Skip to main content

ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ

  

ญี่ปุ่นเป็นเมืองที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงก็น่าสนใจ คงเพราะโลกของการใช้ภาษาญี่ปุ่นใหญ่พอที่จะไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษให้ดีนักก็ก้าวหน้าทางการงานได้ เดาเอาน่ะนะครับ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผมเจอคนญี่ปุ่นหลายคนที่เขียนภาษาอังกฤษดีมาก แต่พูดไม่ได้เลย ฟังบางคนยังพอฟังได้ แต่บางคนฟังก็แทบจะไม่ได้เลย แต่เขียนได้ได้ดีมาก การเขียนภาษาอังกฤษได้ดีคงเพียงพอแล้วกระมัง

 

แต่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และในภาควิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตนี่แตกต่างจากที่อื่น ผู้บริหารที่ศูนย์เองคุยว่านักวิชาการที่ทำงานและที่เกี่ยวข้องศูนย์นี้น่ะ พูดกันได้หลายภาษามากกว่าหลายๆ ที่ในญี่ปุ่น ที่จริงบรรยากาศแบบนี้ก็มีในบางที่ในอเมริกาเหมือนกัน และที่อื่นๆ ในโลกเช่นกัน แต่ต้องเป็นที่ที่มีภาษาสอนหลายภาษา

 

แน่นอนว่าเมื่อมีการเสนองานวิชาการ ภาษาสำหรับการสื่อสารก็เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาในการแลกเปลี่ยนสนทนานอกเวลานำเสนอผลงาน อย่างในห้องทำงานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านเหล้าล่ะก็ อยากพูดภาษาอะไรก็พูดกันไปเถอะ แต่ผมว่าบรรยากาศร้านเหล้านี่แหละที่จะยิ่งทำให้คนพูดกันหลายภาษา เพราะคนอยากแลกเปลี่ยนกันแบบสบายๆ บางทีภาษาอังกฤษก็เป็นอุปสรรคสำหรับนักวิชาการญี่ปุ่นจำนวนมากเช่นกัน

 

บางวันผมไปนั่งกินเหล้ากับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่น ที่กลุ่มคนพูดภาษาเวียดนาม อีกคนพูดภาษาไทย ทั้งสองคนไม่ถนัดพูดภาษาอังกฤษ กับอีกคนที่พูดสองภาษานี้ไม่ได้เลย หันข้างนึงก็พูดภาษาเวียด หันมาอีกข้างก็พูดภาษาไทย หันไปอีกข้างก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ นี่ถ้าพูดญี่ปุ่นได้ด้วยคงยิ่งสนุกกว่านี้อีก หรือไม่ก็คือทุกคนพูดญี่ปุ่นหมดมีผมคนเดียวที่พูดภาษาต่างประเทศ

 

เมื่อวาน (27 พฤษภาคม 2559) ไปดูหนังเวียดนามเรื่องหนึ่งกับกลุ่มนักวิชาการญี่ปุ่นที่ศึกษาเวียดนาม กลุ่มที่มาดูก็แน่นอนว่าเป็นพวกที่รู้ภาษาเวียดนาม ไม่รู้มากก็ต้องรู้บ้าง แต่หนังมีซับไทเทิลภาษาญี่ปุ่น ดูหนังจบมีการบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งผมไม่รู้เรื่อง แต่ก็นั่งอยู่จนจบ เพราะหลังจากนั้นจะมีกิจกรรมทางวิชาการที่ผมถือว่าสำคัญ คือการที่พวกอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท-เอกก็ไปกินข้าวด้วยกัน  

 

ตามปกติของวัฒนธรรมทางวิชาการที่นี่ งานเสวนาวิชาการก็มักจะจัดเย็นๆ เสร็จแล้วจะให้สมบูรณ์ก็ต้องจบลงที่การไปดื่ม-กินด้วยกันอย่างนี้แหละ หากขยันไปเข้าร่วมสัมมนาซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีไม่ต่ำกว่า 2 งาน ไม่มากก็น้อยก็จะต้องติดสอยห้อยตามกันไปดื่ม-กินหลังงานเสวนาวิชาการ ซึ่งก็จะเหนื่อยไม่น้อย

 

คืนวานหลังดูหนัง ผมสนุกมากที่ได้พูดคุยภาษาเวียดนามเหมือนกับอยู่ที่เวียดนามเลย บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลของคนที่ศึกษาเวียดนามพื้นที่ต่างๆ และเรียนรู้จากนักวิชาการเวียดนามเอง เป็นไปอย่างครึกครื้น  

 

ที่สนุกอีกอย่างคือ นอกจากจะแลกเปลี่ยนกันเป็นภาษาเวียดนามเป็นส่วนใหญ่แล้ว นักศึกษาชาวเวียดที่มาเรียนที่นี่ที่เจอกันเมื่อวานน่ะ เธอมาจากเวียดนามภาคกลาง เสียงภาษาเวียดเธอก็เลยมีสำเนียงภาคกลาง ฟังรื่นหูไปอีกแบบ ได้บรรยากาศแบบไม่ค่อยฮานอยนัก งานวิจัยของเธอก็น่าสนใจ เธอศึกษาเรื่องการคลอดลูกของชาวม้งที่จังหวัด Hà Giang (ห่าซาง) เธอก็ไปเรียนภาษาม้งด้วยเพราะคนม้งที่นั่นแทบไม่พูดภาษาเวียด แล้วพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ซึ่งผมเคยเดินทางไปเยือนมาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็จึงแลกเปลี่ยนกันถามไถ่ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมกี่มากน้อย

 

ความบันเทิงอีกอย่างของเมื่อคืนวานคือ นักศึกษาคนนี้มีลูกสาวอายุ 6 ขวบ ตอนนี้มาอยู่ด้วยกันที่ญี่ปุ่น เด็กคนนี้อยู่มาแค่ปีเดียวก็พูดได้ทั้งภาษาเวียดและภาษาญี่ปุ่นอย่างคล่องแคล่ว แม่เธอบอกว่าลูกสาวพูดภาษาอังกฤษด้วย แต่ยังไม่ได้ลองคุยด้วยว่าพูดไ้ด้ดีแค่ไหน คือในบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ ลูกคนเหล่านี้ก็มักพูดกันหลายภาษาไปด้วย  

 

ไม่มีอะไรมากครับ แค่เล่าสู่กันฟังเพราะอยากให้มีบรรยากาศทางวิชาการแบบนี้ในประเทศไทยบ้าง มหาวิทยาลัยไทยมีหลายแห่งที่จัดสอนภาษาต่างๆ แต่จะมีสักกี่มากน้อยที่สร้างบรรยากาศทางวิชาการที่แลกเปลี่ยนกันด้วยภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแบบนี้ แล้วบรรยากาศวิชาการนอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนา ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น เพราะความสัมพันธ์ศิษย์อาจารย์ของไทยน่ะดูห่างเหินแข็งทื่อยิ่งกว่าระบบอาวุโสที่ดูเคร่งครัดแต่สนิทสนมกันแบบญี่ปุ่น

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย