Skip to main content

นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้

 
1. ถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ นี้แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยกำลังผลักไสให้นักศึกษาต้องแสดงออกนอกกรอบความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีส่วนในการให้การศึกษา อบรมบ่มนักศึกษาเหล่านี้มา ย่อมมีอิทธิพลของปรัชญา ความคิด การแสดงออก ตามแนวทางการให้การศึกษาของมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะเป็นแนวทางที่อาจจะไม่สบจริตของผู้บริหารปัจจุบันก็ตาม มหาวิทยาลัยย่อมมีส่วนรับผิดชอบต่อการแสดงออกของนักศึกษาและอดีตนักศึกษา 
 
ในแง่นี้ มหาวิทยาลัยควรภาคภูมิใจด้วยซ้ำไปว่า ได้ผลิตนักศึกษาให้แสดงออกอย่างสันติ บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงการแสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักศึกษาอาศัยอยู่ กิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้ย่อมสมควรได้รับการชื่นชม และส่งเสริมให้นักศึกษากลุ่มอื่น ๆ แสดงออกให้มากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ
 
2. ถ้อยแถลงเช่นนี้ยิ่งผลักให้นักศึกษาต้องเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยโดยลำพัง แทนที่จะห้ามปรามตักเตือนเจ้าหน้าที่รัฐให้เคารพสิทธิการแสดงออกโดยสันติ และตักเตือนทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงกับประชาชนที่แสดงออกอย่างสันติ มหาวิทยาลัยกลับทักท้วงการแสดงออกอย่างสันติของนักศึกษาธรรมศาสตร์เสียเองราวกับว่าการแสดงออกของนักศึกษาและศิษย์เก่าเป็นความผิดพลาด
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองไม่ใช่หรือที่ให้การศึกษาแก่สังคมไทยว่า การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างโดยสันติ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ควรได้รับการยอมรับและยกย่องส่งเสริม หากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองกลับไม่ยอมรับการแสดงออกเช่นนี้เสียเองและไม่ได้มีท่าทีทักท้วงการคุกคามจำกัดการแสดงออกของเจ้าหน้าที่รัฐเสียเองแล้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยังให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนต่อไปได้อย่างไร
 
3. ถ้อยแถลงนี้มีเนื้อหาแสดงท่าทีเอนเอียงสนับสนุนคณะรัฐประหาร ถ้อยคำไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป ความสมานฉันท์ การปรองดอง ล้วนเป็นถ้อยคำที่มองข้ามปัญหาของกระบวนการทางการเมืองในประเทศไทยขณะนี้ ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่มีแม้กระทั่งเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสันติ 
 
การที่ถ้อยแถลงของมหาวิทยาลัยแสดงท่าทีสนับสนุนคณะรัฐประหาร นอกจากจะไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย การแสดงออกโดยสงบ สันติ และเปิดเผยแล้ว ยังกลับส่อแสดงว่ามหาวิทยาลัยกำลังส่งเสริมการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญในการรัฐประหาร ส่งเสริมการใช้อำนาจกักขังหน่วงเหนี่ยวประชาชนของคณะรัฐประหาร ซึ่งขัดกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมหลักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง
 
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับถ้อยแถลงของฝ่ายการฯ นี้ได้ ถือว่าผู้บริหารกำลังนำมหาวิทยาลัยสู่ความตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง ได้แต่หวังเพียงว่าสาธารณชนจะไม่เข้าใจผิดคิดไปว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังขัดขวางการตรวจสอบการทุจริตอย่างบริสุทธิ์ใจของนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่ง หรือไกลกว่านั้นคือผู้บริหารกำลังปกป้องอำนาจที่ค้ำจุนอำนาจของตนอย่างหน้ามืดตามัว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"