Skip to main content

รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโจร เพราะไม่อยากรับความจริงว่าตนเองเป็นโจร รัฐบาลทหารอยากให้ประชาชนรักใคร่ ทั้งๆ ที่ยึดอำนาจ พรากสิทธิเสรีภาพไปจากประชาชน เหมือนโจรที่ปล้นของเขาไปแล้วจะให้เจ้าของเขามารักตนเองได้อย่างไร 

ทุกวันนี้ รัฐบาลทหารไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลทหารพยายามแยกตัวเองออกจากการเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง แต่กาลได้เผยให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลทหารกำลังผลักให้ตนเองกลายไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มคนสำคัญ 4 กลุ่ม 

หนึ่ง กลุ่มประชาชนคนยากคนจน คนเหล่านี้มีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิที่ทำกิน และผู้ที่มีความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพดำเนินชีวิตผู้ต้องการให้รัฐบาลรับฟังปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องปากท้อง เรื่องผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลก่อนหน้า เช่น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล 

สอง กลุ่มเอ็นจีโอ คนกลุ่มนี้ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนมาตลอด เอ็นจีโอจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารตั้งแต่ต้น ในขณะนี้พวกเขายิ่งได้เห็นถึงปัญหาของการรัฐประหารจากการร่วมแก้ปัญหากับประชาชนผู้เดือดร้อนมาโดยตลอด พวกเขาจำนวนมากอยู่แนวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิของประชาชนเสียยิ่งกว่าองค์กรด้านสิทธิที่ได้รับเงินเดือนเป็นแสนจากภาษีของประชาชน   

สาม กลุ่มประชาชนทั่วไปผู้รักสิทธิเสรีภาพ คนเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสื้อแดง แต่พวกเขาคือประชาชนทั่วไปที่ต้องการให้ประเทศกลับเข้าสู่ระบอบการปกครองอย่างปกติ พวกเขาเพียงต้องการมีสิทธิแสดงอำนาจแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งและการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติ  

สี่ กลุ่มนักศึกษาผู้รักประชาธิปไตย นักศึกษาเหล่านี้เรียนรู้อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยไม่จำเป็นที่จะต้องถูกปลูกฝังหว่านล้อมโดยใคร พวกเขามีความคิดเป็นของตนเอง พวกเขาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ศึกษาอยู่ และเมื่อวันนี้ที่พวกเขารับรู้ถึงการถูกกักขังทางความคิด พวกเขาจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องขออำนาจคืน 

คนสี่กลุ่มนี้ไม่ได้มีโยงใยกับพรรคการเมือง คนสี่กลุ่มนี้รักประเทศชาติ รักประชาชน รักชีวิต รักสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่ได้น้อยไปกว่าทหาร คนเหล่านี้เป็นพลเมืองผู้เสียภาษีให้ทหาร พวกเขาแสดงตนออกมาในวันนี้ก็เพื่อทวงคืนสิทธิในการปกครองตนเองของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าอำนาจที่ทหารยึดไปนั้น เอาไปใช้อย่างสูญเปล่า ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศชาติอีกต่อไป 

นี่ยังไม่นับว่ารัฐบาลทหารกำลังสร้างความร้าวฉานในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ด้วยการคุกคามคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย คุกคามนักการเมืองพรรคเพื่อไทย แต่กลับอวยอำนาจให้กับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้โค่นล้มพรรคเพื่อไทย พร้อมๆ กับทำลายศักดิ์ศรีของสื่อมวลชนภาคสนามอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายสิบปี รวมทั้งยังใช้กฎหมาย ม. 112 อย่างบิดเบือนและก่อผลร้ายแรงต่อชีวิตประชาชนจำนวนมาก แถมยังพยายามคงอำนาจในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยพรบ.ดิจิทัล และการขยายอำนาจของศาลทหาร 

ยอมรับความจริงกันได้หรือยังว่า รัฐบาลทหารไม่ได้กำลังสู้อยู่กับนักการเมืองคอร์รัปชั่น รัฐบาลทหารล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่ได้มีความเป็นกลางทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่สามารถซื้อใจให้คนอีกจำนวนมากหันมารักได้ รัฐบาลทหารเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง  

รัฐบาลทหารกำลังสู้อยู่กับความรักชาติ รักประชาชน รักประชาธิปไตยของผู้คนอีกจำนวนมาก และวิธีจัดการกับคนรักชาติ รักประชาธิปไตย รักประชาชนด้วยการใช้กำลังรุนแรงแบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็กำลังยิ่งผลักให้รัฐบาลทหารเป็นศัตรูของประชาชนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด