Skip to main content

อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น

 
การได้รู้จักโรงเบียร์นี้ก็เป็นความบังเอิญอย่างมาก คือเริ่มจากคืนแรกที่ไปถึงโตรอนโต ซึ่งก็ดึกดื่นแล้ว แต่เป็นคืนที่หนาวเหน็บพอสมควร แถมเมื่อไปถึงก็เท่ากับเป็นเวลาเที่ยงวันของประเทศไทย ก็ย่อมหิวโหยเป็นธรรมดา ผมก็เลยเลือกเข้าบาร์ ซึ่งเปิดถึงตีหนึ่งและตีสอง บาร์แห่งหนึ่งอยู่ตรงข้ามที่พักเป็นที่เดียวที่ยังเปิดอยู่
 
นั่งสักพัก ผมก็สั่งเบียร์ชื่อเตะตาชื่อ Steam Whistle ในใจนึกถึงความเป็นเมืองท่าเพราะติดทะเลสาบออนทาริโอ หนึ่งในทะเลสาบขนาดยักษ์ 5 แห่งของทวีปอเมริกาเหนือ ทีแรกนึกว่าชื่อเชื่อมโยงกับเรือกลไฟ ที่ไหนได้ เมื่อจิบไป ดูข้อมูลเบียร์ในอินเตอร์เน็ตไป ก็กลายเป็นว่าที่ตั้งของโรงเบียร์นี้อยู่บริเวณที่เป็นศูนย์กลางสถานีรถไฟของแคนาดามาก่อน แล้วเขามีทัวร์ด้วย ก็เลยคิดว่าต้องไปเยี่ยมชมให้ได้
 
ที่ตั้งโรงเบียร์นี้เป็นอาคารเก่าที่เลิกใช้แล้ว เดิมทีเป็นอาคารที่จอดซ่อมบำรุงหัวรถไฟ* ของศูนย์รถไฟของประเทศเลยทีเดียว เรียกว่าเรือนกลม (Round House) ปัจจุบันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ในบริเวณนั้นก็คือที่ตั้งหอคอยโตรอนโต ซึ่งถือว่าเป็นหอคอยสูงที่สุดในโลกแห่งหนึ่งทีเดียว
 
การได้นั่งรถรางแล้วเดินไปยังโรงเบียร์แห่งนี้ทำให้ได้เห็นสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้ทะเลสาบออนทอริโอ พร้อมๆ กับได้เห็นบรรยากาศที่พักหรูๆ ริมทะเลสาบ หากแต่เมืองก็ไม่ได้ปิดกั้นการใช้พื้นที่หรูหรานี้แต่อย่างใด บริเวณนั้นมีทั้งร้านอาหาร ร้านของชำที่ไม่ได้ราคาโหดร้าย แถมมีโรงเบียร์ที่ราคาปกติกว่าคราฟเบียร์ไทยตั้งอยู่แห่งหนึ่งด้วย
 
เมื่อเข้าไป ก็จะเจอบาร์ของโรงเบียร์ ซึ่งก็ขายเบียร์ชนิดเดียว กับขายของกินเล่นและเอบร์เกอร์ของที่นี่เอง ผมไม่กินอะไรเพราะอิ่มแล้ว เลยซื้อทัวร์ 12 เหรียญแคนาดา จะได้ดื่มแก้วเล็กชิมก่อน แล้วระหว่างเดินก็จะได้ถือเดินจิบไปอีกขวดนึง เดินชมเสร็จก็ได้ชิมแบบไม่กรองอีกแก้วนึง
 
โรงเบียร์แห่งนี้ตั้งโดยคนรุ่นใหม่ อายุสี่สิบกว่าๆ ในปี 1998 สิ่งที่น่าสนใจของสตีมวิสเทิ่ลมีหลายอย่าง
 
อย่างแรกคือ เขายืนยันที่จะทำเบีบร์ชนิดเดียวคือ pilsner ผมเพิ่งสงสัยกับเพื่อนดื่มในกรุงเทพฯ ว่า พิลสเนอร์คือเบียร์อย่างไรกันแน่ พอมาที่นี่ก็เจอกับพิลสเนอร์มากมายของหลายโรงเบียร์ แต่ละแห่งทำรสไม่เหมือนกัน ถามคนนำทัวร์ในโรงเบียร์นี้ เขาก็ให้คำตอบแค่ว่า "ก็เป็นลาเกอร์อย่างหนึ่งนั่นแหละ"
 
ที่สำคัญคือ เขายืนยันว่าจะใช้วัตถุดิบเพียง 4 อย่างคือ น้ำ (จากแหล่งน้ำแห่งหนึ่ง ต้องขนมา) มอลต์ ฮอบ และยีส เท่านั้น ไม่ปรุงแต่งอะไรอีกเลย เมื่อเดินชม ได้ดมกลิ่นมอลต์กับฮอบแล้ว จึงได้รู้ว่า ความสด หอมกลมกล่อม และชวนหลงไหลของเบียร์ของเขา มาจากวัตถุดิบง่ายๆ แค่นี้เอง
 
เบียร์ของที่นี่จึงรสชาติซื่อตรงกับวัตถุดิบมาก ดื่มแล้วสดชื่น ยิ่งความสดใหม่ที่เขาประดันว่าต้องไม่เกิน 3 เดือนหลังบรรจุแล้ว ยิ่งทำให้กลิ่นวัตถุดิบชัดเจน ยิ่งหากดื่มแบบไม่กรอง ซึ่งน้ำขุ่น (ดูจากรูปเทียบกับที่กรองแล้ว ซึ่งปกติเขาจะขายแบบกรองแล้ว) ยิ่งได้รสวัตถุดิบ ได้ความแน่นของเนื้อเบียร์
 
นอกจากนั้น ที่นี่ยังยืนยันที่จะใช้ขวดแก้ว เขาบอกว่าต้นทุนการล้างขวดแก้ว การใช้ขวดแก้วซ้ำนั้น ถูกกว่าการใช้กระป๋อง ขวดแก้วยังน่าจะเป็นภัยกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แถมยังได้อารมณ์ของความเก๋าของเครื่องดื่มรุ่นเก่าด้วย แต่เขาก็ส่งเบียร์สดตามบาร์ด้วย นอกจากกระป๋องและขวดแล้ว ก็ยังหาดื่มได้ตามแทปเบียร์ในบาร์ทั่วเมือง
ดูจากขนาดแล้ว โรงเบียร์แห่งนี้ผลิตไม่มาก น่าจะแค่พอขายในประเทศแคนาดา ไม่มีการผลิตที่ไหนอีก แต่ราคาเขาก็ปกติของเบียร์ที่แคนาดา คือถ้าเบียร์สดในบาร์แก้วขนาด 500-600 cc ก็ราวๆ 6-7 เหรียญแคนาดา (150-180 บาท) ถ้าใส่กระป๋องหรือขวด ก็ถูกลงไปครึ่งหนึ่ง
 
ความมึนเมาถ้าฉลาดจัดการ ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาที่ตรงไหน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่กับวัฒนธรรมการกินดื่มของมนุษย์มานานกว่าศาสนาไม่กี่ศาสนาที่มาห้ามการดื่มกิน แต่ก็คงอีกนานที่ประเทศไทยจะเลิกดัดจริตกับเรื่องการดื่ม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง