Skip to main content

ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว

ถึงกระนั้น ผมก็อยากเสนอความเห็นให้พิจารณาถึงจังหวะก้าวและความเข้าใจสถานะความเคลื่อนไหวของพวกคุณสักหน่อย เพื่อที่ว่าพวกคุณจะได้ไม่คิดเพียงว่าย่างก้าวของพวกคุณเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือดำเนินตามโมเดลของขบวนการนักศึกษาในอดีต 

จริงอยู่ที่ย่างก้าวของพวกคุณในขณะนี้คือการแสดงตนเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการใช้อำนาจอย่างอยุติธรรมและไร้ความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร พร้อมกับทั้งเรียกร้องมโนธรรมสำนึกของประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงปัญหาพื้นฐานของการอยู่ใต้ระบอบเผด็จการอย่างในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของพวกคุณในขณะนี้จึงดูละม้ายคล้ายกันกับการเคลื่อนไหวของคณะนักศึกษาในอดีต  

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังหวังว่าพวกคุณจะมองเห็นความแตกต่างอย่างสำคัญของการเคลื่อนไหวในขณะนี้กับการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในอดีต แม้ว่าอำนาจที่พวกคุณนำธงต่อสู้อยู่นั้นจะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จดังในอดีต แต่พวกคุณก็ต้องประเมินโฉมหน้าของเผด็จการในปัจจุบันให้แหลมคมยิ่งขึ้น 

ดังที่มีผู้มากประสบการณ์และเฝ้าประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดคนหนึ่งวิเคราะห์ไว้ถึงเงื่อนไขของการต่อสู้กับเผด็จการในอดีต ผมเห็นด้วยแต่ก็จะไม่กล่าวซ้ำความเห็นนั้น ผมแค่อยากเสนอเพิ่มเติมว่า เผด็จการปัจจุบันอาจมีโฉมหน้าแตกต่างออกไปบ้าง ก็ด้วยเพราะมีผู้สนับสนุนที่มีต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูง ซึ่งก็คือเหล่า "ชนชั้นสูงระดับล่าง" (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า upper middle class) สนับสนุนอยู่อย่างหนาแน่น ผมหวังว่าคุณจะพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อที่ว่าการต่อสู้ของพวกคุณจะเห็นเงื่อนงำที่ยากเย็นเพราะไม่มีทางที่จะหาฉันทานุมัติจากสังคมได้โดยง่าย 

ในอีกด้านหนึ่ง ผมคิดว่าก็ควรพิจารณาเงื่อนไขส่งเสริมใหม่ๆ คือพลังสนับสนุนและพลังความหวังต่อความก้าวหน้าของสังคมที่มีมาจากประชาชนผู้ด้อยเสียง ผู้ไม่ถูกรับรู้ในสังคม พลังในเชิงโครงสร้างที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ของคนกลุ่มนี้ ที่ผมขอเรียกว่า "ชนชั้นใหม่" จะเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่เกินเลยความคาดหวังของเผด็จการ ด้วยเพราะมันสมองของเผด็จการมองข้ามพลังเหล่านี้ พวกเขาจึงประเมินพลังเหล่านี้ต่ำเกินไปกว่าแค่เดินถือปืนข่มขู่ในหมู่บ้านแล้วพวกเขาก็จะเงียบสงบลงเอง เกินไปกว่าแค่มวลชนไร้สำนึกที่ถูกชักจูงล่อหลอกโดยนักการเมือง 

อีกพลังหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขใหม่ซึ่งคณะรัฐประหารครั้งนี้เผชิญอย่างรุนแรงเหนือความคาดหมายเกินกว่าการรัฐประหารครั้งที่แล้ว เป็นพลังที่อำนาจเผด็จการในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนคือ พลังทัดทานจาก "โลกสากล" ที่เรียกว่าโลกสากลเพราะไม่ใช่แค่ลมประชาธิปไตยตะวันตก แต่ทั้งญี่ปุ่น เหาหลีใต้ ไต้หวัน และพลังก้าวหน้าในอาเซียนเอง ก็ทั้งส่งสัญญาณและเฝ้าระวังอยู่อย่างเงียบๆ ว่าการถดถอยลงของก้าวย่างประชาธิปไตยในประเทศไทยจะนำมาซึ่งการกลับมาของพลังอนุรักษ์นิยมในภูมิภาค ที่ผ่านมาผมเห็นพวกคุณเข้าใจและเข้าหาพลังเหล่านี้ได้ดี หากแต่ผมก็ยังอยากเสนอให้พิจารณาว่า พวกคุณจะสานต่อกับพลังทัดทานใหม่ๆ ที่เผด็จการไทยไม่คุ้นเคยมาก่อนเหล่านี้อย่างไร  

แต่ถึงอย่างนั้น ก็อย่างประเมินเผด็จการคณะนี้ต่ำเกินไป อาการ "เลือดเข้าตา" "เสือลำบาก" ก็อาจจะก่อโศกนาฏกรรมโง่ๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วได้ ผมยังหวังว่าความกล้าหาญของพวกคุณจะไม่กลับกลายเป็นความดันทุรัง แม้ว่าจุดสมดุลนี้จะหาได้ยาก แต่ผมก็ยังเชื่อมั่นในวิจารณญาณของพวกคุณว่าจะไม่ตัดปัจจัยความบ้าบอไร้สติของคณะรัฐประหารนี้ออกไปเสีย  

สุดท้าย ผมอยากจะบอกว่า พวกคุณได้จุดไฟของการลุกขึ้นยืนไปอีกก้าวหนึ่ง ผมคิดว่าสังคมก็ไม่ได้อยากจะวางภาระหนักอึ้งนี้ให้พวกคุณเสียสละโดยลำพัง เพียงแต่จังหวะและโอกาสที่สังคมจะสานต่อแปลงพลังนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องแลกด้วยความอดทนของพวกคุณบ้าง ก็หวังว่าพวกคุณจะคิดอ่านอย่างสงบนิ่งและหนักแน่นพอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้