่าระบบสถาบันนิยม คือเชิดชูจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ให้ดูเป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญ ยิ่งใหญ่ ไม่แข่งกับใครแต่แข่งกันเองเท่านั้น แล้วยังมีพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองด้วยพาเหรดล้อการเมือง ซึ่งผมก็มองว่าเป็นแค่น้ำจิ้ม ทำไปอย่างนั้นเองเพื่อให้ดูว่าปัญญาชนมีอะไรเสนอกับสังคม แต่ไม่ได้เป็นสาระอะไรมากมาย 

แถมงานบอลฯ ยังเป็นการส่งเสริมระบบอาวุโส ระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง เพราะจะต้องมีการซ้อมเชียร์ ไป "ขึ้นสแตน" ซ้อมแปรอักษร การฝึกความพร้อมเพรียงเหล่านี้ใช้ระบบเดียวกับทหาร ใช้การฝึกวินัยและการเชื่อฟังคำสั่งอย่างเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ มีแต่จะยิ่งเสริมความเป็นสถาบัน และลดทอดการแลกเปลี่ยนโต้เถียงกันด้วยสติปัญญา ผมจึงไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว 

งานบอลฯ ยังเป็นงานที่สะท้อนสังคมสายลมแสงแดด กิจกรรมเชียร์ลีดเดอร์เป็นกิจกรรมของความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ เหมือนจำลองสังคมของการสร้างเซเล็บ สร้างชนชั้นขึ้นมาจากหน้าตาบุคคลิกของเชียร์ลีดเดอร์ มีการประกวดเชียร์ลีดเดอร์ มีสังคมฟุ้งเฟ้อของเชียร์ลีดเดอร์ การเป็นเชีบร์ลีดเดอร์งานบอลฯ กลายเป็นความใฝ่ฝันของหนุ่มสาว ผมจึงคิดว่ากิจกรรมนี้กลับไปส่งเสริมการวัดคนที่หน้าตาท่าทาง มากกว่าความรู้ความคิด เป็นกิจกรรมที่ไม่ส่งเสริมการศึกษา เสมือนจัดการประกวดความงามและสร้างชนชั้นเซเล็บขึ้นมา 

ในธรรมศาสตร์ มีการถกเถียงกันประปรายบ้างหรือบางปีก็เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตบ้าง ว่าเราควรจัดงานบอลฯ กันต่อไปหรือเปล่า อย่างช่วงที่ผมเรียนปริญญาตรีอยู่ มีปีหนึ่งจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายที่คัดค้านงานบอลฯ มาถกเถียงกันกันถึงประโยชน์กับโทษจากงานบอลฯ ปีนั้นอาจารย์นักพูดชื่อดังที่มีบุคคลิกเฉพาะตัวคนหนึ่งหลังๆ มาท่านใส่เสื้อสีเหลืองก็สละเวลามาร่วมเวทีด้วย แน่นอนว่าท่านเป็นฝ่ายสนับสนุนงานบอลฯ แต่ก็นับว่าช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันอย่างคึกคักทีเดียว หลังๆ มาผมไม่ทราบว่านักศึกษาจัดกิจกรรมลักษณะนี้กันบ้างหรือไม่  

สำหรับผม การที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ปีนี้พร้อมเพรียงกันแสดงออกทางการเมืองในลักษณะส่งเสริมประชาธิปไตย แสดงให้เห็นถึงอะไรหลายๆ อย่างที่ผมมองข้ามไป ที่ว่าพร้อมเพรียงคือ ไม่ใช่เฉพาะขบวนล้อเลียนการเมือง ซึ่งต้องฝ่าฟันอุปสรรคอย่างชัดเจนจนกระทั่งมีการงานแผนล่วงหน้าในการตบตาทหารตำรวจมาอย่างดี แต่ที่น่าทึ่งมากเข้าไปอีกคือการแปรอักษรบนอัฒจรรย์ ที่แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างชัดเจน กิจกรรมนี้ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างพร้อมเพรียง ต้องมีการซักซ้อมกันมาก่อน และต้องอาศัยการประสานงานกันหลายฝ่าย แสดงว่าความเห็นของพวกเขาต้องตกผลึกกันมานานพอสมควร  

ที่ว่ามองข้ามไปคือ การปลูกฝังความคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่องอาจมีส่วนทำให้อุดมการณ์เหล่านั้นแทรกซึมเข้าไปในความรูสึกนึกคิดของนักศึกษาได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การรู้สำนึกจนกระทั่งกล้าแสดงออกมาอย่างพร้อมเพรียงกันนี้ แสดงให้เห็นว่านักศึกษารับรู้ถึงผลกระทบของอำนาจเผด็จการที่กำลังทำงานเหนือพวกเขาขึ้นมาบ้างแล้ว พวกเขาคงเริ่มตระหนักว่าวันข้างหน้าเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกรับฟัง พวกเขาคงเริ่มตระหนักบ้างแล้วว่า ความรู้ของพวกเขาจะไม่มีประโยชน์เลยหากต้องอยู่ในระบบที่ปิดกั้นการแสดงความเห็น พวกเขาคงเริ่มไม่ไว้ใจระบอบที่เป็นอยู่แล้วเริ่มสงสัยมากขึ้น และวันนี้พวกเขาคงได้รู้บ้างแล้วว่า เพียงแค่การขยับตัวแบบขำๆ ของพวกเขา ก็ยังแทบจะทำไม่ได้ ยังกลายเป็นอาญาแผ่นดิน 

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาธรรมศาสตร์ปีนี้ร่วมมือร่วมใจกันประกาศว่าพวกเขาต้องการประชาธิปไตย พวกเขาเห็นว่าระบอบที่เป็นอยู่ไม่ใช่ประชาธิปไตย พวกเขาเรียกร้องให้คืนอำนาจให้ประชาชน และเหนือสิ่งอื่นใดคือ พวกเขาพร้อมเพรียงกันแสดงความกล้าหาญที่จะท้าทายอำนาจเผด็จการ นี่คือการแสดงออกอย่างสงบ อย่างที่ปัญญาชนพึงและพอที่จะกระทำได้ มากกว่านี้คืออะไรแล้วผลจะเป็นอย่างไร หวังว่าผู้มีอำนาจจะสำเหนียกและไม่ต้องรอให้ถึงวันนั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย