Skip to main content

วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการในภาคเช้าที่ผู้จัดเชิญชาวนาจากลพลุรี ชาวปกาเกอญอจากเชียงใหม่ เกษตรกรจากลำปาง เกษตรกรจากบุรีรัมยย์ และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจากกระบี่ แค่ฟังจากลีลาการพูดของแต่ละคนแล้วก็บอกได้เลยว่า แต่ละคนผ่านประสบการณ์การต่อสู้มายาวนาน โชกโชน จนตกผลึกเป็นคำพูดที่ชัดถ้อยชัดคำ ตรงไปตรงมา สะท้อนปัญหาพวกเขาเองโดยละเอียด ไม่อ้อมแอ้มอ้อมค้อมเหมือนอ่านงานวิชาการ  

เหนืออื่นใด ผมทึ่งที่พวกเขาสามารถเล่าความทุกข์ยากของตนเองด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม พวกเขาคงต่อสู้กับอำนาจมายาวนานจนกระทั่งสามารถยิ้มเยาะมันได้ คงมีแต่ความจริงใจกับการต่อสู้ของตนเองกระมังที่ทำให้พวกเขาเข้มแข็งขนาดนี้ หรือเพราะพวกเขาไม่ได้มีทางเลือกมากมาย ไม่ได้ถูกมองเห็นบ่อยนัก พวกเขาก็จึงต้องยืนหยัดและสืบต่อพลังของตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะด้วยรอยยิ้มหรือน้ำตา ผมเองเสียอีกที่แทบจะทนฟังพวกเขาไม่ได้ในหลายๆ ตอน 

หนุ่มบุรีรัมย์เล่าเรื่องการทำกินในที่ดินผืนป่า แล้วถูกไล่จากที่ทำกินและที่อาศัยจนต้องมาอาศัยอยู่ข้างถนน ซึ่งไม่มีที่ทำกินอีกต่อไป แถมเขายังถูกติดตามคุกคามจากทหาร พวกเขาเสียดายกระบวนการต่อรองกับรัฐเรื่องที่ทำกินและที่อยู่อาศัยที่ดำเนินมาเนิ่นนาน แต่กลับต้องหยุดลงและอาจจะต้องถูกล้มล้างไปเลยด้วยอำนาจของคณะรัฐประหาร ด้วยประกาศเพียงไม่กี่ประกาศที่ไม่เข้าใจความซับซ้อนและประวัติความเป็นมาของปัญหาในแต่ละท้องถิ่น 

ผู้นำชาวนาภาคกลางเล่าปัญหาการกดราคาข้าวลงของรัฐบาลนี้ แถมยังการบริหารจัดการน้ำอย่างไร้ประสิทธิภาพ หนุ่มใหญ่จากกระบี่เล่าถึงผลกระทบของโรงไฟไ้าถ่านหินที่จะเกิดขึ้น และยกรายละเอียดยิบย่อยที่ผ่านการศึกษามาอย่างจริงจังว่า การส้รางโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ช่วยประโยชน์อะไรขึ้นมา แถมชาวกระบี่ยังมีข้อเสนอพลังงานทางเลือกที่เพียงพอต่อความต้องการของจังหวัด  

หนุ่มใหญ่ชาวปกาเกอญอกลั่นประสบการณ์การต่อสู้กับรัฐไทยมาหลายสิบปีว่า พวกเขาต่อสู้เพื่อคงวิถีชีวิตแบบพวกเขา ไม่ใช่แค่เพื่อรายได้หรือเพื่อการทำมาหากินทางเศรษฐกิจ เขาคนนี้มีคำคมมากมายให้ผู้ฟังทั้งรู้สึกเจ็บแสบและทึ่งกับระดับการเข้าใจปัญหาของเขา หนึ่งในนั้นคือคำกล่าวที่ว่า "พวกผมไม่ได้บุกรุกป่า พวกคนไทยต่างหากที่มาบุกรุกบ้านผม ที่ผมอยู่มานานก่อนพวกคุณจะมา"  

สาวมากพลังและรอยยิ้มสมาชิก อบต. จากลำปางบอกเล่าการต่อสู้กับความอยุติธรรมลำเอียงของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะทหารในขณะนี้ ที่ไล่พวกเธอออกจากชุมชนที่อยู่มาก่อนการประกาศพื้นที่ป่าสงวน แต่รัฐกลับนำพื้นที่ทำกินของพวกเธอไปให้บริษัทเหมืองแร่ แล้วหลังการรัฐประหาร ทหารยังทำให้พวกเธอกลายเป็นคนผิด ตราหน้าว่าพวกเธอดื้อรั้น เธอประกาศว่า "ยังจะให้พวกเราเสียสละอะไรอีก คุณว่าพวกเราเห็นแก่ตัว แล้วพวกคุณล่ะเห็นแก่เราบ้างหรือเปล่า"  

อย่างไรก็ตาม ระหว่างพวกเขาเองก็มีข้อแตกต่างแฝงอยู่ในท่าทีต่อระบอบการเมืองของพวกเขา ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ฝ่าย  

ฝ่ายหนึ่งได้ข้อสรุปว่า การรัฐประหาร การอยู่ในอำนาจการปกครองของทหาร ปิดกั้นและยังคุกคามการนำเสนอปัญหาของพวกเขา แถมยังล้มล้างกระบวนการแก้ปัญหาชุมชนที่ดำเนินมาเนิ่นนาน อีกฝ่ายหนึ่งสรุปว่า ไม่ว่าจะรัฐบาลเลือกตั้งหรือรัฐบาลทหาร ก็คุกคามความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะผู้มีอำนาจเห็นแก่ประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนอีกฝ่ายสรุปว่า เขาต่อสู้กับรัฐมาเนิ่นนาน เพราะฐานะที่ถูกผลักให้เป็นคนนอก คนที่ถูกลบเลือนของพวกเขา หากแต่พวกเขาไม่เคยต้องถูกคุกคามในการต่อสู้มากเท่าการต่อสู้กับอำนาจรัฐในรัฐบาลนี้ 

นอกจากเปิดหูเปิดตาคนเมืองอย่างผมแล้ว ประโยชน์หนึ่งของงานวันนี้คือการที่ผู้ประสบภัยจากนโยบายเฉพาะหน้าของรัฐบาลนี้ได้มาเล่าปัญหาจากที่ต่างๆ ให้พวกเขาได้รับฟังกันเอง ไม่ใช่เฉพาะจากภาคต่างๆ และจังหวัดต่างๆ แต่พวกเขายังมาจากระบบนิเวศที่แตกต่างกัน จากพื้นเพที่แตกต่างกัน จากการดำรงชีพที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาเจอกันด้วยปัญหาเดียวกัน คือผลกระทบจากการละเมิดสิทธิทำกิน ละเมิดสิทธิการใช้ทรัพยากรของพวกเขา ผมหวังว่าอย่างน้อยพวกเขาน่าจะได้ก่อสำนึกถึงความเป็น "ประชาชน" ที่ถูกกระทำจากนโยบายรัฐในขณะนี้ได้บ้าง 

ขอบคุณ 14 นักศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการทำให้เสียงที่ถูกกักกั้นมานานนับปีได้ถูกเปิดเผยขึ้นมา ขอบคุณประชาชนผู้เดือดร้อนอันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลนี้ทุกคน พวกคุณกล้าหาญมากที่เดินออกมาเป็นแนวหน้าในการแสดงปัญหาและจุดยืนของพวกคุณ มันน่าคับแค้นใจที่การบอกเล่าความเดือดร้อนของประชาชนเอง จะต้องเสี่ยงกับการที่พวกเขาอาจถูกทำให้กลายเป็นอาชญากรต้องอาญาแผ่นดิน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด