Skip to main content

นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นกระทั่งกลุ่มคนที่ตนเองก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือกำลังหลงใหลตนเองนั่นแหละ 

บางที การเออออนั้นอาจมีที่มาจากจิตใจเบื้องลึกของนักมานุษยวิทยาคนนั้นเองอยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นดีเห็นงามไปกับสังคม-วัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา โดยไม่ได้คิดว่าวัฒนธรรมนั้นก่อผลแบ่งแยกสร้างความเหลื่อมล้ำ เอาเปรียบผู้คนกันเองในสังคมอย่างไร 

หรือไม่ก็โรแมนติกจากจริตของนักมานุษยวิทยา ที่ถูกสั่งสอนให้พยายามอินกับคนกลุ่มที่ตนศึกษา เสียจนยอมละทิ้งการตัดสินเชิงคุณค่าของนักมานุษยวิทยาเอง  

จริตทางวิชาการแบบนี้มีที่มาจากสองทาง หนึ่งคือฟรานซ์ โบแอส ที่เป็นหลานศิษย์ของฮุมโบลด์ต แนวคิดโรแมนติกของเขาทำให้เขาเองก็หลุดไม่พ้นจากความคิดแบบนาซีที่เขาเองเริ่มเห็นแววจึงหลบมาอยู่อเมริกา เพราะโบแอสเป็นยิว ในแง่นี้ นักมานุษยวิทยาจึงเป็นยิวที่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดแบบอารยันเยอรมันโดยไม่รู้ตัวอยู่ลึก ๆ 

สองคืออิทธิพลของแมกซ์ เวเบอร์ ซึ่งสั่งสอนให้นักสังคมศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องปลอดค่านิยม แต่เป็นวิทยาศาสตร์ของการตีความ นั่นก็คือพยายามเข้าใจความหมายโดยไม่ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า ผลก็คือนักสังคมศาสตร์แบบเวเบอร์ต้องเข้าใจสังคมโดยไม่วิพากษ์ เวเบอร์จึงไม่มีทางออกให้สังคมที่เขาเองก็ไม่ได้พอใจนัก แต่เขาก็ไม่วิพากษ์ 

สรุปแล้ว ทั้งสองจึงมีฐานคติแบบเยอรมันโรแมนติกซิสม์ ตามแนวทางแบบแฮร์เดอร์ ที่ยกย่องวัฒนธรรมชาวบ้านว่าเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติเยอรมันก่อนที่อิทธิพลของกรีก-โรมันจะเข้ามาครอบงำ 

โรแมนติกซิสม์ดีที่ช่วยให้พยายามเข้าใจความแตกต่างได้ ช่วยให้พยายามรู้จักก่อนที่จะตัดสิน พิพากษา หรือวิพากษ์  

แต่ข้อเสียของโรแมนติกซิสม์คือ จะทึกทักจนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆ มีหลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ได้เท่าเทียมกัน พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันนั้นมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งฉาบเคลือบการกดขี่เอารัดเอาเปรียบไว้ นี่คือพื้นฐานของแนวคิดแบบ "พหุนิยม" หรือ "พหุวัฒนธรรม" แบบเชื่อง ๆ ซื่อ ๆ ทื่อ ๆ 

ผมว่ามีอย่างน้อยสามวิธีที่จะทัดทานหรือถ่วงดุลความโรแมนติกคือ หนึ่ง การศึกษาเชิงวิพากษ์ เช่นวิธีการแบบมาร์กซิสม์ สอง การถอดรื้อความเป็นอัตลักษณ์แน่นิ่งของวัฒนธรรมที่ศึกษา สาม การถอดรื้อตัวตนของนักมานุษยวิทยาเอง ว่าตนเองหลงใหลฟูมฟายกับผู้คนที่ตนเองศึกษามากเกินไปหรือยัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน