Skip to main content

"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า" 

นั่นเป็นประโยคแรกๆ ที่เพื่อนอาจารย์ "ผู้ถูกคุมขังทางความคิด" กล่าวต่อผมหลังคำทักทาย ผมตกใจและแอบปลาบปลื้มใจที่อาจารย์ก้าวพ้นความตระหนกกลัวไปสู่ประสบการณ์ของขอบฟ้าที่แปลกใหม่แม้อยู่ในที่แคบๆ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ถูกละเมิดสิทธิ์การประกันตัว อันเป็นสิทธิ์ที่พึงได้รับในระหว่างดำเนินคดี หากใครติดตามกระบวนการในการดำเนินคดีลักษณะนี้อย่างใกล้ชิดเพียงพอ ก็จะเข้าใจได้ว่าผมไม่ได้กล่าวเกินเลยไปหรอก

 

แรกๆ ที่คุยกันอาจารย์คงเกร็ง ก็เลยเล่าเร็วๆ ว่าตื่นเช้าขึ้นมาจนเข้านอนในแต่ละวันก็มีกิจวัตรที่อาจารย์สรุปว่า "เหมือนกับที่ฟูโกต์กล่าวถึง docile body เลยนั่นแหละครับ" 

 

เมื่อผ่อนคลายขึ้น อาจารย์ก็เริ่มสนุก แล้วก็เล่าเรื่องประทับใจอย่างตื่นเต้นตาเป็นประกายเหมือนนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งกลับจากการวิจัยภาคสนามในดินแดนไกลโพ้น เช่น 

 

"ข้างในแมวเยอะมาก พวกมันจะนอนรวมกันอยู่มุมนึง นักโทษบางคนเขาก็ไม่ชอบแมว"

 

"แดนนี้เป็นแดนขังเด็กๆ (อายุไม่เกิน 30) ดีกว่าแดนที่เคยอยู่แม้จะแออัดกว่า เด็กๆ ดูสดใสกันมาก แต่ละคนต้องโทษคดีต่างๆ แต่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นมาก หลายคนชอบมาคุยกับผม ชอบมาถามโน่นถามนี่ เขาอยากเรียนรู้"

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ตื่นเต้นมากคือการนิยามพื้นที่ อาจารย์เล่าว่า "พวกเขาจัดการพื้นที่หลายอย่างด้วยวิธีของพวกเขา แม้แต่ห้องน้ำเอง เป็นที่รู้กันว่าหากมีม่านซึ่งพวกเขาทำกันเองกั้นอยู่ ทำที่เกี่ยวผนังกันเอง ก็อย่าไปรบกวน เพราะคนข้างในกำลัง "มาสเตอเบท" อยู่"

 

อาจารย์บอกว่าได้พบปะคนมากมายหลายแบบ จึงได้เขียนบันทึกไว้มากทีเดียว 

 

ส่วนกับครอบครัว อาจารย์เล่าว่าครอบครัวเข้าใจแกดี คุยกันตลอด พวกเขาดำเนินชีวิตตามปกติ 

 

สุดท้าย ผมฝากคำพูดกับอาจารย์ไว้ว่า "นักวิชาการจากทั่วโลกกำลังเฝ้าดูอยู่ ปีนี้จะมีการประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทย 3 รายการ นักวิชาการเหล่านี้รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น" 

 

อาจารย์แทรกว่า "งานผมได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอด้วย" ผมเลยกำชับว่า "หวังว่าอาจารย์จะได้ออกมาและได้ไปเสนองาน แต่หากอาจารย์ไม่ได้ออกมาทันเสนองานที่อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอ นักวิชาการเหล่านี้ก็จะต้องทำอะไรบางอย่าง"

 

ผมเห็นอาจารย์กระตือรือล้นมาก เห็นอาจารย์ตื่นเต้นกับเรื่องราวและผู้คนแปลกใหม่ ได้รับรู้ความรู้สึกแรกที่อาจารย์อยากบอกเล่าที่เป็นเรื่องประสบการณ์ต่อที่ว่าง จากมุมของคนที่อยู่ในที่แคบ แล้วก็ตื้นตันใจและมั่นใจว่าอาจารย์มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิตช่วงนี้อย่างเปี่ยมล้น

 

ที่จริงหลังจากที่อาจารย์บอกว่า "ฟ้าข้างในกว้างกว่าข้างนอก" อาจารย์ก็บอกอีกว่า "แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นพระจันทร์นะ เพราะตอนกลางคืนต้องเข้าห้อง" 

 

ผมคิดว่าคำพูดอาจารย์เป็นประสบการณ์ที่เยาะเย้ยเสรีภาพจอมปลอมนอกห้องคุมขัง พร้อมๆ กับเป็นคำดูแคลนการกักขังเรือนร่างกลวงเปล่า เพราะอย่าว่าแต่ความสำนึกคิดของอาจารย์เลย แม้แต่เลือดเนื้อ ผัสสะ ที่ก่อรูปประสบการณ์ของอาจารย์ ก็ไม่อาจถูกคุมขังได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)