Skip to main content

ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 

 
ความดีแบบไทยๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร 
 
1. ทำดีเพื่อใครบางคน คนไทยมักต้องหาเหตุที่จะทำดี ปกติไม่จำเป็นต้องดี แต่เมื่อสูญเสียคนที่รัก จึงคิดอยากทำดีขึ้นมา การทำดีเพื่อใครบางคนส่วนมากก็ไม่ได้จะต้องก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง เพียงการไปบริจาคทาน แจกของทั้งที่ผู้รีบแจกไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ก็กลายเป็นความดีได้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะคนไทยแค่อยากทำอะไรดีๆ เพื่อคนที่รัก โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งที่ทำนั้นดีจริงแล้วหรือ เหมาะสมแล้วหรือ
 
2. ทำดีเพื่อตนเอง การทำดีของคนไทยโดยมากจึงเป็นการทำดีเพื่อตนเอง คนไทยให้ทานโดยไม่ได้หวังให้คนรับได้ประโยชน์เท่ากับอยากได้บุญมาสะสมไว้ คนไทยทำบุญเพื่อประโยชน์สุขของตนเอง อย่างหยาบหน่อย ทำบุญเสร็จแล้วก็ต้องขอพร ขออะไรจากการทำบุญ หรือไม่ก็ติดสินบนผี ต้องได้สิ่งที่ต้องการก่อนจึงจะทำบุญ อย่างละเอียดขึ้นก็เก็บไว้เป็นบุญคุณของเอง คิดหนี้ให้ผู้รับ บางครั้งทึกทักว่าเป็นหนี้คนไปทั่วแผ่นดิน ทั้งๆ ที่คนรับไม่มีอำนาจปฏิเสธบุญคุณที่ถูกยัดเยียดมานั้น 
 
3. ความดีเฉพาะหน้า ความดีแบบไทยมักเป็นความดีแบบฉับพลัน ทำแล้วได้ดีเลย ไม่คิดถึงผลดีในระยะยาว ในวงกว้าง ความดียากๆ อย่างการคิดถึงระบบสังคมที่เป็นธรรมขึ้น ด้วยการเคารพความเท่าเทียมกัน อันนั้นเป็นความดีที่ยากเกินไป ทำไปแล้วไม่รู้จะได้อะไรกับตนเองหรือเปล่า ไม่สุขใจทันทีเหมือนเอาน้ำขวดหนึ่งยัดใส่มือคนที่เดินไปเดินมาโดยที่เขาไม่ได้ขอ ไม่เหมือนเอาอาหารไปแจกคนในที่ชุมนุมชนทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้เดือดร้อนอดอยากอะไร ความดีแบบนี้ตรงไปตรงมา คนไทยเข้าใจได้มากกว่า
 
4. ความดีแบบแสดงตน ความดีฉับพลันจึงต้องการการรับรู้จากคนอื่น ทำแล้วต้องมีคนเห็น ทำดีก็ต้องมีคนชื่นชมทันที ต้องมีคนทำข่าว ต้องมีรางวัล ความดีแบบไทยสร้างรางวัลให้คนมากมาย การทำอะไรดีๆ ไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นคนดีที่สาธารณชนรับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นสำคัญกว่าทำดีตามหลักความดีแล้วก่อผลดีแม้คนไม่รับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นกลบเกลื่อนความชั่วร้ายที่คนไม่เห็นได้
 
5. ความดีแบบสงเคราะห์ ความดีแบบไทยจึงเป็นทำดีแบบสงเคราะห์ ไม่เป็นระบบ เน้นการให้ แจกจ่าย ไม่สนใจว่าผู้รับจะได้ประโยชน์หรือไม่ ผู้รับจะต้องการหรือไม่ แค่ได้ให้ก็ดีแล้ว เครื่องสังฆทานจึงไม่จำป็นต้องเป็นของจำเป็นจริงๆ เพราะขอแค่ได้ถวายพระก็พอแล้ว อาหารถวายพระจึงเหลือเฟือ เพราะถวายพระได้บุญกว่าให้คนยากคนจน แล้วคนจนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ยุ่งยากที่จะทำทาน
 
6. ความดีที่ถูกยัดเยียด ความดีแบบไทยจึงเป็นความดีฝ่ายเดียว เป็นความดีที่ถูกยัดเยียดจากคนให้ บางทีการเปิดเพลงสวดมนต์ดังๆ ก็เป็นความดีแล้ว เพราะถือว่าให้สิ่งดีๆ ส่วนคนฟัง คนรับ จะต้องการหรือไม่ ไม่จำเป็น ความดีแบบนี้จึงเป็นความดีจากเบื้องบน เป็นความดีที่คนรู้ดี คนมั่งมีกว่า เป็นคนกำหนดว่าอะไรดี แล้วพวกเธอก็จงก้มหน้าก้มตารับสิ่งที่ฉันคิดว่าดีไป ไม่ต้องไต่ถามว่าสิ่งที่ผู้ให้คิดว่าดีนั้น ดีสำหรับผู้รับด้วยหรือไม่ ความต้องการของผู้รับไม่สำคัญเท่ากับความกระสันอยากทำดีของผู้ให้
 
7. ไม่ใช่ความดีเชิงโครงสร้าง ความดีแบบไทยๆ ไม่มีคติเรื่องความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ความดีแบบนี้ส่งเสริมกันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น เพราะความดีเหล่านี้เป็นความดีเชิงโครงสร้าง ต้องสร้างระบบสังคมที่ดี จึงจะเกิดได้ ต้องเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน จึงจะ้กิดขึ้นได้ ความดีแบบนี่เข้ากันไม่ได้กับสังคมไทย ความดีแบบไทยจึงไม่นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้
 
ความดีแบบไทยวางอยู่บนระบบอำนาจนิยม ระบบอาวุโส ระบบเงินเป็นใหญ่ ระบบศรัทธาเชื่อมั่นตัวบุคคลอย่างงมงาย ระบบยึดมั่นแต่ประโยชน์ของผู้ให้ซึ่งเป็นคนชนชั้นบนของสังคม
 
ความไม่สากลของความดีแบบไทย จนกระทั่งรวมไปถึงว่า ตกลงความดีนั้นดีจริง ดีในขอบเขตของสังคม ดีเฉพาะเมื่อบางคนทำและทำเพื่อบางคนเท่านั้นหรือเปล่า ทำให้สังคมคนดีแบบไทยๆ ไม่ใช่สังคมที่ดีของทุกๆ คนอย่างเสมอหน้ากัน เป็นเพียงสังคมที่ดีของเหล่าคนทำดีแบบไทยๆ บางคนเท่านั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์