Skip to main content

ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้

ก็ไม่ใช่ว่าผมจะมองไม่ออกหรอกนะครับว่า การขายข้าวของ บก.ฯ จะมีนัยอย่างไร เพียงไม่นึกไม่ถึงว่าจะมีพลังมากขนาดนี้ ขอบันทึกเพื่อความเข้าใจของตัวเองว่าอย่างนี้ก็แล้วกันครับ (เพื่อความเข้าใจของตนเองนะครับ ใครเห็นว่าไม่เห็นจะมีประเด็นอะไร ไม่เห็นจะต้องมาเขียนอะไร ก็ไม่เห็นจะต้องอ่าน ผ่านเลยไปครับ)  

หนึ่ง ผมว่า บกฯ ฉลาดเรื่องปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์เสมอๆ ตั้งแต่การเป็นคนเริ่มใส่เสื้อแดงเป็นคนแรก โดยอาศัยคำขวัญ "วันอาทิตย์สีแดง" ผมยังจำคลิปที่ บกฯ ใส่เสื้อแดงพุงกลมไปเล่นละครใบ้ที่สีลมได้ สุดท้าย เสื้อแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดขบวนการหนึ่งในประเทศไทยในรอบทศวรรษ 2540-2550 (ก่อนหน้านี้มีขบวนการสมัชชาคนจน กับขบวนการพันธมิตรฯ ที่เรียกร้อง ม.7)  

สอง อีกระดับหนึ่งที่ผมว่าน่าประทับใจคือ บก.ฯ เก่งเรื่องการริเริ่มสร้างความหมายทางการเมืองจากวัฒนธรรมสามัญ อย่างการชวนคนไปกินแฮมเบอร์เกอร์ ผมถามคนสนิทกับ บก.ฯ มากคนหนึ่งว่า ตกลง บก.ฯ ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์ จริงๆ เหรอ คนนั้นตอบว่า เท่าที่รู้ไม่เห็นเคยชอบนะ แต่ในเมื่อพื้นที่ตรงนั้นมันเป็นพื้นที่ใจกลางสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการไปแล้วในระยะหนึ่ง ร้านแฮมเบอร์เกอร์นั้นก็เลยกลายสภาพไปเป็นที่นัดชุมนุมทางการเมืองไปด้วยในตัว วิธีทำนองเดียวกันนี้ภายหลังกลุ่มนักศึกษาก็ใช้เช่นกัน แต่ผมว่าพวกเขาคงไม่ได้เอาอย่าง บก.ฯ หรอก เพียงแต่มันคล้ายกัน 

สาม บกฯ สื่อสารกับคนด้วยภาษาง่ายๆ ได้ดี เมื่อก่อน ซึ่งไม่นานมานี้นักหรอก ผมว่า บก.ฯ เป็นคนพูดไม่เก่งนะ ผมเคยฟัง บก.ฯ พูดอภิปรายในบางเวที ผมฟังแทบไม่เข้าใจเลย หรือเป็นเพราะเวทีนั้นเป็นเวทีวิชาการก็ไม่รู้ หรือจะเพราะ บก.ฯ เคยถนัดแต่ละครใบ้ก็ไม่รู้ แต่หลังๆ มา บก.ฯ สื่อสารเก่งมาก ทักษะในการพูดของ บก.ฯ นี่ ในวงอภิปรายหรือรายการทีวีที่ไปร่วมเวทีกันทีไร (นึกๆ แล้วก็แปลกดีที่ไปร่วมเวทีเดียวกับ บก.ฯ อย่างน้อย 3-4 ครั้ง) ถ้าผมต้องพูดหลัง บก.ฯ ละก็ ต้องหามุกหลบไปเป็นวิชาการจ๋าๆ เลยทุกที  

สี่ เรื่องการสื่อสาร มีรายละเอียดที่สำคัญอีกคือ ตรรกของ บก.ฯ มักจะแหวกแนว มีเวทีนึง ผมไปร่วมเวทีกับ บก.ฯ และผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นๆ อีก 2-3 คน เป็นเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัย ทุกคนวิจารณ์ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ โดยนัยที่ว่าจะปรับปรุงมันยังไง พอถึงคิว บก.ฯ บก.ฯ บอก "ผมว่าเราน่าจะสร้างมหาวิทยาลัยแบบใหม่" แล้ว บก.ฯ ก็หันมาชวนผมว่าให้ยกเลิกหรือลาออกจากมหาวิทยาลัยปัจจุบันไปตั้งมหาวิทยาลัยแบบใหม่กันดีกว่า บก.ฯ เก่งเรื่องการคิดแหวกแนวมาก แล้วแกคิดจริงจังด้วย ไม่ใช่แค่คิดหรือพูดลอยๆ คือจริงจังแบบมีแนวทางมีแผนงานที่ใกล้จะทำจริงได้เลย 

ห้า (ชักเยอะแล้วนี่) มุกใหม่ของ บก.ฯ เรื่องการขายข้าวนี่ ที่จริงก็ต่อเนื่องมาจากการขายนาฬิกา ผมนั่งดู บก.ฯ ขายนาฬิกา ซึ่งก็เคยเห็นอยู่เรือนหนึ่งในบ้านคนรู้จักกันดี "แถวนี้" แล้ว ผมก็ว่า บก.ฯ คงใจเย็น คือค่อยๆ ขายทั้งสินค้าและความคิดไปแบบเรื่อยๆ เรียงๆ แต่พอกระโดดมาขายข้าวนี่ ผมว่า "มันใช่เลย" ยิ่งเสธ.ไก่อู เริ่มกระแนะกระแหนในลีลาทหารดีแต่ปากนี่ ผมว่า บก.ฯ ขายของออกแล้ว ผมว่านี่เป็นการแปลงวิธีการแบบที่คนเมืองเข้าใจได้มาเป็นขบวนการทางสังคมได้อย่างชาญฉลาดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการแปลงตรรกแบบการตลาดมาเป็นพลังของผู้ด้อยอำนาจอย่างแยบคาย 

ขายของต่อไปครับ บก.ฯ ผมทำอะไรแบบ บก.ฯ ไม่เป็นสักอย่าง ทำได้แค่หาทางทำให้ตัวเองเข้าใจ บก.ฯ แบบที่ขีดๆ เขียนๆ มาเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์