Skip to main content

วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการในภาคเช้าที่ผู้จัดเชิญชาวนาจากลพลุรี ชาวปกาเกอญอจากเชียงใหม่ เกษตรกรจากลำปาง เกษตรกรจากบุรีรัมยย์ และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจากกระบี่ แค่ฟังจากลีลาการพูดของแต่ละคนแล้วก็บอกได้เลยว่า แต่ละคนผ่านประสบการณ์การต่อสู้มายาวนาน โชกโชน จนตกผลึกเป็นคำพูดที่ชัดถ้อยชัดคำ ตรงไปตรงมา สะท้อนปัญหาพวกเขาเองโดยละเอียด ไม่อ้อมแอ้มอ้อมค้อมเหมือนอ่านงานวิชาการ  

เหนืออื่นใด ผมทึ่งที่พวกเขาสามารถเล่าความทุกข์ยากของตนเองด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม พวกเขาคงต่อสู้กับอำนาจมายาวนานจนกระทั่งสามารถยิ้มเยาะมันได้ คงมีแต่ความจริงใจกับการต่อสู้ของตนเองกระมังที่ทำให้พวกเขาเข้มแข็งขนาดนี้ หรือเพราะพวกเขาไม่ได้มีทางเลือกมากมาย ไม่ได้ถูกมองเห็นบ่อยนัก พวกเขาก็จึงต้องยืนหยัดและสืบต่อพลังของตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะด้วยรอยยิ้มหรือน้ำตา ผมเองเสียอีกที่แทบจะทนฟังพวกเขาไม่ได้ในหลายๆ ตอน 

หนุ่มบุรีรัมย์เล่าเรื่องการทำกินในที่ดินผืนป่า แล้วถูกไล่จากที่ทำกินและที่อาศัยจนต้องมาอาศัยอยู่ข้างถนน ซึ่งไม่มีที่ทำกินอีกต่อไป แถมเขายังถูกติดตามคุกคามจากทหาร พวกเขาเสียดายกระบวนการต่อรองกับรัฐเรื่องที่ทำกินและที่อยู่อาศัยที่ดำเนินมาเนิ่นนาน แต่กลับต้องหยุดลงและอาจจะต้องถูกล้มล้างไปเลยด้วยอำนาจของคณะรัฐประหาร ด้วยประกาศเพียงไม่กี่ประกาศที่ไม่เข้าใจความซับซ้อนและประวัติความเป็นมาของปัญหาในแต่ละท้องถิ่น 

ผู้นำชาวนาภาคกลางเล่าปัญหาการกดราคาข้าวลงของรัฐบาลนี้ แถมยังการบริหารจัดการน้ำอย่างไร้ประสิทธิภาพ หนุ่มใหญ่จากกระบี่เล่าถึงผลกระทบของโรงไฟไ้าถ่านหินที่จะเกิดขึ้น และยกรายละเอียดยิบย่อยที่ผ่านการศึกษามาอย่างจริงจังว่า การส้รางโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ช่วยประโยชน์อะไรขึ้นมา แถมชาวกระบี่ยังมีข้อเสนอพลังงานทางเลือกที่เพียงพอต่อความต้องการของจังหวัด  

หนุ่มใหญ่ชาวปกาเกอญอกลั่นประสบการณ์การต่อสู้กับรัฐไทยมาหลายสิบปีว่า พวกเขาต่อสู้เพื่อคงวิถีชีวิตแบบพวกเขา ไม่ใช่แค่เพื่อรายได้หรือเพื่อการทำมาหากินทางเศรษฐกิจ เขาคนนี้มีคำคมมากมายให้ผู้ฟังทั้งรู้สึกเจ็บแสบและทึ่งกับระดับการเข้าใจปัญหาของเขา หนึ่งในนั้นคือคำกล่าวที่ว่า "พวกผมไม่ได้บุกรุกป่า พวกคนไทยต่างหากที่มาบุกรุกบ้านผม ที่ผมอยู่มานานก่อนพวกคุณจะมา"  

สาวมากพลังและรอยยิ้มสมาชิก อบต. จากลำปางบอกเล่าการต่อสู้กับความอยุติธรรมลำเอียงของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะทหารในขณะนี้ ที่ไล่พวกเธอออกจากชุมชนที่อยู่มาก่อนการประกาศพื้นที่ป่าสงวน แต่รัฐกลับนำพื้นที่ทำกินของพวกเธอไปให้บริษัทเหมืองแร่ แล้วหลังการรัฐประหาร ทหารยังทำให้พวกเธอกลายเป็นคนผิด ตราหน้าว่าพวกเธอดื้อรั้น เธอประกาศว่า "ยังจะให้พวกเราเสียสละอะไรอีก คุณว่าพวกเราเห็นแก่ตัว แล้วพวกคุณล่ะเห็นแก่เราบ้างหรือเปล่า"  

อย่างไรก็ตาม ระหว่างพวกเขาเองก็มีข้อแตกต่างแฝงอยู่ในท่าทีต่อระบอบการเมืองของพวกเขา ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ฝ่าย  

ฝ่ายหนึ่งได้ข้อสรุปว่า การรัฐประหาร การอยู่ในอำนาจการปกครองของทหาร ปิดกั้นและยังคุกคามการนำเสนอปัญหาของพวกเขา แถมยังล้มล้างกระบวนการแก้ปัญหาชุมชนที่ดำเนินมาเนิ่นนาน อีกฝ่ายหนึ่งสรุปว่า ไม่ว่าจะรัฐบาลเลือกตั้งหรือรัฐบาลทหาร ก็คุกคามความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะผู้มีอำนาจเห็นแก่ประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนอีกฝ่ายสรุปว่า เขาต่อสู้กับรัฐมาเนิ่นนาน เพราะฐานะที่ถูกผลักให้เป็นคนนอก คนที่ถูกลบเลือนของพวกเขา หากแต่พวกเขาไม่เคยต้องถูกคุกคามในการต่อสู้มากเท่าการต่อสู้กับอำนาจรัฐในรัฐบาลนี้ 

นอกจากเปิดหูเปิดตาคนเมืองอย่างผมแล้ว ประโยชน์หนึ่งของงานวันนี้คือการที่ผู้ประสบภัยจากนโยบายเฉพาะหน้าของรัฐบาลนี้ได้มาเล่าปัญหาจากที่ต่างๆ ให้พวกเขาได้รับฟังกันเอง ไม่ใช่เฉพาะจากภาคต่างๆ และจังหวัดต่างๆ แต่พวกเขายังมาจากระบบนิเวศที่แตกต่างกัน จากพื้นเพที่แตกต่างกัน จากการดำรงชีพที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาเจอกันด้วยปัญหาเดียวกัน คือผลกระทบจากการละเมิดสิทธิทำกิน ละเมิดสิทธิการใช้ทรัพยากรของพวกเขา ผมหวังว่าอย่างน้อยพวกเขาน่าจะได้ก่อสำนึกถึงความเป็น "ประชาชน" ที่ถูกกระทำจากนโยบายรัฐในขณะนี้ได้บ้าง 

ขอบคุณ 14 นักศึกษาที่มีส่วนสำคัญในการทำให้เสียงที่ถูกกักกั้นมานานนับปีได้ถูกเปิดเผยขึ้นมา ขอบคุณประชาชนผู้เดือดร้อนอันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลนี้ทุกคน พวกคุณกล้าหาญมากที่เดินออกมาเป็นแนวหน้าในการแสดงปัญหาและจุดยืนของพวกคุณ มันน่าคับแค้นใจที่การบอกเล่าความเดือดร้อนของประชาชนเอง จะต้องเสี่ยงกับการที่พวกเขาอาจถูกทำให้กลายเป็นอาชญากรต้องอาญาแผ่นดิน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย