Skip to main content

นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นกระทั่งกลุ่มคนที่ตนเองก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือกำลังหลงใหลตนเองนั่นแหละ 

บางที การเออออนั้นอาจมีที่มาจากจิตใจเบื้องลึกของนักมานุษยวิทยาคนนั้นเองอยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นดีเห็นงามไปกับสังคม-วัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา โดยไม่ได้คิดว่าวัฒนธรรมนั้นก่อผลแบ่งแยกสร้างความเหลื่อมล้ำ เอาเปรียบผู้คนกันเองในสังคมอย่างไร 

หรือไม่ก็โรแมนติกจากจริตของนักมานุษยวิทยา ที่ถูกสั่งสอนให้พยายามอินกับคนกลุ่มที่ตนศึกษา เสียจนยอมละทิ้งการตัดสินเชิงคุณค่าของนักมานุษยวิทยาเอง  

จริตทางวิชาการแบบนี้มีที่มาจากสองทาง หนึ่งคือฟรานซ์ โบแอส ที่เป็นหลานศิษย์ของฮุมโบลด์ต แนวคิดโรแมนติกของเขาทำให้เขาเองก็หลุดไม่พ้นจากความคิดแบบนาซีที่เขาเองเริ่มเห็นแววจึงหลบมาอยู่อเมริกา เพราะโบแอสเป็นยิว ในแง่นี้ นักมานุษยวิทยาจึงเป็นยิวที่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดแบบอารยันเยอรมันโดยไม่รู้ตัวอยู่ลึก ๆ 

สองคืออิทธิพลของแมกซ์ เวเบอร์ ซึ่งสั่งสอนให้นักสังคมศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องปลอดค่านิยม แต่เป็นวิทยาศาสตร์ของการตีความ นั่นก็คือพยายามเข้าใจความหมายโดยไม่ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า ผลก็คือนักสังคมศาสตร์แบบเวเบอร์ต้องเข้าใจสังคมโดยไม่วิพากษ์ เวเบอร์จึงไม่มีทางออกให้สังคมที่เขาเองก็ไม่ได้พอใจนัก แต่เขาก็ไม่วิพากษ์ 

สรุปแล้ว ทั้งสองจึงมีฐานคติแบบเยอรมันโรแมนติกซิสม์ ตามแนวทางแบบแฮร์เดอร์ ที่ยกย่องวัฒนธรรมชาวบ้านว่าเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติเยอรมันก่อนที่อิทธิพลของกรีก-โรมันจะเข้ามาครอบงำ 

โรแมนติกซิสม์ดีที่ช่วยให้พยายามเข้าใจความแตกต่างได้ ช่วยให้พยายามรู้จักก่อนที่จะตัดสิน พิพากษา หรือวิพากษ์  

แต่ข้อเสียของโรแมนติกซิสม์คือ จะทึกทักจนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆ มีหลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ได้เท่าเทียมกัน พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันนั้นมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งฉาบเคลือบการกดขี่เอารัดเอาเปรียบไว้ นี่คือพื้นฐานของแนวคิดแบบ "พหุนิยม" หรือ "พหุวัฒนธรรม" แบบเชื่อง ๆ ซื่อ ๆ ทื่อ ๆ 

ผมว่ามีอย่างน้อยสามวิธีที่จะทัดทานหรือถ่วงดุลความโรแมนติกคือ หนึ่ง การศึกษาเชิงวิพากษ์ เช่นวิธีการแบบมาร์กซิสม์ สอง การถอดรื้อความเป็นอัตลักษณ์แน่นิ่งของวัฒนธรรมที่ศึกษา สาม การถอดรื้อตัวตนของนักมานุษยวิทยาเอง ว่าตนเองหลงใหลฟูมฟายกับผู้คนที่ตนเองศึกษามากเกินไปหรือยัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง