Skip to main content

ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว

ถึงกระนั้น ผมก็อยากเสนอความเห็นให้พิจารณาถึงจังหวะก้าวและความเข้าใจสถานะความเคลื่อนไหวของพวกคุณสักหน่อย เพื่อที่ว่าพวกคุณจะได้ไม่คิดเพียงว่าย่างก้าวของพวกคุณเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือดำเนินตามโมเดลของขบวนการนักศึกษาในอดีต 

จริงอยู่ที่ย่างก้าวของพวกคุณในขณะนี้คือการแสดงตนเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการใช้อำนาจอย่างอยุติธรรมและไร้ความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร พร้อมกับทั้งเรียกร้องมโนธรรมสำนึกของประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงปัญหาพื้นฐานของการอยู่ใต้ระบอบเผด็จการอย่างในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของพวกคุณในขณะนี้จึงดูละม้ายคล้ายกันกับการเคลื่อนไหวของคณะนักศึกษาในอดีต  

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังหวังว่าพวกคุณจะมองเห็นความแตกต่างอย่างสำคัญของการเคลื่อนไหวในขณะนี้กับการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในอดีต แม้ว่าอำนาจที่พวกคุณนำธงต่อสู้อยู่นั้นจะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จดังในอดีต แต่พวกคุณก็ต้องประเมินโฉมหน้าของเผด็จการในปัจจุบันให้แหลมคมยิ่งขึ้น 

ดังที่มีผู้มากประสบการณ์และเฝ้าประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดคนหนึ่งวิเคราะห์ไว้ถึงเงื่อนไขของการต่อสู้กับเผด็จการในอดีต ผมเห็นด้วยแต่ก็จะไม่กล่าวซ้ำความเห็นนั้น ผมแค่อยากเสนอเพิ่มเติมว่า เผด็จการปัจจุบันอาจมีโฉมหน้าแตกต่างออกไปบ้าง ก็ด้วยเพราะมีผู้สนับสนุนที่มีต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูง ซึ่งก็คือเหล่า "ชนชั้นสูงระดับล่าง" (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า upper middle class) สนับสนุนอยู่อย่างหนาแน่น ผมหวังว่าคุณจะพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อที่ว่าการต่อสู้ของพวกคุณจะเห็นเงื่อนงำที่ยากเย็นเพราะไม่มีทางที่จะหาฉันทานุมัติจากสังคมได้โดยง่าย 

ในอีกด้านหนึ่ง ผมคิดว่าก็ควรพิจารณาเงื่อนไขส่งเสริมใหม่ๆ คือพลังสนับสนุนและพลังความหวังต่อความก้าวหน้าของสังคมที่มีมาจากประชาชนผู้ด้อยเสียง ผู้ไม่ถูกรับรู้ในสังคม พลังในเชิงโครงสร้างที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ของคนกลุ่มนี้ ที่ผมขอเรียกว่า "ชนชั้นใหม่" จะเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่เกินเลยความคาดหวังของเผด็จการ ด้วยเพราะมันสมองของเผด็จการมองข้ามพลังเหล่านี้ พวกเขาจึงประเมินพลังเหล่านี้ต่ำเกินไปกว่าแค่เดินถือปืนข่มขู่ในหมู่บ้านแล้วพวกเขาก็จะเงียบสงบลงเอง เกินไปกว่าแค่มวลชนไร้สำนึกที่ถูกชักจูงล่อหลอกโดยนักการเมือง 

อีกพลังหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขใหม่ซึ่งคณะรัฐประหารครั้งนี้เผชิญอย่างรุนแรงเหนือความคาดหมายเกินกว่าการรัฐประหารครั้งที่แล้ว เป็นพลังที่อำนาจเผด็จการในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนคือ พลังทัดทานจาก "โลกสากล" ที่เรียกว่าโลกสากลเพราะไม่ใช่แค่ลมประชาธิปไตยตะวันตก แต่ทั้งญี่ปุ่น เหาหลีใต้ ไต้หวัน และพลังก้าวหน้าในอาเซียนเอง ก็ทั้งส่งสัญญาณและเฝ้าระวังอยู่อย่างเงียบๆ ว่าการถดถอยลงของก้าวย่างประชาธิปไตยในประเทศไทยจะนำมาซึ่งการกลับมาของพลังอนุรักษ์นิยมในภูมิภาค ที่ผ่านมาผมเห็นพวกคุณเข้าใจและเข้าหาพลังเหล่านี้ได้ดี หากแต่ผมก็ยังอยากเสนอให้พิจารณาว่า พวกคุณจะสานต่อกับพลังทัดทานใหม่ๆ ที่เผด็จการไทยไม่คุ้นเคยมาก่อนเหล่านี้อย่างไร  

แต่ถึงอย่างนั้น ก็อย่างประเมินเผด็จการคณะนี้ต่ำเกินไป อาการ "เลือดเข้าตา" "เสือลำบาก" ก็อาจจะก่อโศกนาฏกรรมโง่ๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วได้ ผมยังหวังว่าความกล้าหาญของพวกคุณจะไม่กลับกลายเป็นความดันทุรัง แม้ว่าจุดสมดุลนี้จะหาได้ยาก แต่ผมก็ยังเชื่อมั่นในวิจารณญาณของพวกคุณว่าจะไม่ตัดปัจจัยความบ้าบอไร้สติของคณะรัฐประหารนี้ออกไปเสีย  

สุดท้าย ผมอยากจะบอกว่า พวกคุณได้จุดไฟของการลุกขึ้นยืนไปอีกก้าวหนึ่ง ผมคิดว่าสังคมก็ไม่ได้อยากจะวางภาระหนักอึ้งนี้ให้พวกคุณเสียสละโดยลำพัง เพียงแต่จังหวะและโอกาสที่สังคมจะสานต่อแปลงพลังนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องแลกด้วยความอดทนของพวกคุณบ้าง ก็หวังว่าพวกคุณจะคิดอ่านอย่างสงบนิ่งและหนักแน่นพอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์