Skip to main content

ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 

 

ผมเพิ่งได้รับเชิญไปเสนองานในการประชุมวิชาการในโอกาสครบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กแก่งกิจการและภาษาต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studie) ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ และก็ได้มีโอกาสเที่ยวในกรุงโซลและบริเวณใกล้เคียงอีกสองวัน 

 

เรื่องที่อยากจะเขียนหลายตอน เพราะมีหลายเรื่อง ที่จริงเรื่องที่มี passion มากที่สุดคือเรื่องอาหารการกิน แต่เอาไว้ก่อนดีกว่า ขอเริ่มที่เรื่องที่เห็นได้ชัด และช่วยให้เข้าใจ "ความเป็นเกาหลี" แบบที่คนเกาหลีเลือกนำเสนอ  

 

เกาหลีที่ไปไม่ว่าจะครั้งแรกหรือครั้งที่สอง ก็มักจะมีเพื่อนชาวเกาหลีนำเสนอผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องย้อนกลับไปถึงราชวงศ์และประวัติศาสตร์เกาหลี ตั้งแต่ก่อนหน้าที่จะตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อนเกาหลีจึงมักพาไปดูวังเวียงต่างๆ  

 

ไปคราวนี้ ผมได้นักศึกษาปริญญาเอกชาวเกาหลีที่มาเรียนมานุษยวิทยากับผมที่ธรรมศาสตร์พาเที่ยว ก็จึงได้ความรู้มากมาย ขอเรียกรวมๆ ว่า “เพื่อน” แทนแล้วกัน เพราะบางครั้งก็เป็นคำอธิบายจากชาวเกาหลีคนอื่นๆ ผมไปดูวังสองแห่ง แห่งแรกคือที่พำนักชั่วคราวของกษัตริย์ราชวงศ์โชซอน (Joseon) ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 - 20 เป็นราชวงศ์สุดท้าย ก่อนหน้านี้เป็นราชวงศ์ซิลลา (Silla) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล 50 กว่าปีมาจนถึงศตวรรษที่ 10  

 

ที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางครั้งนี้มีหลายอย่าง หนึ่งคือ อำนาจการปกครองในเกาหลี ทั้งเหนือและใต้ เป็นอิสระจากจีนมายาวนาน ดูได้ จากวัฒนธรรม โบราณวัตถุ ความเชื่อท้องถิ่น และอักษร ส่วนตัวผมสนใจอักษรเป็นพิเศษ อักษรเกาหลีที่ใช้ในปัจจุบันคิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แล้วมีการพิมพ์เผยแพร่หนังสือด้วยอักษรนี้ควบคู่กับอักษรและภาษาจีนตั้งแต่อย่างน้อยศตวรรษที่ 15 เช่นกัน เรื่องอักษรนี้ดูจะเป็นเรื่องสำคัญมาก บริเวณลานหน้าพระราชวังกีอองบุ๊กคุงจึงมีหุ่นกษัตริย์ที่ประดิษฐ์อักษรเกาหลีตั้งอยู่ นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมการสร้างสถาปัตยกรรมหินครอบพระพุทธรูป (เรื่องนี้เล่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ) ธรรมเนียมการทำสุสานเป็นเนินดินขนาดใหญ่ของราชวงศ์ซิลลา 

 

อีกอย่างที่ได้รู้คือ เกาหลีไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อนี้ไม่แปลก แต่ได้รู้ก็ดี นอกจากมีอาณาจักรเล็กน้อยอย่างน้อย 3-4 อาณาจักรที่ผลัดกันเป็นใหญ่แล้ว แต่ละอาณาจักรก็มีอิทธิพลตั้งต้นจากถิ่นต่างๆ ทางใต้ของเกาหลีใต้บ้าง ทางเหนือบ้าง ภาคกลางบ้าง แต่ที่มีอิทธิพลมากและสืบทอดอำนาจยาวนานคือราชวงศ์ซิลลาและราชวงศ์โชซอน 

 

ราชวงศ์ซิลลามีพื้นฐานปรัชญาความคิดสำคัญคือพุทธศาสนา ส่วนราชวงศ์โชซอนอาศัยปรัชญาขงจื่อเป็นหลัก ที่น่าสนใจคือ เพื่อนเกาหลีอธิบายว่า การที่สถาปัตยกรรมเกาหลียุคโชซอนเรียบง่าย เพราะมีหลักคิดแบบขงจื่อ ผมไม่รู้ว่าขงจื่อในความคิดของเกาหลีเป็นอย่างไรบ้าง แต่เคยอ่านงานของผู้เชี่ยวชาญขงจื่อในเอเชีย เขียนเปรียบเทียบเกาหลี จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม แล้วพบว่า ขงจื่อในเกาหลีนั้นมีอิทธิพลมากยิ่งกว่าในจีนด้วยซ้ำ คงจะเพราะสืบเนื่องยาวนาน สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากสถาปัตยกรรมคือ ความเรียบง่าย และไม่ค่อยมีรูปบูชาอะไร ส่วนใหญ่เป็นเส้นสายลวดลายประดับที่เป็นรูปทรงเลขาคณิตและนามธรรม ส่วนสีสันก็มีโทนสีที่ไม่ฉูดฉาด ไม่ค่อยมีทองประดับ 

 

อย่างไรก็ดี เพื่อนเกาหลีเล่าว่า โบราณสถานหลายแห่งถูกทำลายไปด้วยน้ำมือของทหารญี่ปุ่น โบราณวัตถุจำนวนมากก็ถูกขโมยไปญี่ปุ่น ผมถามซื่อๆ ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงต้องทำลายวัฒนธรรมเกาหลี เพื่อนเล่าว่า เพราะเขาต้องการทำให้เกาหลีกลายเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น กลายเป็นญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ในช่วงที่ญี่ปุ่นมาปกครองเกาหลีราว 30 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ไม่ต้องสงสัยเลยว่า พระราชวังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ส่วนมากก็ถูกทำลายไป แล้วจึงได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ 

 

ผมถามคนเกาหลีว่า ที่เห็นนักเรียนจำนวนมากสวมชุดประจำชาติเกาหลีนั้น เป็นเพราะเขารักวัฒนธรรมเดิมหรืออย่างไร เพื่อนเกาหลีหัวเราะแล้วบอกว่า ไม่น่าจะใช่ คนรุ่นใหม่เขาไม่สนใจหรอก เขาคงแต่งตัวมาเดินเพราะครูสั่งให้ทำการบ้าน ให้แต่งตัวมาเดินในย่านพระราชวังแล้วถ่ายรูป แต่ผมก็เห็นหลายคนเหมือนเขาชอบอยู่ ถึงอย่างนั้นก็ตาม เพื่อนเกาหลียืนยันว่า คนเกาหลีไม่ได้สนใจราชวงศ์อะไรหรอก เพราะช่วงที่กษัตริย์เสียอำนาจนั้น คนเกาหลีไม่ได้มีส่วนรู้สึกถึงความเป็นประเทศ ไม่ทันได้มีการพัฒนาสำนึกว่ากษัตริย์เกาหลีกับประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมาเลย การเสียอำนาจที่สำคัญคือเสียให้ญี่ปุ่นนั้น ก็เหมือนเป็นการเสียอำนาจของกษัตริย์เองมากกว่า 

 

ผมจึงคิดว่า ความภูมิใจในโบราณสถานและวัฒนธรรมเกาหลี คือการสร้างสำนึกความเป็นเอกเทศของเกาหลี การเป็นเกาหลีที่ไม่อยู่ใต้การปกครองของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น มากกว่าจะถึงกับเป็นการหลงใหลในประเพณีดั้งเดิมหรือประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของเกาหลี

 

ชมภาพได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.782899915181728.1073741843.173987589406300&type=1&l=92b62ebfe9

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง