Skip to main content

นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้

 
1. ถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ นี้แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยกำลังผลักไสให้นักศึกษาต้องแสดงออกนอกกรอบความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีส่วนในการให้การศึกษา อบรมบ่มนักศึกษาเหล่านี้มา ย่อมมีอิทธิพลของปรัชญา ความคิด การแสดงออก ตามแนวทางการให้การศึกษาของมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะเป็นแนวทางที่อาจจะไม่สบจริตของผู้บริหารปัจจุบันก็ตาม มหาวิทยาลัยย่อมมีส่วนรับผิดชอบต่อการแสดงออกของนักศึกษาและอดีตนักศึกษา 
 
ในแง่นี้ มหาวิทยาลัยควรภาคภูมิใจด้วยซ้ำไปว่า ได้ผลิตนักศึกษาให้แสดงออกอย่างสันติ บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงการแสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักศึกษาอาศัยอยู่ กิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้ย่อมสมควรได้รับการชื่นชม และส่งเสริมให้นักศึกษากลุ่มอื่น ๆ แสดงออกให้มากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ
 
2. ถ้อยแถลงเช่นนี้ยิ่งผลักให้นักศึกษาต้องเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยโดยลำพัง แทนที่จะห้ามปรามตักเตือนเจ้าหน้าที่รัฐให้เคารพสิทธิการแสดงออกโดยสันติ และตักเตือนทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ไม่เห็นด้วยให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงกับประชาชนที่แสดงออกอย่างสันติ มหาวิทยาลัยกลับทักท้วงการแสดงออกอย่างสันติของนักศึกษาธรรมศาสตร์เสียเองราวกับว่าการแสดงออกของนักศึกษาและศิษย์เก่าเป็นความผิดพลาด
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองไม่ใช่หรือที่ให้การศึกษาแก่สังคมไทยว่า การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างโดยสันติ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ควรได้รับการยอมรับและยกย่องส่งเสริม หากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองกลับไม่ยอมรับการแสดงออกเช่นนี้เสียเองและไม่ได้มีท่าทีทักท้วงการคุกคามจำกัดการแสดงออกของเจ้าหน้าที่รัฐเสียเองแล้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยังให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนต่อไปได้อย่างไร
 
3. ถ้อยแถลงนี้มีเนื้อหาแสดงท่าทีเอนเอียงสนับสนุนคณะรัฐประหาร ถ้อยคำไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป ความสมานฉันท์ การปรองดอง ล้วนเป็นถ้อยคำที่มองข้ามปัญหาของกระบวนการทางการเมืองในประเทศไทยขณะนี้ ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่มีแม้กระทั่งเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสันติ 
 
การที่ถ้อยแถลงของมหาวิทยาลัยแสดงท่าทีสนับสนุนคณะรัฐประหาร นอกจากจะไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย การแสดงออกโดยสงบ สันติ และเปิดเผยแล้ว ยังกลับส่อแสดงว่ามหาวิทยาลัยกำลังส่งเสริมการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญในการรัฐประหาร ส่งเสริมการใช้อำนาจกักขังหน่วงเหนี่ยวประชาชนของคณะรัฐประหาร ซึ่งขัดกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมหลักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง
 
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับถ้อยแถลงของฝ่ายการฯ นี้ได้ ถือว่าผู้บริหารกำลังนำมหาวิทยาลัยสู่ความตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง ได้แต่หวังเพียงว่าสาธารณชนจะไม่เข้าใจผิดคิดไปว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังขัดขวางการตรวจสอบการทุจริตอย่างบริสุทธิ์ใจของนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่ง หรือไกลกว่านั้นคือผู้บริหารกำลังปกป้องอำนาจที่ค้ำจุนอำนาจของตนอย่างหน้ามืดตามัว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง