Skip to main content

ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก

ครั้งแรกไปเรื่องหวานแหววมาก "วาเลนไทน์สไตล์นักมานุษยวิทยา" จำได้ว่า เหมือนว่าคุณแขก (คำ ผกา) กะจะชงไปในทางที่ว่า ความรักโรแมนติกมันเป็นเรื่องปั้นแต่งกันมาใหม่ในสังคมแบบตะวันตกสมัยใหม่ แต่นักมานุษยวิทยากลับไปหาประเด็นเจอข้อมูลที่พลิกไปอีกทางว่า ความรักโรแมนติกมันมีความสากลของมันอยู่ https://www.youtube.com/watch?v=HMPnFdM45EU

ส่วนตอนล่าสุด คือแค่ 3 วันก่อนการรัฐประหาร เรื่อง "วิวาทะสันติวิธี" เป็นปี่เป็นขลุ่ยกับคุณแขกวิจารณ์ "นักวิชาการสันติวิธี" ที่มีข้อเสนอไม่สนับสนุนให้ประเทศดินหน้าด้วยการเลือกตั้ง แล้วเสนอทำนองให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ความเห็นที่ผมและคุณแขกในรายการว่า หากทำตามข้อเสนอเหล่านั้นของนักสันติวิธีแล้วแนวโน้มของประเทศต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ได้หนีกับสิ่งที่กำลังแสดงตัวในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยเท่าไรนัก https://www.youtube.com/watch?v=c4Vpesu_pYc

ที่จริงวันเดียวกันนั้น (19 พฤษภาคม 2557) ผมไปอัดเทปอีกรายการของช่อง 9 อสมท. อัดเทปไว้ยาวมาก แต่ออกไปได้เพียงครึ่งเดียว (หา link ไม่เจอแล้ว) อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ออกอากาศเพราะเกิดรัฐประหารไปเสียก่อน หลังอัดรายการวันนั้นก็สังหรณ์ใจเพราะเมื่อเดินออกมาจากห้องอัดตอนเย็น มีการสับเปลี่ยนกำลังทหารมาที่สถานีเต็มไปหมด แล้ววันรุ่งขึ้นก็มีการประกาศกฎอัยการศึก จากนั้นอีกสองวันก็รัฐประหาร แล้วประเทศไทยก็เป็นอย่างทุกวันนี้แหละครับ 

ผมว่ารายการดีวาส์ฯ เป็นรายการที่ตอบโจทย์ของสังคมไทยที่เป็นสังคมเล่าเรื่อง เป็นสังคมมุขปาฐะได้ดี แต่แม้ว่าดีว่าส์ฯ จะนำเสนอในทำนองเดียวกับรายการเล่าข่าวอื่นๆ แต่ดีว่าส์ฯ ก็มีสาระเฉพาะตัวอยู่สูงมาก อาจจะประมวลได้ดังนี้ 

หนึ่ง ดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวที่ไม่ใช่ทำหน้าที่เพียงจับเรื่องราวมาเล่าต่อด้วยการใส่น้ำเสียง เพิ่มอารมณ์ ขายดราม่าต่อจากเนื้อข่าว หากแต่ยังเป็นการสร้างบทวิเคราะห์ต่อจากข่าว ที่จริงจะเรียกว่าดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวก็ไม่ถูกนัก เพราะดีว่าส์ฯ มักเน้นช่วงวิเคราะห์สังคม วิเคราะห์การเมือง วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ จากเรื่องราวที่ปรากฏในปัจจุบัน นี่ทำให้ดีว่าส์ฯ ขยับจากการเป็นรายการข่าวที่นำเสนอข้อมูล ไปสู่การเป็นรายการวิเคราะห์เหตุการณ์ความเป็นไป เป็นการนำเสนอทั้งข้อมูลและมุมมองไปด้วยในตัว ส่วนผู้ชมจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของผู้ชม 

สอง แม้แต่ตัวข่าวเอง ดีว่าส์ฯ ก็มีเนื้อหาข่าวที่แตกต่างจากข่าวของรายการเล่าข่าวของสำนักข่าวอื่นๆ ดีว่าส์ฯ นำเอาความเชี่ยวชาญของพิธีกร ที่แต่ละคนถนัดเรื่องแตกต่างกัน เช่นเรื่องไอที เรื่องแฟชั่น เรื่องท่องเที่ยว เรื่องวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม มาถ่ายทอดในรายการ ดังนั้น "ข่าว" ของดีว่าส์ฯ จึงเป็นข่าวที่มีเนื้อหาแตกต่างจากสำนักข่าวอื่นๆ โดยเฉพาะสำนักข่าวที่เรตติ้งสูงๆ ซึ่งมักเน้นข่าวการเมือง ข่าวความทุกข์ระทมของผู้คนด้อยโอกาส ข่าวอาชญากรรม การที่ข่าวของดีว่าส์ฯ แตกต่างไปทำให้ผู้ชมได้รับรู้เรื่องราวที่หลากหลายไปกว่ารายการเล่าข่าวอื่นๆ  

สาม ลักษณะโดดเด่นของดีว่าส์ฯ อีกประการคือการเน้น "ความเป็นผู้หญิงเก่ง" รายการเล่าข่าวผู้หญิงในระยะเดียวกับดีว่าส์ มีมากมาย หากแต่เรื่องราวที่ผู้หญิงแบบดีว่าส์ฯ นำเสนอนั้น เป็นทั้งผู้หญิงที่เป็นผู้ยิ้งผู้หญิง คือเน้นความ feminine หากแต่ก็เน้นความชาญฉลาดในการคิดวิเคราะห์ ในมุมที่บางทีถูกมองข้ามไปด้วยการมองผ่านสายตาแบบ "ผู้ชาย" หรือแม้แต่เรื่องราวแบบผู้ผญิงอย่างเรื่องแฟชั่น เรื่องความโรแมนติก เรื่องการครองคู่ รายการดีว่าส์ฯ ก็นำเสนอในเชิงคิดวิเคราะห์ให้มากกว่าแค่หยิบเรื่องผู้หญิงๆ มานำเสนอซ้ำให้รู้แค่ว่าเกิดอะไรที่ไหนแบบรายการเล่าข่าวผู้หญิงๆ ทั่วไป 

สี่ ความหรูหราอลังการของดีว่าส์ฯ ตัดขัดกันกับเรื่องราวมากมายที่ดีว่าส์ฯ นำมาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมุมมองที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การต่อสู้กับความด้อยโอกาส การเรียกร้องความเท่าเทียม ความเป็นประชาธิปไตย รวมความแล้วคือเรื่องความเป็นธรรมของสังคม ดีว่าส์ฯ ทำให้เราเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นจะต้องพูดกันในรูปแบบของการใส่เสื้อม่อฮ่อม เอาผ้าขะม้าคล้องคอ ไว้ผมเผ้าหนวดเครารุงรัง แต่ในภาพลักษณ์แบบหรูหรา แต่งหน้าตาจัดจ้าน แต่งตัวเนี๊ยบ neat จัดเต็มด้วยแฟชั่นจากห้องเสื้อชื่อดัง ก็สามารถถกเถียงพูดคุยเรื่องเหล่านี้ได้เช่นกัน  

หลายคนอาจจะคิดว่าภาพลักษณ์ดีว่าส์ฯ ดูขัดกับเรื่องเหล่านี้ แต่ผมกลับคิดว่า คนที่มีชีวิตอยู่ในสังคมหรูหรานั่นแหละ ที่ก็ควรจะรู้จักทำความเข้าใจปัญหาเหล่านี้จากมุมมองที่ละเอียดลึกซึ้ง เกินไปกว่าการคิดแบบสังคมสงเคราะห์โปรยเงิน หรือในอีกทางหนึ่ง ดีว่าส์ฯ กำลังบอกว่า ไม่ใช่มีแต่คนที่มีภาพลักษณ์ดิดดิน ใกล้ชิดชาวบ้านเท่านั้นหรอกนะที่จะจริงจังกับเรื่องความเป็นธรรมของสังคม แต่สังคมระดับไหนๆ ก็เอาใจใส่กับความเป็นธรรมของสังคมได้เช่นกัน 

ดีใจที่ประเทศไทยเคยมีรายการแบบนี้ และเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งไม่รู้อีกเมื่อไหร่หรือคงไม่มีสังคมไทยปกติแบบนั้นอีกแล้ว เราคงจะได้เห็นรายการในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาใหม่อีก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้