Skip to main content

วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้

วันที่ 30 เมษายน 2518 (ค.ศ.1975) เป็นวันสิ้นสุด "สงครามเวียดนาม" ก็จริง แต่นั่นยังไม่ใช่การสิ้นสุดของมรดก สงครามเวียดนามŽ และ สงครามเย็นŽ เพราะสงครามกับคอมมิวนิสต์อย่างน้อยในภูมิภาคนี้ก็ไม่ได้สิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงหลัง สงครามเวียดนามŽ สิ้นสุดลง (ผมจงใจใช้อัญประกาศ "..."Ž กำกับชื่อสงครามต่างๆ ซึ่งหมายถึงสงครามเดียวกัน แต่รู้จักกันจากหลายมุมมองในชื่อต่างกัน) อย่างที่รู้กันคือ ในประเทศไทย สงครามกับคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินต่อมาจนทศวรรษ 2520 บางคนถือเอานโยบาย 66/23 เป็นหมุดหมายของการสิ้นสุด ส่วนใน สปป.ลาว "สงครามลับ" หลังสงครามเวียดนามยังคงดำเนินต่อเนื่องมาอีกหลายปี จนถึงยุค น้าชาติŽ หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทศวรรษ 2530 นั่นแหละจึงจางหายไป 

 

กลับไปที่คำถามว่า "สงครามเวียดนามŽ" เป็นสงครามระหว่างใครกับใครกันแน่ และ เราŽ อย่างน้อยคนไทยควรเข้าใจสถานะของสงครามนี้อย่างไร มี 2-3 เรื่องที่เป็นทั้งประสบการณ์ตรงที่กระอักกระอ่วนและจากการศึกษาประวัติศาสตร์และทำวิจัยในประเทศเวียดนามมาร่วม 20 ปี

สถานะของประเทศไทยใน "สงครามอินโดจีนครั้งที่สองŽ" (อีกชื่อหนึ่งของสงครามเวียดนาม) เป็นสถานะที่คนไทยแทบไม่ได้เรียนรู้ หรือรู้ก็รู้ในแบบที่สร้างความเกลียดชังประเทศและชาวเวียดนามต่อเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นึกย้อนกลับไปเมื่อสัก 30 กว่าปีก่อน หลายคนคงเคยได้ยิน urban folklore หรือ ตำนานชาวเมืองŽ ในประเทศไทยสมัยหนึ่งที่ว่า กินก๋วยเตี๋ยวญวนแล้วจู๋Ž คือจะทำให้อวัยวะเพศชายหดตัว ไม่สู้ หรือบางเวอร์ชั่นก็บอกว่ากุดไปเลย เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ยินอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง เพื่อนอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยคนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เคยมีเรื่องเล่าว่าสาวเวียดนามซ่อนใบมีดโกนไว้ในอวัยวะเพศ จินตนาการเอาเองก็แล้วกันว่าทำไมหนุ่มไทยจะต้องกลัวถ้าไม่คิดถึงความสัมพันธ์พิเศษอะไรกับสาวเวียดนาม 

ในทางตรงกันข้าม นิยายไทย ภาพยนตร์ไทย และเพลงลูกทุ่งไทย เช่น นิยายชุด ผู้กองยอดรักŽ หรือเพลง เสียงเรียกจากหนุ่มไทยŽ (น่าจะรวมทั้งละครโทรทัศน์ ฮอยอันฉันรักเธอŽ ที่เคยโด่งดังด้วย จนทำให้เมือง โห่ยอานŽ กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมไปช่วงวันหยุดยาวมากที่สุดเมืองหนึ่งของเวียดนาม) ที่กล่าวถึงทหารไทยไปรบที่เวียดนาม กลับมักให้ภาพทหารไทยกลัวๆ กล้าๆ ไปรบกับเวียดนามแล้วได้สาวเวียดนามเป็นภรรยา แล้วสุดท้ายก็ทอดทิ้งกลับมา หรือไม่ก็สนุกกันชั่วครั้งชั่วคราวแล้วต้องพรากจากกันไป เรื่องราวความรักระหว่างทหารไทยกับสาวเวียดนามนี้ฟังดูแล้วเข้าทำนองโกโบริกับอังศุมาลิน เป็นภาพความรักโรแมนติกระหว่างคู่สงคราม 

น่าสังเกตว่า ในเนื้อเรื่องทำนองนี้ พระเอกจะเป็น ผู้รุกรานŽ ที่ชวนหลงใหล ส่วนนางเอกก็จะเป็น ผู้ถูกรุกรานŽ ที่สมยอมกับการถูกรุกราน เหมือนกับจะช่วยอธิบายสถานะการรุกรานและการยอมรับการรุกรานด้วยเพศสัมพันธ์ได้อย่างชวนฝัน

ภาพลักษณ์เวียดนามแบบนี้ช่างขัดกันกับตำนานชาวเมืองที่กล่าวถึงโรคจู๋และเครื่องเพศใบมีดโกนข้างต้น ผมเดาว่าตำนานข้างต้นที่ทำให้ เวียดนามŽ = สาวแสบŽ ไปถึงกระทั่งสร้างตำนาน การตอนรวมหมู่Ž เกิดขึ้นหลังจาก ไซ่ง่อนแตกŽ ขณะที่ตำนาน ความรักชวนฝันŽ ระหว่างทหารไทยกับสาวเวียดนามถูกสร้าง (น่าจะอย่างเป็นระบบ) ในยุคที่ไทยร่วมรบกับสหรัฐ ในสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ แต่ความหมายที่ตำนานทั้งสองยุคมีร่วมกันก็คือ ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามทั้งสองลักษณะเป็นภาพความสัมพันธ์ที่มีนัยทางเพศ ความสัมพันธ์ไทยกับเวียดนามในจินตนาการพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยเป็นเพศสัมพันธ์ที่ทั้งชวนหลงใหลและน่าหวาดระแวง แต่คำถามที่ตามมาอีกคำถามคือ แล้วคนเวียดนามล่ะ เขามองความสัมพันธ์ตนเองกับไทยในยุคสงครามอย่างไร

ในระหว่างที่เริ่มทำวิจัยในเวียดนามเมื่อเกือบ 15 ปีก่อน ผมเพิ่งเริ่มรู้ว่าคนเวียดนามเรียกสงครามเดียวกันนี้ว่า "สงครามอเมริกันŽ" เพราะ เขาŽ (คือคนเวียดนามส่วนหนึ่ง) ถือว่าเป็นสงครามที่สหรัฐอเมริกาเข้ามารบกับคนเวียดนาม แต่สงครามนี้ซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะยังเป็น "สงครามกลางเมืองŽ" ระหว่างคนเวียดนามด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐ ดึงทหารเวียดนามเข้ามาร่วมรบในสงครามมากขึ้น จนกลายเป็นสงครามระหว่างทหารเวียดนามเหนือ (ที่คนไทยเรียกตามฝรั่งอเมริกันว่า เวียดกงŽ) กับทหารเวียดนามใต้

แต่นั่นก็ยังไม่ซับซ้อนพอ เพราะถ้าจะว่าไป ความสำเร็จŽ ของเวียดนามเหนือ หรือ ความล้มเหลวŽ ของเวียดนามใต้ เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลเวียดนามใต้เองด้วย ตั้งแต่สมัยรัฐบาลโง ดิ่ง เสียบ (Ng™ô Đình Diệฺm ถ้าสำเนียงภาคใต้จะออกเสียงว่า โง ดิ่น เหยียบ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี ดำเนินนโยบายล้มเหลวในการปราบปรามและกดทับกำราบผู้คนที่เห็นต่างจากรัฐบาลมากมาย รวมทั้งกดขี่ชนกลุ่มน้อยในเขตที่สูงภาคใต้ และเหยียดศาสนาพุทธยกย่องโรมันคาทอลิกที่ตนนับถือจนชาวพุทธไม่พอใจ (มีเรื่องเล่าว่า ที่โง ดิ่ง เสียบได้รับแรงหนุนจาก JFK นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะความเป็นชาวคาทอลิกเช่นเดียวกัน)

กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ความล้มเหลวของรัฐบาลเวียดนามใต้ที่มีอยู่ก่อนแล้วนั่นเองก็มีส่วนในการทำลายความมั่นคงของรัฐบาลเวียดนามใต้ และมีส่วนในการสร้างแนวร่วมของผู้ต่อต้านรัฐบาลในเวียดนามใต้ ให้คนเวียดนามใต้เองร่วมมือเปิดทางหรือเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับ สงครามปลดปล่อยŽ เวียดนามใต้ สหรัฐ และกองทัพเวียดนามใต้จึงล้มเหลวในการแยกแยะหมู่บ้านที่สนับสนุนรัฐบาลออกจากหมู่บ้านที่สนับสนุนเวียดนามเหนือ ก็เพราะพวกเขาก็คือคนในที่มีใจให้กับรัฐบาลเวียดนามเหนือนั่นเอง 

พวกเขาก็คือชาวเวียดนามใต้ที่ร่วมมือกับชาวเวียดนามเหนือรบกับทหารเวียดนามใต้ที่สหรัฐสนับสนุนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ที่ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกคือการเข้าร่วมสงครามนี้โดยชาติต่างๆ มากมายยิ่งกว่าเพียงสองชาติคือสหรัฐอเมริกากับเวียดนาม นี่ทำให้เมื่อศึกษาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม ผมจึงถูกบังคับให้ต้องอ่านเอกสารทั้งจากสหรัฐอเมริกาเอง จากเวียดนาม จากฝรั่งเศส รวมทั้งจากออสเตรเลียที่ส่งทหารไปร่วมรบไม่น้อยเช่นกัน แต่ที่ยังขาดการศึกษาจริงจังคือ บทบาทของไทยในสงครามเวียดนามนี้ และทำให้บางคนเรียกสงครามนี้ว่า สงครามอินโอจีนครั้งที่สองŽ (ครั้งแรกคือสงครามระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับฝรั่งเศสสิ้นสุดปี 1954 ครั้งที่สามคือสงครามระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาและจีนปี 1979)

เมื่อราวๆ ปี 2547 มีครั้งหนึ่งที่ผมไปเดินอยู่ในหมู่บ้านในเวียดนามเหนือ ระหว่างที่กำลังจะเริ่มบทสนทนากับผู้เฒ่าคนหนึ่ง ท่านก็ถามผมว่า ทำไมประเทศเธอยอมให้สหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพแล้วมาทิ้งระเบิดที่บ้านเราŽ ผมอึ้งไปชั่วขณะ แล้วตอบกลับไปว่า แต่ผมทำงานในมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยผู้ที่ช่วยเหลือลุงโฮมาตลอดนะครับŽ ก็เลยพอจะปิดปากผู้เฒ่าคนนั้นไปได้บ้าง เพราะชาวเวียดนามพอจะรับรู้กันอยู่ว่าปรีดี พนมยงค์ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเวียดนามในระหว่างยุคสงครามอินโดจีนครั้งแรก

และนี่ก็แสดงความซับซ้อนของความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามไปด้วยในตัว

คำกล่าวประเภทว่า คนเวียดนามทุกคนรักชาติŽ คนเวียดนามชาตินิยมŽ คนเวียดนามหวงแหนประเทศ ต่อสู้ปกป้องประเทศจากต่างชาติŽ จึงถูกเพียงส่วนเดียว เพราะต้องถามต่อไปว่า ใครเป็นคนพูดคำนั้น ไม่ใช่คนเวียดนามใต้ทุกคนจะไม่ยินดีกับ การบุกเข้ายึดไซ่ง่อนŽ ของทหารเวียดนามเหนือ และไม่ใช่ชาวเวียดนามเหนือทุกคนที่ยินดีกับ การปลดปล่อยเวียดนามใต้Ž ไม่ต่างกับการที่คนอเมริกันจำนวนมากที่ต่อต้านการที่ผู้นำประเทศ นำประเทศสหรัฐเข้าสู่สงครามเวียดนามและสงครามอื่นๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคนอเมริกันจำนวนมากจนถึงทุกวันนี้ คนเวียดนามทุกฝ่ายทั้งสูญเสียและได้รับประโยชน์ ประเทศเวียดนามก็ไม่ต่างจากสังคมไหนๆ ที่ไม่ได้เรียบง่าย ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวเสมอกันไปหมด 

สังคมไทยก็ควรเริ่มทำความเข้าใจความซับซ้อนของบทบาทตนเองต่อความสูญเสียของผู้คนและสังคมในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ถึงทุกวันนี้ แม้แต่ความซับซ้อนของความขัดแย้งในสังคมไทยเอง คนไทยยังไม่อยากเข้าใจเลย คงหวังที่จะให้เข้าใจความซับซ้อนของโลกรอบตัวได้ยากยิ่งเข้าไปอีก

ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 4 พ.ค. 2558 

========================================

หมายเหตุ: ขอบันทึกไว้ว่า

1. บทความชิ้นนี้ มติชนตัดข้อความสำคัญตอนหนึ่งออกจากต้นฉบับอีกครั้งหนึ่ง คือตอนที่ผมกล่าวถึงการเสด็จเยือนเวียดนามใต้ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเมื่อปี 1959 ซึ่งนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะประมุขของพระองค์ 

2. ที่ไม่แน่ใจคือ มติชนพิมพ์อักษรเวียดนามในฉบับที่พิมพ์ลงกระดาษหรือเปล่า แต่ในฉบับออนไลน์มีความผิดพลาดเรื่องนี้ ต่อไปหากเขียนเรื่องเวียดนามลงมติชน ผมคงต้องเลี่ยงการใช้อักษรเวียดนาม ซึ่งก็เหมือนไม่ให้เกียรติเพื่อนบ้าน และยิ่งดูน่าอายหากคนศึกษาเวียดนามเขียนถึงเวียดนามแล้วไม่ใช้อักษรเวียดนามในการพิมพ์งาน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้