Skip to main content

รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เพราะคนไทยติดใจรักใครรถกระบะเป็นพิเศษหรอก แต่เพราะโครงส้รางราคารถและราคาน้ำมัน รวมทั้งโครงสร้างการขนส่งในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้รถกระบะเป็นที่นิยม การที่รัฐไม่พัฒนาระบบการขนส่งมวลชน ไม่พัฒนาระบบรถไฟทั่วประเทศ แต่อาศัยหากินกับการผลิตและการขายรถยนตร์นี่แหละ ที่ทำให้การบริโภครถกระบะเติบโตขึ้นมา
หลายคนคงรู้ดีกว่าผมว่า ประเทศไทยผลิตรถกระบะทั้งขายและส่งออกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หากกวาดตาดูประเทศรอบบ้าน หรือมองให้ไกลไปว่าประเทศไทย มีประเทศไหนบ้างที่ใช้รถกระบะมากทั้งจำนวนและประเภทการใช้งานเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอกครับ
เมื่อสักยี่สิบปีที่ผ่านมา รถกระบะจึงเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ไม่เพียงคนซื้อรถกระบะแบบใช้นั่งสองคนแล้วมีกระบะบรรทุกด้านหลัง รถกระบะเองยังพัฒนาการออกแบบให้มี "แคป" นั่งหลังได้ แถมพัฒนาประตูให้เปิดกลับด้าน เพื่อให้ขึ้นนั่งบนแคปได้ รถกระบะจึงกลายเป็นรถอเนกประสงค์ แล้วมีการดัดแปลงใช้โครงสร้างรถกระบะต่อเติมเป็นรถแวน เรียกลูกค้าที่อยากใช้รถแวนราคาประหยัดได้อีกจำนวนมาก
การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถสองแถวก็ไม่ใช่สิ่งที่เก่าแก่อะไรนัก เพิ่งจะมีมาเมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง เดิมทีสมัยผมเด็กๆ ในกรุงเทพฯ หรือรวมทั้งรถโดยสารราคาถูกในต่างจังหวัด รถสองแถวล้วนแต่เป็นรถบรรทุก 6 ล้อที่ดัดแปลงมาเป็นรถโดยสารประจำทาง รถกระบะถูกดัดแปลงเป็นรถสองแถวเมื่อไม่นานมานี้เอง อาจจะด้วยความคุ้มทุนกว่า ขนาดเล็กเหมาะกับถนนเมืองไทยมากกว่า คล่องตัวกว่า และน่าจะประหยัดกว่ารถบรรทุก
เพื่อนๆ ญาติๆ ผมหลายคนเปรยอยู่เสมอๆ ว่า หากจะซื้อรถ เขาไม่อยากซื้อรถเก๋งหรอก ซื้อรถกระบะดีกว่า ได้ประโยชน์กว่า ขนได้ทั้งของและคน เรื่องบรรทุกคนท้ายรถกระบะเป็นเรื่องธรรมดา ผมเองก็ยังเคยนั่งท้ายรถกระบะระยะทางเป็นร้อยกิโลมาแล้ว แถมรถกระบะยังสมบุกสมบัน อายุการใช้งานยาวนาน และประหยัดค่าน้ำมันมากกว่า
ความผูกพันกับรถกระบะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดัดแปลงไปมากมาย คนอยู่บนเขา นอกจากจะเชี่ยวชาญการขับรถบนที่สูงแล้ว รถกระบะแรงดี พอถึงหน้าฝน ถนนเข้าหมู่บ้านมีแต่ดินเบน รถกระบะยังถูกดัดแปลงเอาโซ่พันล้อ ให้วิ่งได้ราวรถตีนตะขาบ ตะกุยดินเลนได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เมื่อสิบกว่าปีมานี้ รถกระบะจึงกลายเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง และยิ่งกว่านั้นคือ รถกระบะกลายเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม รถกระบะถูกใช้เป็นพาหนะบรรทุกคนและถังน้ำเล่นสาดน้ำกันในช่วงสงกรานต์ นั่นเป็นภาพที่เห็นกันทั่วไป
นอกจากนั้น สักสิบปีมานี้ ยังมีการดัดแปลงรถกระบะติดเครื่องเสียง เปิดเสียงดังชนิดจะเรียกเผื่อแผ่หรือยัดเยียดเพื่อนร่วมท้องถนนก็แล้วแต่มุมมอง แต่ชมรมคนรักเครื่องเสียงติดท้ายรถกระบะก็สร้างวัฒนธรรมการใช้รถพ่วงไปกับรสนิยมการฟังเพลงเน้นจังหวะและการเต้นท้ายรถกระบะ งานมอร์เตอร์โชว์ไทยจึงไม่เหมือนที่ไหนในโลก ที่รถกระบะกลายเป็นสื่อทางเพศแบบเน้นผู้ชายมองเรือนร่างผู้หญิงยิ่งกว่ารถเก๋ง ใครจะชอบหรือไม่ชอบวัฒนธรรมแบบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
หากเห็นว่าการใช้รถกระบะอย่างทุกวันนี้เป็นความผิดเพี้ยน มันก็ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวกันมาตั้งแต่โครงสร้างการจัดการการคมนาคม และเหนืออื่นใดคือความด้อยประสิทธิภาพของรัฐในการจัดการนโยบายการขนส่งนั่นแหละ แทนที่จะมาไล่เบี้ยเล่นงานแต่กับคนรายได้จำกัด สู้เอาสมองไปคิดถึงการจัดการเรื่องใหญ่ๆ ไม่ดีกว่าเหรอครับ หรือเพราะไม่เคยถูกฝึกให้คิดเรื่องใหญ่ ถูกฝึกให้ใช้แต่กำลัง ก็เลยเห็นแต่วิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 บ้านเก่าเมืองหลัง เป็นสำนวนของคนไทดำในเวียดนาม เมื่อก่อน พอได้ขึ้นไปเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวไทดำที่เซอนลาแต่ละครั้ง ก็จะถูกพวกคนเฒ่าคนแก่ล้อว่า “เหมือนพวกหลานๆ กลับมาเยี่ยมบ้านเก่าเมืองหลังสินะ” ในความหมายที่ว่า เหมือนผมได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนนั่นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น ก็ห่างหายไปแค่เพียงหลายเดือน หรืออย่างมากก็ในรอบปี