Skip to main content

เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน

 ผมถือว่าการห้ามดื่มสุราในเทศกาลเป็นการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามก้าวก่ายชีวิตคนมากเกินไป แค่นี้เอง อย่างสโลแกน "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" น่ะ มีแต่สังคมคลั่งศาสนาเท่านั้นแหละที่จะพูดกัน ในสังคมไทย คนไม่คลั่งศาสนาน่ะมีมากกว่าคนคลั่งนะครับ 

โลกสากลเขาจำกัดการดื่มแตกต่างกันไป แต่ไม่มีสังคมไม่คลั่งศาสนาที่ไหนหรอกที่เขาจะทำแบบที่คนดัดจริตในประเทศไทยส่วนหนึ่งอยากทำ ไม่มีสังคมที่ไม่เป็นเผด็จการบ้าอำนาจที่ไหนหรอก ที่เขาจะทำแบบที่เผด็จการบ้าอำนาจบ้านเราทำ

นอกจากความบ้าศาสนาและบ้าอำนาจแล้ว ผมว่ามันยังชี้อะไรอีกหลายๆ อย่าง ข้อแรกคือ คนไทยส่วนมากคิดถึงปัญหาสังคมใหญ่ได้เฉพาะแค่ระดับปัจเจก ปัญหาเมาในเทศกาลน่ะ ไม่ใช่ปัญหาปัจเจก แต่เป็นปัญหาโครงสร้าง เช่น ถ้าระบบขนส่งมวลชนดี คนเมาก็กลับบ้านได้ 

พอวิจารณ์เรื่องนี้ทีไรก็โยงไปโน่น เมาแล้วขับบ้าง เมาแล้วข่มขืนมั่ง ไอ้อุบัติเหตุรถกับอาชญากรรมต่างๆ น่ะ เกิดด้วยเหตุของสุรามากน้อยแค่ไหนกันเชียว ที่รถคว่ำๆ ตามถนนที่ออกแบบไม่ดี หรือแทนที่จะออกแบบระบบขนส่งทางไกล พัฒนาระบบรถไฟน่ะ ไม่คิดหรอก เพราะมันยุ่งยากเกินไปที่จะจัดการ และเพราะมันง่ายกว่าที่จะโทษปัจเจกชนกับการเมาบางลักษณะ 

ข้อต่อมา การเมาอย่างมีสติน่ะ สังคมไทยไม่ได้สั่งสอนกัน ก็เลยเมาแบบขาดสติกัน พูดแบบนี้พวกหมอก็จะมาอาละวาดอีก พวกคนเมาจำนวนมากน่ะ เมาเพื่อสร้างหน้ากากบังตัวตนมากกว่า ผมอยู่ในสังคมคนเมาหลายสังคม คนญี่ปุ่นเมาสุดๆ คนอเมริกันดื่มในเทศกาลในที่สาธารณะเป็นปกติ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐ จะมีก็แต่รัฐที่เคร่งศาสนาไม่กี่รัฐที่จะเข้มงวดมาก คนเวียดนามเมารายวัน ทั้งหมดนั่น ผมไม่เห็นใครไปทำร้ายใครกันง่ายๆ เลย 

การยืนยันสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในวิถีชีวิต สิทธิในร่างกายของแต่ละคน ไม่ใช่ยืนยันว่าจะต้องไปละเมิดคนอื่นเมื่อไหร่ คนขอสิทธิที่จะเมา แม้จะในที่สาธารณะ ไม่ได้ขอสิทธิที่จะไปขับรถชนใครหรือไปละเมิดร่างกายใครเมื่อไหร่ 

ส่วนประเด็นเรื่องชนชั้นน่ะ เห็นๆ กันอยู่ว่า ทัศนคติของสังคมไทยเป็นอย่างไร ตรรกะ "จน-เครียด-กินเหล้า" มาจากไหน ร้านริมถนนไม่ให้ขายเหล้า ไม่ให้กินเหล้าเล่นสงกรานต์ วัฒนธรรมประจำวันกับวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบนี้น่ะ กระทบใคร ถ้าสงกรานต์ไม่ให้ดื่ม ถามหน่อยว่าตามผับบาร์ที่จัดงานสงกรานต์น่ะ ห้ามดื่มเหล้าด้วยหรือเปล่า

ปัญหาสังคมน่ะ ไม่ได้แก้ง่ายๆ ด้วยการออกกฎเข้มงวดขึ้นหรอก แต่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจทั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย อย่าสักแต่ว่ามีอำนาจแล้วออกกฎบังคับเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากคนบางกลุ่มที่มีอำนาจด้วยกันเท่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี