Skip to main content

ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 

แต่มาปีนี้ ผมเองชักจะเบื่อกับการถามเรื่องการเมือง ผมก็เลยละเว้นไม่ถามทัศนะทางการเมือง แล้วไปถามเรื่องบาางเรื่องที่ก็น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน แม้ว่าจะสัมภาษณ์เพียงไม่กี่คน ก็ชวนให้คิดว่ามีอะไรบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง และอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนแปลง 

อย่างแรก สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยคือ หากถามว่าคุณชอบเรียนวิชาอะไร ถ้านักศึกษาตอบว่าชอบวิชาประวัติศาสตร์ ผมก็มักจะถามต่อว่า ประวัติศาสตร์ไทยช่วงไหนที่ประทับใจมากที่สุด เกือบร้อยทั้งร้อยก็มักจะตอบว่า ชอบสมัยอยุธยา สนใจเรื่องการเสียกรุงทั้งสองครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งแรก ชอบสมัยพระนเรศวร 

เมื่อได้คำตอบแบบนี้ ผมก็จะถามต่อว่า แล้วคุณไปสนใจอะไรกับการเสียกรุงทั้งสองครั้ง นักศึกษาก็เริ่มงงว่าผมจะมาไม้ไหน ผมก็เลยถามต่อว่า คุณเป็นญาติกับพระนเรศวรเหรอ ไม่ทันให้นักศึกษาได้คิด ผมก็มักจะยิงคำถามต่อว่า ดูหน้าคุณแล้ว ผมเดาว่าบรรพบุรุษทั้งฝ่ายพ่อและแม่คุณน่าจะมาจากเมืองจีน แล้วทำไมคุณจะไปแคร์อะไรกับการเสียกรุงทั้งสองครั้ง มันไม่ใช่เรื่องของคุณสักหน่อย ไม่ใช่เรื่องของผมด้วย เพราะบรรพบุรุษผมส่วนมากก็มาจากเมืองจีนเช่นกัน 

แล้วผมก็จะฉวยโอกาสที่พวกเขาปฏิเสธไม่ได้สำทับไปว่า นักเรียนไทยและนักศึกษาไทยส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ที่เป็น "ศาสตร์" แต่สนใจประวัติศาสตร์ที่เป็นนิยายหรือนิทานมากกว่า ประวัติศาสตร์ที่เรียนกันส่วนใหญ่เป็นนิทานหลอกเด็กมากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เกี่ยวกับอดีต 

บางอย่างที่ปีนี้มีอะไรใหม่ๆ คือ มีนักเรียนจำนวนอย่างน้อย 30% ของที่ผมสัมภาษณ์นั้นเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีแต่เพียงพ่อหรือแม่ ส่วนใหญ่เป็นแม่มากกว่า โครงสร้างครอบครัวลักษณะนี้อาจจะกำลังกลายเป็นครอบครัวที่ปรากฏจริงมากขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อเกือบสิบปีก่อนที่ผมกลับจากอเมริกา พ่อผมเคยถามว่า ทำไมดูหนังอเมริกันแล้วครอบครัวในหนังมักมีการหย่าร้างแยกทางกัน ผมตอบไม่ได้เพียงแต่มันเป็นข้อเท็จจริงที่สังคมอเมริกันมีครอบครัวหย่าร้างมาก แต่ในขณะนี้ สังคมไทยก็อาจจะมีครอบครัวในลักษณะนั้นมากขึ้นก็ได้ 

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ มีนักศึกษาคนหนึ่ง มาจากภาคอีสาน เขาพูดถึงจังหวัดเขาในน้ำเสียงชื่นชมความเป็นคนท้องถิ่นของเขา เขาไม่ใช่คนในเมือง ต่างกับนักศึกษาจำนวนมากที่แม้อยู่อีสานเหนือหรือใต้แต่ก็ไม่สามารถพูดภาษาถิ่นได้ แต่ที่น่าประหลาดใจคือ เมื่อผมถามนักศึกษาคนนี้ว่า คุณพูดลาวได้ไหม เขารีบตอบสวนกลับมาทันทีว่าเขาพูดอีสานได้ แต่พูดลาวไม่ได้ แล้วเขาก็รีบอธิบายว่า ภาษาอีสานกับภาษาลาวต่างกัน และภาษาอีสานถิ่นต่างๆ ก็ต่างกัน ผมก็เลยสะกิดใจว่า ทำไมเขาจึงต้องรีบปฏิเสธความเป็น "ลาว" ของเขาอย่างร้อนรนขนาดนั้น  

ผมค่อยๆ ตะล่อมถามเขาว่า เวลาคุณเรียกคนภาคกลาง คุณเรียกว่าอะไร เขาตอบว่า ก็คนภาคกลาง ผมถามต่อว่า บางทีคุณเรียกคนภาคกลางว่าคนไทด้วยหรือเปล่า เขาตอบว่า "ใช่ครับ" ผมก็เลยบอกเขาว่า ถ้าอย่างนั้นคุณก็ยังเรียกตัวเองว่า "ลาว" นั่นแหละ ไม่เห็นจะต้องปฏิเสธเลย ไม่เห็นจะเสียหายตรงไหนเลยที่จะเรียกตนเองว่าลาว 

เรื่องนี้ผมว่าน่าแปลก เพราะในสมัยผม ผมเจอเพื่อนคนอีสาน เขาก็ไม่ได้จะต้องปกป้องความเป็นลาวของเขา สงสัยว่าสมัยหลังๆ นี้การเรียกตนเองโดยอิงกับภาคกลางของประเทศไทยด้วยคำว่าอีสานนี้ กลายเป็นบรรทัดฐานในการเรียกตนเองของคนลาวในประเทศไทยไปแล้วหรือย่างไร หรือเมื่อเผชิญหน้ากับคนต่างถิ่น พวกเขาจะพยายามปรับตัวตนของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น มากกว่าจะแสดงความเป็นตนเองออกมาอย่างชัดเจน หรือเพราะตัวตนความเป็นลาวมันถูกทำให้ถดถอยขนาดเจ้าของตัวตนเองยังต้องพยายามลบลืมมัน 

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ปีนี้นักเรียนที่สอบ admission ได้คณะที่ผมสอนมารายงานตัวกันน้อยกว่าเปิดรับจริงถึง 15% ถามเพื่อนๆ อาจารย์บางคณะในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ กลางเมืองกรุงเทพฯ ก็เป็นทำนองเดียวกัน นอกจากนั้น เพื่อนๆ อาจารย์ที่สัมภาษณ์นักเรียนด้วยกันวันนี้ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า ปีนี้มี "เด็กซิ่ว" คือย้ายที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัยอื่นค่อนข้างมาก ผมเองก็มีสัก 20% ได้  

ปรากฏการณ์นี้จะบอกได้หรือไม่ว่า การที่มหาวิทยาลัยไทยเปิดหลักสูตรใหม่ๆ เปิดมากเสียจนนักเรียนนักศึกษาเลือกเรียน เปลี่ยนที่เรียนกันได้มากขึ้นหรืออย่างไร และก็ไม่แน่ใจว่าทางเลือกมากๆ อย่างนี้จะดีต่อสุขภาพจิตนักศึกษาและผู้ปกครองมากขึ้นหรือเปล่า 

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ยิ่งเมื่อเทียบกับยุคสมัยที่ผมเริ่มเรียนมหาวิทยาลัยคือ การที่นักศึกษาใหม่หลายคนลงทะเบียนเรียนนิติศาสตร์หรือสาขาอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกัน ผมสงสัยว่าอาจจะเป็นเพราะ หนึ่ง สาขาวิชาที่เขาสอบแอดมิตชันได้นั้น มักเป็นสาขาวิชาที่ไม่ใช่วิชาชีพ อย่างสาขาที่ผมสอนอยู่ พวกเขาจึงไปเรียนวิชาชีพอย่างนิติศาสตร์เพื่อเป็นหลักประกันอนาคตเขา และสอง แทนที่พวกเขาจะมุ่งไปเรียนนิติศาสตร์รามฯ เลย เขาก็คงเสียดายและอยากเก็บสถานภาพความเป็นคน "สอบติด" มหาวิทยาลัยเอาไว้ แม้ว่ามันจะไม่ใช่สาขาวิชาที่พวกเขาอยากเรียนมากนักก็ตาม 

ไม่ว่าจะอย่างไร ก็ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาใหม่ของปีนี้ ไม่ว่าคุณจะสอบได้ที่ไหน สำหรับคนที่สอบได้ส่วนหนึ่ง แม้ว่าค่าเล่าเรียนในขณะนี้และหลังจากที่มหาวิทยาลัย "ออกนอกระบบ" เป็นดั่งธุรกิจเอกชนมากขึ้น แล้วค่าเรียนจะแพงขึ้น หากแต่การศึกษาที่พวกคุณคนที่สอบติดก็จะยังคงราคาต่ำกว่าคนการศึกษาที่สอบไม่ติดแล้วต้องเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนเต็มตัวอยู่ดี สังคมส่วนที่ "สอบไม่ติด" และส่วนที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนมหาวิทยาลัย ก็จะยังต้องแบกรับภาระภาษีเลี้ยงดูผู้ที่ "สอบติด" ต่อไป คนที่สอบติดก็ควรสำนึกบุญคุณและตอบแทนสังคมคืนบ้างเมื่อมีโอกาส

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ