Skip to main content

รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 

เซเล็บหลายคนชอบโพสต์ข้อความหล่อๆ อย่างหล่อลอยๆ ก็เช่นแปะข่าวที่มีข้อถกเถียงแล้วเขียนว่า "อีกมุมมองหนึ่ง" ดูไปเขาก็เห็นด้วยกับข้อความนั้นนั่นแหละ แต่กลัวไม่หล่อ กลัวเสียสาวก กลัวเสียแม่ยก กลัวเรียกน้ำลายไม่ได้ กลัวเสีย Like ก็เลยทำได้แค่แหย่ๆ สงวนท่าที ประทังความหล่อของตัวเองไว้  

ยังไงหล่อแบบนั้นก็ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่าหล่อไม่รับผิดชอบ คือหล่อแบบเอาทุกทาง หล่อแบบรักทุกคน หล่อแบบไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจน หล่อแบบรักษาตัวรอดเสมอ หล่อแบบอยู่ทุกฝ่าย หล่อแบบ "ที่คุณว่าก็ดีนะ แต่ที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาพูดก็ต้องพิจารณา" ไม่ก็ "อย่าเอาผมไปอยู่ข้างคุณเลย" "ฉันถูกนับเป็นทุกฝ่ายแหละ" 

คือหล่อแบบกลัวเสียสาวกน่ะ อย่างน้อยเราก็พอเดาได้ว่ามีความคิดไปทางไหนบ้าง แต่เขากลัวๆ กล้าๆ ก็เลยไม่ยืนยันจริงๆ จังๆ ว่า ตกลงคิดยังไงแน่ ซึ่งบางทีก็ทำให้คนเขาตีความกันวุ่น ชุลมุนกันไปหมด ทำเอาสาวกงงหลายตลบ เดินตามไม่ถูก เอาใจไม่ทัน  

ความหล่อที่ผมว่าเลวร้ายยิ่งกว่าคือ การเป็นนักวิชาการหล่อๆ หล่อแบบทำตัวอยู่เหนือสถานการณ์ หล่อแบบวิจารณ์ทุกฝ่าย วิธีหล่อแบบนี้คือการแสดงว่าตัวเองมองโลกจากเบื้องบน มองลงมาเห็นหมด เห็นทุกแนวโน้มทุกมุมมอง แล้วก็เปล่งวาจาว่า "หึหึ อย่าทะเลาะกันเลย พวกสูผิดหมดนั่นแหละ" "หรือถ้าเป็นพวกไม่เสนอทางออกก็จะออกแนวว่า "รักกันไว้ดีกว่า" "เก็บแรงไว้ไปทำงานวิชาการเถอะ"  

แต่พวกนักวิชาการหล่อจะพิศดารยิ่งกว่านั้น หล่อวิชาการจะแอบซ่อนความเห็นของตนเองไว้ในท่าทีที่ยอกย้อนพิสดาร แต่อย่างน้อยหากใครจะหล่อด้วยการหลบท่าทีตนเองในข้อเขียนที่พิศดาร ผมก็ยังคิดว่าถ้าอ่านเขาออกแล้ว เขาก็ยังมีทิศทางที่ชัดเจน อ่านได้ หาเจอได้ในที่สุด ก็ยังดีกว่าอีกพวกคือหล่อนักวิชาการที่เน้นประคองตัวเหนือสถานการณ์อย่างเดียว 

นักวิชาการที่หล่อเหนือโลกสุดๆ น่ะ เขาจะหล่อด้วยการเขียนอะไรด้วยความคิดยากๆ ยากจนต้องตีความไปตีความมา จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าตกลงกำลังพูดอะไรแน่ นั่นคือหล่อแบบทำตัวดูฉลาดเหนือโลกจนไม่ไปทางไหนสักทาง เป็นหล่อถนอมน้ำใจ หล่อบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น หล่ออ้อมๆ แอ้มๆ หล่ออ้อมไปอ้อมมาจนคนที่จะต้องถูกวิจารณ์กลับเข้าใจว่ากำลังชมเขาไปเลย 

หล่อแบบนี้มีมากเหมือนกัน หล่อแบบนี้ทำให้หากินได้หลายแวดวง หล่อแบบนี้อาจมีท่าทีสำคัญบางอย่างที่เขาไม่ประนีประนอมด้วยหรอก แต่เมื่อเขาถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงท่าทีกับอะไรบางอย่างที่อาจจะกระทบกับสาวกหรือเครือข่ายที่เขาบูชาแล้ว เขาจะหลบความชัดเจนอยู่หลังความหล่อเหลือโลก 

ผมเองก็เคยอยากหล่อ อยากมีสาวกมากมาย อยากอยู่เหนือสถานการณ์ เหนือกาลเวลา แต่เมื่อพบว่าไม่ว่าจะพยายามหล่อขนาดไหน มันก็ไม่พ้นว่าจะต้องเป็นแบบใดอยู่ดี จะต้องเกลือกกลั้วทางใดทางหนึ่งอยู่ดี ผมก็เลยเลิกอยากหล่อ  

นักเขียน-นักวิชาการหลายคนขณะนี้ก็หล่อน้อยลง บางคนก็เลิกหล่อไปเลย แต่บางคนยังหล่ออยู่ในหลายๆ แบบข้างต้น บางคนเพิ่งเห่อความหล่อ ไม่ก็ยังหลงคิดว่าตัวเองหล่ออยู่ แต่ถ้าถ้าจะเลือกไม่หล่อ ก็ขออย่าให้กลายเป็นพวกเกรียนจนเที่ยวไล่บี้ bully ใครต่อใครก็พอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์