Skip to main content

เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"

ไม่ใช่ว่าธรรมศาสตร์จะไม่มีใครให้เชิดชูกัน ชื่อ ปรีดี ป๋วย ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอๆ แต่ถ้าถามว่า ธรรมศาสตร์มีใครเป็นชื่อที่คงความเป็นคนหนุ่มสาว ดุจดั่งเป็นอมตะแบบจิตรอยู่บ้าง ผมยังนึกชื่อใครไม่ออก นอกจากที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อเขาตายแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอมตะแบบจิตรหรือไม่ แต่จะพูดเรื่องจิตรหรือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์มากก็เสี่ยงที่จะเป็นการเรียกแขกไปเสียเปล่าๆ อย่าพูดมากเลยดีกว่า 

ที่จริงในโอกาสนี้ ผมแค่อยากแนะนำหนังสือ "จิตร ภูมิศักดิ์ : ความทรงจำและคนรุ่นใหม่" (2557) ที่มีอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐเป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความและบทนำเสนอต่างๆ ในงานสัมมนาครบรอบ 80 ปีจิตร ภูมิศักดิ์ที่อักษรฯ จุฬาฯ เมื่อปี 2553 ในงานนั้น มีผลงานหลายชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก มีทั้งการมองจิตรในมิติของการเป็นนักต่อสู้ นักปฏิวัติ นักวิชาการด้านต่างๆ และจิตรที่ถูกจดจำหรือถูกลืม ลองติดตามอ่านกันได้ครับ 

  

ผมรอคอยหนังสือเล่มนี้มานาน ทั้งอยากเห็นผลงานตัวเอง และอยากใช้ให้นักศึกษาอ่าน ไม่ทราบว่าแอบพิมพ์ออกมาเมื่อไหร่ เพราะหลังจากสัมมนากันตั้งแต่เมื่อปี 2553 ผมก็เฝ้ารอมาตลอด แต่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ตามปีที่ระบุคือ 2557 คือปีกลาย ผมก็ยังไม่เห็นตัวเล่มเลย เพิ่งมาเห็นเมื่อค้นรายชื่อหนังสือในห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางผู้จัดพิมพ์คืออาจารย์ยิ้ม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คงจะจัดส่งให้ผมแล้วในระหว่างที่ผมไม่ได้อยู่ประเทศไทย 

ไหนๆ ก็พูดถึงตัวเองแล้ว ขอเล่าย้อนหลังว่า ผมเขียนถึงจิตรใน 2 วาระและเป็นการวิจารณ์งานสำคัญ 2 ชิ้นด้วยกัน ในปี 2547 คือเปิดตัว "กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์" ผมเขียนบทวิจารณ์หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" คราวนั้น "ศิลปวัฒนธรรม" กรุณานำไปพิมพ์ พอ 80 ปีจิตร สำนักพิมพ์ "ฟ้าเดียวกัน" ผู้จัดพิมพ์หนังสือชุดผลงานของจิตรตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุน กรุณาชวนเชิญผมไปร่วมสัมมนาในงาน 80 ปี ซึ่งก็ทำให้ผมได้อ่านและเขียนบทวิจารณ์ต่อบทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง "โองการแช่งน้ำ" โดยจิตร ภูมิศักดิ์ (ซึ่งฟ้าเดียวกันนำมาจัดพิมพ์ใหม่) อย่างจริงจัง  

ผมพาดพิงถึงจิตรบ่อยๆ ในงานของผม หรือไม่ก็มีจิตรเป็นคู่สนทนาหลายครั้ง ก็เนื่องจากว่างานการศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุ เรื่องคนไทนอกประเทศไทย และเรื่องภาษาและอักษรของจิตรนั้น อยู่ในอาณาบริเวณความรู้ที่ผมต้องถกเถียงด้วยเสมอ งานของจิตรที่ผมมักสนใจจึงเป็นงานในช่วงหลังของเขา   

อาจารย์สุธาชัยเล่าในงานสัมมนาเมื่อปี 2553 ว่า งานที่ผมสนใจเป็นงานช่วงที่จิตรอยู่ในคุก ซึ่งจิตรค้นคว้าด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์มากขึ้น นอกจาก "ความเป็นมาฯ" และ "โองการแช่งน้ำ" แล้ว เขายังศึกษาภาษาละหุ งานช่วงนี้จึงค่อนข้างแตกต่างจากงานศึกษาประวัติศาสตร์ไทยแนวมาร์กซิสม์อย่าง "โฉมหน้าศักดินาไทย" หรือ "สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยอยุธยา"    

ในหลายโอกาสที่ได้สนทนากับคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ "พี่สุจิตต์" บอกเสมอว่า งานของจิตรมีอิทธิพลต่อความคิดของเขามาก และในหลายๆ เรื่องก็ไม่เคยเจอใครเสนออะไรแบบที่จิตรเสนอมาก่อน นักประวัติศาสตร์ที่ผมขอไม่เอ่ยนามในที่นี้คนหนึ่งเคยกล่าวกับผมมานานแล้วว่า งานของจิตรด้านภาษานั้น ทำให้นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเมืองไทยพบกับเพดาน คือไม่สามารถประเมินงานเขาได้ ผมเองเพียงหาช่องในการทั้งเข้าใจเขาและอ่านงานจิตรเพื่อสร้างบทสนทนาขยายความรู้ต่อไป  

หากนับว่าใครเป็นครู ผมก็จะนับจิตรคนหนึ่งล่ะที่เป็นครูของผม เพียงแต่ผมถือว่าครูไม่ได้เอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้ง แต่ครูมีไว้ให้เราสนทนาด้วยและก้าวข้ามเพดานความรู้ของครู หากใครอ่านงานของจิตรอย่างจริงจัง ก็คงจะได้เห็นวิธีการทำงานท้าทายครูของจิตรไปด้วยเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์