Skip to main content

"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า" 

นั่นเป็นประโยคแรกๆ ที่เพื่อนอาจารย์ "ผู้ถูกคุมขังทางความคิด" กล่าวต่อผมหลังคำทักทาย ผมตกใจและแอบปลาบปลื้มใจที่อาจารย์ก้าวพ้นความตระหนกกลัวไปสู่ประสบการณ์ของขอบฟ้าที่แปลกใหม่แม้อยู่ในที่แคบๆ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ถูกละเมิดสิทธิ์การประกันตัว อันเป็นสิทธิ์ที่พึงได้รับในระหว่างดำเนินคดี หากใครติดตามกระบวนการในการดำเนินคดีลักษณะนี้อย่างใกล้ชิดเพียงพอ ก็จะเข้าใจได้ว่าผมไม่ได้กล่าวเกินเลยไปหรอก

 

แรกๆ ที่คุยกันอาจารย์คงเกร็ง ก็เลยเล่าเร็วๆ ว่าตื่นเช้าขึ้นมาจนเข้านอนในแต่ละวันก็มีกิจวัตรที่อาจารย์สรุปว่า "เหมือนกับที่ฟูโกต์กล่าวถึง docile body เลยนั่นแหละครับ" 

 

เมื่อผ่อนคลายขึ้น อาจารย์ก็เริ่มสนุก แล้วก็เล่าเรื่องประทับใจอย่างตื่นเต้นตาเป็นประกายเหมือนนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งกลับจากการวิจัยภาคสนามในดินแดนไกลโพ้น เช่น 

 

"ข้างในแมวเยอะมาก พวกมันจะนอนรวมกันอยู่มุมนึง นักโทษบางคนเขาก็ไม่ชอบแมว"

 

"แดนนี้เป็นแดนขังเด็กๆ (อายุไม่เกิน 30) ดีกว่าแดนที่เคยอยู่แม้จะแออัดกว่า เด็กๆ ดูสดใสกันมาก แต่ละคนต้องโทษคดีต่างๆ แต่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นมาก หลายคนชอบมาคุยกับผม ชอบมาถามโน่นถามนี่ เขาอยากเรียนรู้"

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ตื่นเต้นมากคือการนิยามพื้นที่ อาจารย์เล่าว่า "พวกเขาจัดการพื้นที่หลายอย่างด้วยวิธีของพวกเขา แม้แต่ห้องน้ำเอง เป็นที่รู้กันว่าหากมีม่านซึ่งพวกเขาทำกันเองกั้นอยู่ ทำที่เกี่ยวผนังกันเอง ก็อย่าไปรบกวน เพราะคนข้างในกำลัง "มาสเตอเบท" อยู่"

 

อาจารย์บอกว่าได้พบปะคนมากมายหลายแบบ จึงได้เขียนบันทึกไว้มากทีเดียว 

 

ส่วนกับครอบครัว อาจารย์เล่าว่าครอบครัวเข้าใจแกดี คุยกันตลอด พวกเขาดำเนินชีวิตตามปกติ 

 

สุดท้าย ผมฝากคำพูดกับอาจารย์ไว้ว่า "นักวิชาการจากทั่วโลกกำลังเฝ้าดูอยู่ ปีนี้จะมีการประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทย 3 รายการ นักวิชาการเหล่านี้รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น" 

 

อาจารย์แทรกว่า "งานผมได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอด้วย" ผมเลยกำชับว่า "หวังว่าอาจารย์จะได้ออกมาและได้ไปเสนองาน แต่หากอาจารย์ไม่ได้ออกมาทันเสนองานที่อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอ นักวิชาการเหล่านี้ก็จะต้องทำอะไรบางอย่าง"

 

ผมเห็นอาจารย์กระตือรือล้นมาก เห็นอาจารย์ตื่นเต้นกับเรื่องราวและผู้คนแปลกใหม่ ได้รับรู้ความรู้สึกแรกที่อาจารย์อยากบอกเล่าที่เป็นเรื่องประสบการณ์ต่อที่ว่าง จากมุมของคนที่อยู่ในที่แคบ แล้วก็ตื้นตันใจและมั่นใจว่าอาจารย์มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิตช่วงนี้อย่างเปี่ยมล้น

 

ที่จริงหลังจากที่อาจารย์บอกว่า "ฟ้าข้างในกว้างกว่าข้างนอก" อาจารย์ก็บอกอีกว่า "แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นพระจันทร์นะ เพราะตอนกลางคืนต้องเข้าห้อง" 

 

ผมคิดว่าคำพูดอาจารย์เป็นประสบการณ์ที่เยาะเย้ยเสรีภาพจอมปลอมนอกห้องคุมขัง พร้อมๆ กับเป็นคำดูแคลนการกักขังเรือนร่างกลวงเปล่า เพราะอย่าว่าแต่ความสำนึกคิดของอาจารย์เลย แม้แต่เลือดเนื้อ ผัสสะ ที่ก่อรูปประสบการณ์ของอาจารย์ ก็ไม่อาจถูกคุมขังได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย