Skip to main content

นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้

 
1. ถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ นี้แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยกำลังผลักไสให้นักศึกษาต้องแสดงออกนอกกรอบความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีส่วนในการให้การศึกษา อบรมบ่มนักศึกษาเหล่านี้มา ย่อมมีอิทธิพลของปรัชญา ความคิด การแสดงออก ตามแนวทางการให้การศึกษาของมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะเป็นแนวทางที่อาจจะไม่สบจริตของผู้บริหารปัจจุบันก็ตาม มหาวิทยาลัยย่อมมีส่วนรับผิดชอบต่อการแสดงออกของนักศึกษาและอดีตนักศึกษา 
 
ในแง่นี้ มหาวิทยาลัยควรภาคภูมิใจด้วยซ้ำไปว่า ได้ผลิตนักศึกษาให้แสดงออกอย่างสันติ บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงการแสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักศึกษาอาศัยอยู่ กิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้ย่อมสมควรได้รับการชื่นชม และส่งเสริมให้นักศึกษากลุ่มอื่น ๆ แสดงออกให้มากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ
 
2. ถ้อยแถลงเช่นนี้ยิ่งผลักให้นักศึกษาต้องเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยโดยลำพัง แทนที่จะห้ามปรามตักเตือนเจ้าหน้าที่รัฐให้เคารพสิทธิการแสดงออกโดยสันติ และตักเตือนทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงกับประชาชนที่แสดงออกอย่างสันติ มหาวิทยาลัยกลับทักท้วงการแสดงออกอย่างสันติของนักศึกษาธรรมศาสตร์เสียเองราวกับว่าการแสดงออกของนักศึกษาและศิษย์เก่าเป็นความผิดพลาด
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองไม่ใช่หรือที่ให้การศึกษาแก่สังคมไทยว่า การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างโดยสันติ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ควรได้รับการยอมรับและยกย่องส่งเสริม หากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองกลับไม่ยอมรับการแสดงออกเช่นนี้เสียเองและไม่ได้มีท่าทีทักท้วงการคุกคามจำกัดการแสดงออกของเจ้าหน้าที่รัฐเสียเองแล้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยังให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนต่อไปได้อย่างไร
 
3. ถ้อยแถลงนี้มีเนื้อหาแสดงท่าทีเอนเอียงสนับสนุนคณะรัฐประหาร ถ้อยคำไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป ความสมานฉันท์ การปรองดอง ล้วนเป็นถ้อยคำที่มองข้ามปัญหาของกระบวนการทางการเมืองในประเทศไทยขณะนี้ ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่มีแม้กระทั่งเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสันติ 
 
การที่ถ้อยแถลงของมหาวิทยาลัยแสดงท่าทีสนับสนุนคณะรัฐประหาร นอกจากจะไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย การแสดงออกโดยสงบ สันติ และเปิดเผยแล้ว ยังกลับส่อแสดงว่ามหาวิทยาลัยกำลังส่งเสริมการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญในการรัฐประหาร ส่งเสริมการใช้อำนาจกักขังหน่วงเหนี่ยวประชาชนของคณะรัฐประหาร ซึ่งขัดกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมหลักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง
 
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับถ้อยแถลงของฝ่ายการฯ นี้ได้ ถือว่าผู้บริหารกำลังนำมหาวิทยาลัยสู่ความตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง ได้แต่หวังเพียงว่าสาธารณชนจะไม่เข้าใจผิดคิดไปว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังขัดขวางการตรวจสอบการทุจริตอย่างบริสุทธิ์ใจของนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่ง หรือไกลกว่านั้นคือผู้บริหารกำลังปกป้องอำนาจที่ค้ำจุนอำนาจของตนอย่างหน้ามืดตามัว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน