Skip to main content

ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก

ครั้งแรกไปเรื่องหวานแหววมาก "วาเลนไทน์สไตล์นักมานุษยวิทยา" จำได้ว่า เหมือนว่าคุณแขก (คำ ผกา) กะจะชงไปในทางที่ว่า ความรักโรแมนติกมันเป็นเรื่องปั้นแต่งกันมาใหม่ในสังคมแบบตะวันตกสมัยใหม่ แต่นักมานุษยวิทยากลับไปหาประเด็นเจอข้อมูลที่พลิกไปอีกทางว่า ความรักโรแมนติกมันมีความสากลของมันอยู่ https://www.youtube.com/watch?v=HMPnFdM45EU

ส่วนตอนล่าสุด คือแค่ 3 วันก่อนการรัฐประหาร เรื่อง "วิวาทะสันติวิธี" เป็นปี่เป็นขลุ่ยกับคุณแขกวิจารณ์ "นักวิชาการสันติวิธี" ที่มีข้อเสนอไม่สนับสนุนให้ประเทศดินหน้าด้วยการเลือกตั้ง แล้วเสนอทำนองให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ความเห็นที่ผมและคุณแขกในรายการว่า หากทำตามข้อเสนอเหล่านั้นของนักสันติวิธีแล้วแนวโน้มของประเทศต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ได้หนีกับสิ่งที่กำลังแสดงตัวในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยเท่าไรนัก https://www.youtube.com/watch?v=c4Vpesu_pYc

ที่จริงวันเดียวกันนั้น (19 พฤษภาคม 2557) ผมไปอัดเทปอีกรายการของช่อง 9 อสมท. อัดเทปไว้ยาวมาก แต่ออกไปได้เพียงครึ่งเดียว (หา link ไม่เจอแล้ว) อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ออกอากาศเพราะเกิดรัฐประหารไปเสียก่อน หลังอัดรายการวันนั้นก็สังหรณ์ใจเพราะเมื่อเดินออกมาจากห้องอัดตอนเย็น มีการสับเปลี่ยนกำลังทหารมาที่สถานีเต็มไปหมด แล้ววันรุ่งขึ้นก็มีการประกาศกฎอัยการศึก จากนั้นอีกสองวันก็รัฐประหาร แล้วประเทศไทยก็เป็นอย่างทุกวันนี้แหละครับ 

ผมว่ารายการดีวาส์ฯ เป็นรายการที่ตอบโจทย์ของสังคมไทยที่เป็นสังคมเล่าเรื่อง เป็นสังคมมุขปาฐะได้ดี แต่แม้ว่าดีว่าส์ฯ จะนำเสนอในทำนองเดียวกับรายการเล่าข่าวอื่นๆ แต่ดีว่าส์ฯ ก็มีสาระเฉพาะตัวอยู่สูงมาก อาจจะประมวลได้ดังนี้ 

หนึ่ง ดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวที่ไม่ใช่ทำหน้าที่เพียงจับเรื่องราวมาเล่าต่อด้วยการใส่น้ำเสียง เพิ่มอารมณ์ ขายดราม่าต่อจากเนื้อข่าว หากแต่ยังเป็นการสร้างบทวิเคราะห์ต่อจากข่าว ที่จริงจะเรียกว่าดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวก็ไม่ถูกนัก เพราะดีว่าส์ฯ มักเน้นช่วงวิเคราะห์สังคม วิเคราะห์การเมือง วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ จากเรื่องราวที่ปรากฏในปัจจุบัน นี่ทำให้ดีว่าส์ฯ ขยับจากการเป็นรายการข่าวที่นำเสนอข้อมูล ไปสู่การเป็นรายการวิเคราะห์เหตุการณ์ความเป็นไป เป็นการนำเสนอทั้งข้อมูลและมุมมองไปด้วยในตัว ส่วนผู้ชมจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของผู้ชม 

สอง แม้แต่ตัวข่าวเอง ดีว่าส์ฯ ก็มีเนื้อหาข่าวที่แตกต่างจากข่าวของรายการเล่าข่าวของสำนักข่าวอื่นๆ ดีว่าส์ฯ นำเอาความเชี่ยวชาญของพิธีกร ที่แต่ละคนถนัดเรื่องแตกต่างกัน เช่นเรื่องไอที เรื่องแฟชั่น เรื่องท่องเที่ยว เรื่องวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม มาถ่ายทอดในรายการ ดังนั้น "ข่าว" ของดีว่าส์ฯ จึงเป็นข่าวที่มีเนื้อหาแตกต่างจากสำนักข่าวอื่นๆ โดยเฉพาะสำนักข่าวที่เรตติ้งสูงๆ ซึ่งมักเน้นข่าวการเมือง ข่าวความทุกข์ระทมของผู้คนด้อยโอกาส ข่าวอาชญากรรม การที่ข่าวของดีว่าส์ฯ แตกต่างไปทำให้ผู้ชมได้รับรู้เรื่องราวที่หลากหลายไปกว่ารายการเล่าข่าวอื่นๆ  

สาม ลักษณะโดดเด่นของดีว่าส์ฯ อีกประการคือการเน้น "ความเป็นผู้หญิงเก่ง" รายการเล่าข่าวผู้หญิงในระยะเดียวกับดีว่าส์ มีมากมาย หากแต่เรื่องราวที่ผู้หญิงแบบดีว่าส์ฯ นำเสนอนั้น เป็นทั้งผู้หญิงที่เป็นผู้ยิ้งผู้หญิง คือเน้นความ feminine หากแต่ก็เน้นความชาญฉลาดในการคิดวิเคราะห์ ในมุมที่บางทีถูกมองข้ามไปด้วยการมองผ่านสายตาแบบ "ผู้ชาย" หรือแม้แต่เรื่องราวแบบผู้ผญิงอย่างเรื่องแฟชั่น เรื่องความโรแมนติก เรื่องการครองคู่ รายการดีว่าส์ฯ ก็นำเสนอในเชิงคิดวิเคราะห์ให้มากกว่าแค่หยิบเรื่องผู้หญิงๆ มานำเสนอซ้ำให้รู้แค่ว่าเกิดอะไรที่ไหนแบบรายการเล่าข่าวผู้หญิงๆ ทั่วไป 

สี่ ความหรูหราอลังการของดีว่าส์ฯ ตัดขัดกันกับเรื่องราวมากมายที่ดีว่าส์ฯ นำมาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมุมมองที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การต่อสู้กับความด้อยโอกาส การเรียกร้องความเท่าเทียม ความเป็นประชาธิปไตย รวมความแล้วคือเรื่องความเป็นธรรมของสังคม ดีว่าส์ฯ ทำให้เราเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นจะต้องพูดกันในรูปแบบของการใส่เสื้อม่อฮ่อม เอาผ้าขะม้าคล้องคอ ไว้ผมเผ้าหนวดเครารุงรัง แต่ในภาพลักษณ์แบบหรูหรา แต่งหน้าตาจัดจ้าน แต่งตัวเนี๊ยบ neat จัดเต็มด้วยแฟชั่นจากห้องเสื้อชื่อดัง ก็สามารถถกเถียงพูดคุยเรื่องเหล่านี้ได้เช่นกัน  

หลายคนอาจจะคิดว่าภาพลักษณ์ดีว่าส์ฯ ดูขัดกับเรื่องเหล่านี้ แต่ผมกลับคิดว่า คนที่มีชีวิตอยู่ในสังคมหรูหรานั่นแหละ ที่ก็ควรจะรู้จักทำความเข้าใจปัญหาเหล่านี้จากมุมมองที่ละเอียดลึกซึ้ง เกินไปกว่าการคิดแบบสังคมสงเคราะห์โปรยเงิน หรือในอีกทางหนึ่ง ดีว่าส์ฯ กำลังบอกว่า ไม่ใช่มีแต่คนที่มีภาพลักษณ์ดิดดิน ใกล้ชิดชาวบ้านเท่านั้นหรอกนะที่จะจริงจังกับเรื่องความเป็นธรรมของสังคม แต่สังคมระดับไหนๆ ก็เอาใจใส่กับความเป็นธรรมของสังคมได้เช่นกัน 

ดีใจที่ประเทศไทยเคยมีรายการแบบนี้ และเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งไม่รู้อีกเมื่อไหร่หรือคงไม่มีสังคมไทยปกติแบบนั้นอีกแล้ว เราคงจะได้เห็นรายการในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาใหม่อีก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้