Skip to main content

"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก

 

หนังสือเล่มนี้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเพิ่งได้รับมาจากผู้จัดทำ ในหนังสือระบุว่าเป็น New Testament ในภาษาเวียดนามและภาษาลาว ระบุว่าพิมพ์ปีค.ศ. 2014 ทางห้องสมุดขอให้ผมช่วยให้ความเห็นในการออกเสียงชื่อหนังสือเพื่อจัดทำระเบียนหนังสือ 

ตรงชื่อรองหรือ subtitle เขียนว่า "ความ หญัน ปาว ตอย ลวง ตาง เจ้า เซ (อักษรนี้ออกเสียงไทดำแบบ z ในภาษาอังกฤษ) ซู" นี่เขียนโดยไม่ตรงตามเสียงวรรณยุกต์เป๊ะๆ นะครับ น่าจะแปลได้ว่า "เรื่อง ข้อความ บอกเล่า ตาม แนว ทาง เจ้า เยซู" คำที่ผมไม่แน่ใจเพราะไม่เคยเห็นในภาษาไทดำคือคำว่า หญัน ผมเข้าใจว่าจะเป็นการดัดแปลงจากคำว่า nhắn ซึ่งแปลว่า "ข้อความ" จากภาษาเวียดนาม  

ที่น่าประหลาดใจคือ ผมเคยเห็นบางส่วนของไบเบิลฉบับภาษาไทดำอักษรไทดำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนในระหว่างที่ทำวิจัยอยู่ในประเทศเวียดนาม แต่เห็นเพียงบางส่วนที่ถูกฉีกมา เพิ่งได้เห็นทั้งเล่มครั้งแรกในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิสคอนซินนี่เอง แต่กลับกลายเป็นว่าหนังสือเพิ่งพิมพ์ในปี 2014  

เป็นไปได้ว่าในการพิมพ์ครั้งก่อน ก็อาจะระบุปีที่ตีพิมพ์ตามปีก่อนหน้านี้ หรือนี่อาจเป็นการพิมพ์โดยปรับปรุงใหม่ เพียงแต่ไม่มีรายละเอียดระบุไว้ หรืออาจจะเป็นการจัดทำโดยผู้จัดทำคนละกลุ่มกัน แต่ที่แน่ๆ คือในฉบับที่ผมเคยเห็นนั้น ใช้ font พิมพ์อักษรในระบบดิจิทัลชุดเดียวกันนี้ ผมจำฟอนต์นี้ได้ดีเพราะตนเองก็ใช้อยู่เสมอมา

 

สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้ภาษาอธิบายเรื่องราวในไบเบิล เมื่อเปิดอ่านดูบางตอนก็พบว่าเข้าใจยากพอสมควร เนื่องจากเมื่อใช้ภาษาไทดำแปลหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ในไบเบิลแล้ว ก็จะชวนให้หวนกลับไปหามโนทัศน์ที่มีในวัฒนธรรมไทดำ เช่น มโนทัศน์เรื่องผี มโนทัศน์เรื่องฟ้า รวมทั้งหลายๆ มโนทัศน์ที่ไม่มีในวัฒนธรรมไทดำเดิม เช่นคำว่า "เทวดา" ในหน้าแรกๆ ของไบเบิลนี้ซึ่งว่าด้วยกำเนิดพระเยซู ("เวน ออก เจ้า เซซู คาลิด") ที่ต้องมีคำอธิบายคำนี้ในเชิงอรรถโดยอิงกับภาษาลาวและภาษาเวียดนาม (ในที่นี้เรียกเป็นภาษาไทดำว่า "แกว") 

หากมีโอกาสได้อ่านมากขึ้นก็คงจะสนุกดีและได้ความรู้แปลกๆ ไม่น้อยในหลายๆ แง่ด้วยกัน ได้แก่ ในแง่ของการศึกษาเรื่องการแปล การถ่ายเทและดัดแปลงทางวัฒนธรรมและภาษา และเรื่องราวเบื้องหลังอื่นๆ อย่างการจัดทำไบเบิลนี้ การเผยแพร่ การเลือกใช้ภาษาและอักษร และการเมืองเรื่องศาสนาทั้งในกลุ่มไทดำเองและในถิ่นฐานของไทดำอย่างในเวียดนาม

นึกดูแล้วก็คิดว่าจะติดต่อขอผู้จัดทำมาไว้ที่ห้องสมุดในประเทศไทยสักชุดหนึ่ง เพื่อจะได้เอาไว้ศึกษากันต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 บ้านเก่าเมืองหลัง เป็นสำนวนของคนไทดำในเวียดนาม เมื่อก่อน พอได้ขึ้นไปเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวไทดำที่เซอนลาแต่ละครั้ง ก็จะถูกพวกคนเฒ่าคนแก่ล้อว่า “เหมือนพวกหลานๆ กลับมาเยี่ยมบ้านเก่าเมืองหลังสินะ” ในความหมายที่ว่า เหมือนผมได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนนั่นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น ก็ห่างหายไปแค่เพียงหลายเดือน หรืออย่างมากก็ในรอบปี