Skip to main content

ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ

  

ญี่ปุ่นเป็นเมืองที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงก็น่าสนใจ คงเพราะโลกของการใช้ภาษาญี่ปุ่นใหญ่พอที่จะไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษให้ดีนักก็ก้าวหน้าทางการงานได้ เดาเอาน่ะนะครับ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผมเจอคนญี่ปุ่นหลายคนที่เขียนภาษาอังกฤษดีมาก แต่พูดไม่ได้เลย ฟังบางคนยังพอฟังได้ แต่บางคนฟังก็แทบจะไม่ได้เลย แต่เขียนได้ได้ดีมาก การเขียนภาษาอังกฤษได้ดีคงเพียงพอแล้วกระมัง

 

แต่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และในภาควิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตนี่แตกต่างจากที่อื่น ผู้บริหารที่ศูนย์เองคุยว่านักวิชาการที่ทำงานและที่เกี่ยวข้องศูนย์นี้น่ะ พูดกันได้หลายภาษามากกว่าหลายๆ ที่ในญี่ปุ่น ที่จริงบรรยากาศแบบนี้ก็มีในบางที่ในอเมริกาเหมือนกัน และที่อื่นๆ ในโลกเช่นกัน แต่ต้องเป็นที่ที่มีภาษาสอนหลายภาษา

 

แน่นอนว่าเมื่อมีการเสนองานวิชาการ ภาษาสำหรับการสื่อสารก็เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาในการแลกเปลี่ยนสนทนานอกเวลานำเสนอผลงาน อย่างในห้องทำงานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านเหล้าล่ะก็ อยากพูดภาษาอะไรก็พูดกันไปเถอะ แต่ผมว่าบรรยากาศร้านเหล้านี่แหละที่จะยิ่งทำให้คนพูดกันหลายภาษา เพราะคนอยากแลกเปลี่ยนกันแบบสบายๆ บางทีภาษาอังกฤษก็เป็นอุปสรรคสำหรับนักวิชาการญี่ปุ่นจำนวนมากเช่นกัน

 

บางวันผมไปนั่งกินเหล้ากับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่น ที่กลุ่มคนพูดภาษาเวียดนาม อีกคนพูดภาษาไทย ทั้งสองคนไม่ถนัดพูดภาษาอังกฤษ กับอีกคนที่พูดสองภาษานี้ไม่ได้เลย หันข้างนึงก็พูดภาษาเวียด หันมาอีกข้างก็พูดภาษาไทย หันไปอีกข้างก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ นี่ถ้าพูดญี่ปุ่นได้ด้วยคงยิ่งสนุกกว่านี้อีก หรือไม่ก็คือทุกคนพูดญี่ปุ่นหมดมีผมคนเดียวที่พูดภาษาต่างประเทศ

 

เมื่อวาน (27 พฤษภาคม 2559) ไปดูหนังเวียดนามเรื่องหนึ่งกับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่นที่ศึกษาเวียดนาม กลุ่มที่มาดูก็แน่นอนว่าเป็นพวกที่รู้ภาษาเวียดนาม ไม่รู้มากก็ต้องรู้บ้าง แต่หนังมีซับไทเทิลภาษาญี่ปุ่น ดูหนังจบมีการบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งผมไม่รู้เรื่อง แต่ก็นั่งอยู่จนจบ เพราะหลังจากนั้นจะมีกิจกรรมทางวิชาการที่ผมถือว่าสำคัญ คือการที่พวกอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท-เอกก็ไปกินข้าวด้วยกัน  

 

ตามปกติของวัฒนธรรมทางวิชาการที่นี่ งานเสวนาวิชาการก็มักจะจัดเย็นๆ เสร็จแล้วจะให้สมบูรณ์ก็ต้องจบลงที่การไปดื่ม-กินด้วยกันอย่างนี้แหละ หากขยันไปเข้าร่วมสัมมนาซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีไม่ต่ำกว่า 2 งาน ไม่มากก็น้อยก็จะต้องติดสอยห้อยตามกันไปดื่ม-กินหลังงานเสวนาวิชาการ ซึ่งก็จะเหนื่อยไม่น้อย

 

คืนวานหลังดูหนัง ผมสนุกมากที่ได้พูดคุยภาษาเวียดนามเหมือนกับอยู่ที่เวียดนามเลย บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลของคนที่ศึกษาเวียดนามพื้นที่ต่างๆ และเรียนรู้จากนักวิชาการเวียดนามเอง เป็นไปอย่างครึกครื้น  

 

ที่สนุกอีกอย่างคือ นอกจากจะแลกเปลี่ยนกันเป็นภาษาเวียดนามเป็นส่วนใหญ่แล้ว นักศึกษาชาวเวียดที่มาเรียนที่นี่ที่เจอกันเมื่อวานน่ะ เธอมาจากเวียดนามภาคกลาง เสียงภาษาเวียดเธอก็เลยมีสำเนียงภาคกลาง ฟังรื่นหูไปอีกแบบ ได้บรรยากาศแบบไม่ค่อยฮานอยนัก งานวิจัยของเธอก็น่าสนใจ เธอศึกษาเรื่องการคลอดลูกของชาวม้งที่จังหวัด Hà Giang (ห่าซาง) เธอก็ไปเรียนภาษาม้งด้วยเพราะคนม้งที่นั่นแทบไม่พูดภาษาเวียด แล้วพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ซึ่งผมเคยเดินทางไปเยือนมาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็จึงแลกเปลี่ยนกันถามไถ่ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมกี่มากน้อย

 

ความบันเทิงอีกอย่างของเมื่อคืนวานคือ นักศึกษาคนนี้มีลูกสาวอายุ 6 ขวบ ตอนนี้มาอยู่ด้วยกันที่ญี่ปุ่น เด็กคนนี้อยู่มาแค่ปีเดียวก็พูดได้ทั้งภาษาเวียดและภาษาญี่ปุ่นอย่างคล่องแคล่ว แม่เธอบอกว่าลูกสาวพูดภาษาอังกฤษด้วย แต่ยังไม่ได้ลองคุยด้วยว่าพูดไ้ด้ดีแค่ไหน คือในบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ ลูกคนเหล่านี้ก็มักพูดกันหลายภาษาไปด้วย  

 

ไม่มีอะไรมากครับ แค่เล่าสู่กันฟังเพราะอยากให้มีบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ในประเทศไทยบ้าง มหาวิทยาลัยไทยมีหลายแห่งที่จัดสอนภาษาต่างๆ แต่จะมีสักกี่มากน้อยที่สร้างบรรยากาศทางวิชาการที่แลกเปลี่ยนกันด้วยภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแบบนี้ แล้วบรรยากาศวิชาการนอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนา ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น เพราะความสัมพันธ์ศิษย์อาจารย์ของไทยน่ะดูห่างเหินแข็งทื่อยิ่งกว่าระบบอาวุโสที่ดูเคร่งครัดแต่สนิทสนมกันแบบญี่ปุ่น

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ