Skip to main content

วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต

 

 

เส้นทางเข้าฮานอยจากเอียนบ๋ายต้องผ่านเมืองสำคัญชื่อ เหวียด จี่ (Việt Trì) เมืองนี้เป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำใหญ่สามสายในภาคเหนือของเวียดนาม คือแม่น้ำโล แม่น้ำแดง และแม่น้ำดำ เท่าที่ผมจะรู้ได้ขณะนี้ บริเวณนี้เป็นดินแดนที่ทั้งคนไตและคนเวียดเชื่อว่าคือแหล่งกำเนิดของชนชาติตน

ตำนานของชาวไตดำบันทึกไว้ใน "เล่าความเมือง" ซึ่งปรากฏในพงศาวดารล้านช้างเช่นกันว่า

ก่เป็นดินเป็นหญ้า ก่เป็นฟ้าเท่าถวงเห็ด

ก่เป็นดินเจ็ดก้อน ก่เป็นหินสามเส้า

น้ำเก้าแคว ปากแต๊ตาว

คนถอดภาษาจากตำนานนี้เป็นภาษาไทยสยามคงไม่เข้าใจว่า ่ หมายถึง ่อ ไม่ใช่ ก็ แต่ก็ช่างเถอะ คนสยามสักกี่คนกันที่จะใส่ใจอะไรนักหนาเกี่ยวกับอักษรและภาษาของคนสิบสองจุไท แค่อยากเหมาเอาดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนของสยามก็พอแล้ว

"ปากแต๊ตาว" ก็คือที่บรรจบกันของแม่น้ำดำ ที่คนไตเรียกว่าน้ำแต๊ และแม่น้ำแดง ที่คนไตเรียกว่าน้ำตาว ณ จุดนี้บันทึก "เล่าความเมือง" ของไตดำเขียนไว้ว่า แถนให้ท้าวสวงท้าวเงินจากเมืองโอมเมืองอาย นำน้ำเต้าปุงมาแล้วจ่ายไปยังที่ต่าง ๆ จากนั้นผู้คนและสัตว์ก็หลั่งไหลกันออกมาจากน้ำเต้า แล้วคนไตก็ตั้งบ้านเมืองแห่งแรกที่เมืองลอ ห่างจาก "ปากแต๊ตาว" ไปสัก 70 กิโลเมตร

 

 

ส่วนคนเวียด บริเวณนี้มีตำนาน หลาก ลองม์ เควิน และ เอิว เกอ (Lạc Long Quân và Âu Cơ) คือเทพมังกรทะเลและเทพีแห่งภูเขา หลากลองม์เควินเป็นลูกชายของกษัตริย์หุ่งม์ (Hùng Vương ที่คนเวียดเชื่อว่าเป็น "ปฐมกษัตริย์" ของเวียดนามตั้งแต่เกือบ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล) ทั้งสองพบรักและมีลูกด้วยกันเป็นไข่ร้อยฟอง แล้วไข่ก็แตกออกมาเป็นเด็ก ภายหลังทั้งคู่อยู่ด้วยกันไม่ได้เพราะธรรมชาติต่างกัน จึงแยกทางกัน เด็ก 50 คนอยู่ที่สูง อีก 50 คนตามพ่อมาอาศัยบนที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ตำนานกษัตริย์หุ่งม์และเรื่องไข่ร้อยฟองนำมาสู่การสร้างศาลบูชากษัตริย์หุ่งม์ ณ บริเวณแห่งนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 10

 

 

ผมเพิ่งเคยมาที่นี่เป็นครั้งแรก เดิมทีคิดว่าเป็นเพียงศาลขนาดใหญ่สักแห่ง แต่ที่จริงเป็นกลุ่มศาลเจ้าขนาดใหญ่กระจายตัวบนเนินเขาที่ต้องใช้เวลาสัก 3-4 ชั่วโมงจึงจะเดินทางไปได้ทั่ว นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมข้อมูลและจัดแสดงโบราณวัตถุต่างยุคที่ขุดพบในบริเวณนี้จำนวนมาก ทั้งหมดช่วยให้เข้าใจเวียดนามเหนือก่อนอิทธิพลจีนได้มากทีเดียว

 

 

ตามบันทึกของเวียดนาม กษัตริย์ตระกูลหุ่มครองเวียดนามเหนือมาจนถึงราว 250 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นมีกษัตริย์ อาน เซือง เวือง (An Dương Vương) ที่โค่นอำนาจพวกหุ่งม์แล้วตั้งเมืองที่มีศูนย์กลางขนาดใหญ่พอสมควรอยู่ทางตะวันตกของฮานอยในอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำแดง บริเวณนี้เรียกว่า โก่ ลวา (Cổ Lao) เมืองโบราณที่นับกันว่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกยุคเดียวกัน อานเซืองเวืองครองอำนาจระยะสั้นเพียงไม่ถึงร้อยปีแล้วอิทธิพลจีนก็เริ่มเข้าครอบงำเวียดนามมาจนอีกกว่า 1,000 ปีเวียดนามจึงเป็นอิสระจากอำนาจจีนอย่างชัดเจนในศตวรรษที่ 11

 

ผมไม่เคยไปโก่ลวามาก่อน เมื่อวาน (19 มีนาคม) จึงถือโอกาสเดินทางไป การเดินทางเดี๋ยวนี้สะดวก มีรถเมล์จากฮานอยต่อเดียวถึงปากทางเข้าโก่ลวาเลย เดินจากป้ายรถอีกสัก 200 เมตรก็ถึงที่

 

 

ปัจจุบันที่นี่เป็นศาลเจ้าอีกนั่นแหละ เป็นศาลบูชาอานเซืองเวือง ปากทางเข้ามีพิพิธภัณฑ์ขนาดพอสมควร แสดงหลักฐานโบราณคดีเกี่ยวกับที่นี่ ก็ช่วยให้เข้าใจอะไรได้พอสมควร โก่ลวามีคันดินและคูน้ำหลายชั้น ที่จริงถนนที่ชื่อเดียวกับสถานที่นี้เองก็เป็นคันดินชั้นหนึ่งของเมืองนี้ แต่เมื่อดูลักษณะการตั้งเมืองแล้ว ก็ทำให้ผมคิดถึงเมืองในลักษณะและอายุเดียวกันในภาคอีสานของไทย หากแต่เมืองนี้มีคันดินที่ซ้อน ๆ กันหลายอัน

 

 

การได้ไปเยือนพื้นที่เมืองโบราณทั้งสองแห่งช่วยให้ผมปะติดปะต่อเรื่องราวได้อีกมากมาย

ข้อหนึ่งคือ เวียดนามก่อนอิทธิพลจีนแสดงตัวชัดเจนในพื้นที่ทั้งสอง ที่น่าสนใจคือ คนเวียดเองมีสำนึกประวัคิศาสตร์ว่ากลุ่มตนอาศัยในที่ลุ่มแม่น้ำแดงอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มีมรดกความทรงจำจากทางเหนือขึ้นไปเลย ความทรงจำนี้แตกต่างจากชาวไต ไม่ว่าจะพวกไตดำ ไตขาว หรือ "ไตแดง" ที่ต่างก็สำนึกถึงการเดินทางลงใต้จากตอนใต้ของจีนอย่างชัดเจน เข่น ตำนานไตดำเล่าว่าท้าวสวงท้าวเงินลูกแถนนำน้ำเต้าลงมายังโลก แล้วเดินทางมาจากทางตอนใต้ของจีนจนมาทิ้งน้ำเต้าไว้ที่ปากแต๊ตาวและเมืองลอ ส่วนไตขาวก็มักเล่าว่าบรรพบุรุษมีถิ่นฐานอยู่ในเมืองจีน พวกไตแดงที่เมืองมุนก็เล่าว่าพี่น้องสามคนเดินทางจากชายแดนจีน-เวียดนามมาสร้างบ้านเมืองที่เมืองสาง เมืองมุน และเมืองคอง

ข้อต่อมา การที่พื้นที่นี้เป็นตำนานร่วมกันของคนอย่างน้อยสองกลุ่มคือพวกเวียดกับพวกไตนั้น สอดคล้องกับข้อเสนอของนักภาษาศาสตร์ที่ ส่วนหลักฐานทางโบราณคดีนั่น อันที่จริงก็บอกไม่ได้ว่าคนที่อยู่ที่นี่เดิมมีสำนึกชาติพันธ์ุอย่างไร เป็นคนกลุ่มไหน แต่จากหลักฐานทางภาษา บันทึกโบราณที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน และชื่อสถานที่บริเวณนี้ชี้ว่า ภาษาที่ใช้ในบริเวณนี้มีทั้งตระกูลไต ตระกูลจีน และตระกูลออสโตรเอเชียติก จึงน่าเชื่อว่า ทั้งกษัตริย์หุ่งม์และอานเซืองเวืองอาจเป็นได้ทั้งเวียด ไต และคนกลุ่มอื่น

ทั้งสองข้อนั้นช่วยเสริมประวัติศาสตร์ชาตินิยมเวียดนามได้เป็นอย่างดีด้วย นั่นคือการที่คนหลายกลุ่มมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ทำให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์ทางการของเวียดนามสามารถรวบเอาชนกลุ่มต่าง ๆ มาร่วมอดีตและพื้นที่กันได้ ส่วนการที่เวียดนามมีบ้านเมืองอยู่ก่อนการเข้ามาของอิทธิพลจีนอย่างแน่นหนา ทำให้เวียดนามปกป้องและมีส่วนร่วมกับความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าจีน ตำนานไข่ร้อยฟองที่ส่งต่อมาจากอดีตที่หาต้นตอไม่เจอจึงยังคงทรงพลังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยของการสร้างชาติในทุกวันนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้