Skip to main content

แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง

 
แต่ที่ไหนได้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เอาจริงเอาจังกับรองเท้ามาก เรียกว่าเขาศึกษาวัฒนธรรมการใส่รองเท้ากันเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ มันบรรจุไปด้วยมุมมองของคนทำรองเท้า การถอด การใส่ และการตัดเย็บไว้ด้วย แถมยังเป็นการศึกษาเปรียบเทียบที่ทำกับทั้งรองเท้าโบราณ รองเท้านอกยุโรป และรองเท้ายุโรปยุคกลาง แถมยังดูสังคมของรองเท้าไปพร้อมๆ กันด้วย
 
พิพิธภัณฑ์รองเท้าบาทา (Bata Shoe Museum) ที่โตรอนโตนี้เปิดเมื่อปี 1995 ก่อตั้งโดยซอนญ่า บาทา สะใภ้ของตระกูลบาทาที่ก่อตั้งบริษัทรองเท้าบาทา ซอนญ่า บาทาเดินทางไปทั่วโลกคงด้วยเพราะติดตามสามีไปขายรองเท้า เธอก็เลยเก็บสะสมรองเท้าไว้มากมาย ไม่เท่านั้น ยังเอาจริงเอาจังกระทั่งให้ทุนวิจัยรองเท้า แล้วทำทั้งโปราณคดีและชาติพันธ์ุนิพนธ์รองเท้า
 
พิพิธภัณฑ์นี้จึงเด่นทั้งการเล่าเรื่อง ของที่สะสม และการจัดแสดง นี่ยังไม่นับว่าเขาให้การศึกษาเด็กๆ อย่างดีด้วย ตอนที่ไปชม ก็เห็นมีการนำเด็กตั้งแต่ 7 ปีจนถึงอายุไม่น่าจะเกิน 10 ขวบเดินชมและทำกิจกรรมอยู่สองกลุ่ม วิทยากรเขาเหมือนเชี่ยวชาญการเล่าเรื่องให้เด็กฟัง เด็กๆ ก็เลยสนใจติดตามแย่งกันตอบคำถาม อย่างที่นึกไม่ออกเลยว่าเด็กไทยจะมีความใส่ใจและกล้าหาญได้ครึ่งของเด็กแคนาเดี่ยนพวกนี้
 
แรกเริ่มเลย พิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องผ่านโบราณคดีและประวัติศาสตร์การใส่รองเท้า ที่จริงเขากล่าวถึงตั้งแต่เริ่มมีการเดินของมนุษย์วานร (hominid) คือลูซี่ที่เริ่มเดินเต็มเท้ากันเลยทีเดียว แล้วจึงเอาตัวอย่างรองเท้า 5-6 พันปีก่อนที่พบในหลุมศพแล้วมีการสร้างจำลองเลียนแบบมาให้ดู 
 
แล้วเขาก็ไล่ไปตามแหล่งอารยธรรมโลกต่างๆ อย่างอียิปต์ กรีก โรมัน อินเดีย จีน ยุโรป แม้ว่าการเล่าแบบนี้จะไม่แหวกแนวนัก แต่ก็ยังน่าสนใจที่เขาเอารองเท้าของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปอเมริกาเหนือ อย่างชาวอนาซาสซีเมื่อ 6,000 ปีก่อน มาวางไว้ในช่วงยุคสมัยโบราณนี้ด้วย มีตัวอย่างรองเท้าในหลุมศพที่ทำให้เชื่อว่า ชาวอินเดียนอเมริกาดั้งเดิมน่าจะสานรองเท้าในรูปทรงต่างๆ
 
ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือการเชื่อมโยงรองเท้ากับศาสนา แล้วเปรียบเทียบให้เห็นจุดเน้นและอคติของแต่ละศาสนา มีส่วนทำให้รูปทรง วัสดุ และการใช้งานรองเท้าแตกต่างกันไปทั่วโลก การตีความตอนนี้ก็นับว่าน่าประทับใจ โดยเฉพาะเรื่องรองเท้ามุสลิม และตัวอย่างรองเท้าจากโป๊บ กับรองเท้าพระชินโต ที่เพิ่งได้รู้ว่าเป็นไม้ จากที่เคยนึกว่าเป็นผ้ามาตลอด
 
 
 
 
ถัดมาเป็นรองเท้าเฉพาะทางหลายคู่ เขาแสดงรวมๆ กัน ทั้งตามอาชีพ ตามถิ่นฐาน และตามยุคสมัยของรองเท้าสมัยใหม่ ที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์ได้รองเท้าจากคนดังมาหลายคู่ เช่น รองเท้าของมาริลีน มอนโร ที่เธอเองบอกว่า "ขอบคุณใครก็ตามที่คิดส้นสูงขึ้นมาให้ฉันมีอาชีพการงานจากการใส่ส้นสูง" ส่วนรองเท้าดาไลลามะ ก็เป็นรองเท้าแตะคีบของบาทานั่นเอง รองเท้าอีกคู่ที่น่าสนใจจากความเรียบง่ายคือรองเท้าของอินทิรา คานธี
 
 
 
 
อีกสองชั้นถัดมาน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นไปใหญ่ ชั้นหนึ่งซอนญ่า ยาทาให้ทุนคนไปทำวิจัยรองเท้าของผู้คนในแถบขั้วโลก เป็นรองเท้าคนที่สู้ความหนาว ทำให้ได้เห็นทั้งความแตกต่างของทั้งรูปทรงและวัสดุ เช่นรองเท้าที่ทำจากหนังปลา เสื้อคลุมที่ทำจากผนังลำไส้แมวน้ำ รองเท้าหนังปลา รองเท้าหนังและขนเรนเดียร์ ทำให้ได้เห็นว่าวัฒนธรรมรองเท้าของคนขั้วโลกแตกต่างกันและอาศัยวัสดุในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน แม้จะดูคล้ายๆ กัน
 
 
 
 
ชั้นถัดไป ซอนญ่าวิพากษ์วัฒนธรรมรองเท้าของยุโรป ด้วยการย้อนกลับไปยุคเริ่มต้นอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 พิพิธภัณฑ์บอกว่า ชาวยุโรปเป็น "เหยื่อของแฟชั่น" ถึงตรงนี้ การจัดแสดงก็เปลี่ยนแนวเลย จากห้องขั้วโลก ที่ให้บรรยากาศหนาวเหน็บ มาสู่ห้องยุคอุตสาหกรรมที่ดูฟุ้งเฟ้อ ในห้องนี้ ของทุกอย่างราวกับถูกมองผ่านหน้าต่างเข้าไปในห้องจัดแสดงในห้างสรรพสินค้ายุคนั้น เห็นได้ชัดว่าเขาจงใจพูดถึงชนชั้น และจงใจกล่าวว่ารองเท้ารุ่นนั้นใสไม่สบาย แม้จะงดงามอย่างมาก
 
ดูพิพิธภัณฑ์รองเท้าจบแล้วได้เรียนรู้แนวทางการศึกษาวัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างเอาจริงเอาจัง นับถือความมุ่งมั่นของซอนญ่า บาทา และนั่นทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รางวัลการอนุรักษ์ดีเด่น แต่ที่ต้องเพิ่มเข้าไปคือ ทำให้นับถือและขอบคุณรองเท้ายี่ห้อบาทาอย่างยิ่งทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน