Skip to main content

นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นกระทั่งกลุ่มคนที่ตนเองก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือกำลังหลงใหลตนเองนั่นแหละ 

บางที การเออออนั้นอาจมีที่มาจากจิตใจเบื้องลึกของนักมานุษยวิทยาคนนั้นเองอยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นดีเห็นงามไปกับสังคม-วัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา โดยไม่ได้คิดว่าวัฒนธรรมนั้นก่อผลแบ่งแยกสร้างความเหลื่อมล้ำ เอาเปรียบผู้คนกันเองในสังคมอย่างไร 

หรือไม่ก็โรแมนติกจากจริตของนักมานุษยวิทยา ที่ถูกสั่งสอนให้พยายามอินกับคนกลุ่มที่ตนศึกษา เสียจนยอมละทิ้งการตัดสินเชิงคุณค่าของนักมานุษยวิทยาเอง  

จริตทางวิชาการแบบนี้มีที่มาจากสองทาง หนึ่งคือฟรานซ์ โบแอส ที่เป็นหลานศิษย์ของฮุมโบลด์ต แนวคิดโรแมนติกของเขาทำให้เขาเองก็หลุดไม่พ้นจากความคิดแบบนาซีที่เขาเองเริ่มเห็นแววจึงหลบมาอยู่อเมริกา เพราะโบแอสเป็นยิว ในแง่นี้ นักมานุษยวิทยาจึงเป็นยิวที่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดแบบอารยันเยอรมันโดยไม่รู้ตัวอยู่ลึก ๆ 

สองคืออิทธิพลของแมกซ์ เวเบอร์ ซึ่งสั่งสอนให้นักสังคมศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องปลอดค่านิยม แต่เป็นวิทยาศาสตร์ของการตีความ นั่นก็คือพยายามเข้าใจความหมายโดยไม่ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า ผลก็คือนักสังคมศาสตร์แบบเวเบอร์ต้องเข้าใจสังคมโดยไม่วิพากษ์ เวเบอร์จึงไม่มีทางออกให้สังคมที่เขาเองก็ไม่ได้พอใจนัก แต่เขาก็ไม่วิพากษ์ 

สรุปแล้ว ทั้งสองจึงมีฐานคติแบบเยอรมันโรแมนติกซิสม์ ตามแนวทางแบบแฮร์เดอร์ ที่ยกย่องวัฒนธรรมชาวบ้านว่าเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติเยอรมันก่อนที่อิทธิพลของกรีก-โรมันจะเข้ามาครอบงำ 

โรแมนติกซิสม์ดีที่ช่วยให้พยายามเข้าใจความแตกต่างได้ ช่วยให้พยายามรู้จักก่อนที่จะตัดสิน พิพากษา หรือวิพากษ์  

แต่ข้อเสียของโรแมนติกซิสม์คือ จะทึกทักจนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆ มีหลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ได้เท่าเทียมกัน พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันนั้นมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งฉาบเคลือบการกดขี่เอารัดเอาเปรียบไว้ นี่คือพื้นฐานของแนวคิดแบบ "พหุนิยม" หรือ "พหุวัฒนธรรม" แบบเชื่อง ๆ ซื่อ ๆ ทื่อ ๆ 

ผมว่ามีอย่างน้อยสามวิธีที่จะทัดทานหรือถ่วงดุลความโรแมนติกคือ หนึ่ง การศึกษาเชิงวิพากษ์ เช่นวิธีการแบบมาร์กซิสม์ สอง การถอดรื้อความเป็นอัตลักษณ์แน่นิ่งของวัฒนธรรมที่ศึกษา สาม การถอดรื้อตัวตนของนักมานุษยวิทยาเอง ว่าตนเองหลงใหลฟูมฟายกับผู้คนที่ตนเองศึกษามากเกินไปหรือยัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน