Skip to main content

ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 

ยิ่งจากคำชี้แจงอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเองแล้ว (ดู http://www.chula.ac.th/th/archive/63023) ยิ่งชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เพียงจะยังไม่ก้าวหน้าทางวิชาการ แต่ยังยิ่งกลับถดถอยเสื่อมทรามในทางคุณธรรม ไม่ว่าจะวัดกันด้วยหลักจริยธรรมแบบไทย หรือหลักจริยธรรมสากลคือหลักสิทธิมนุษยชน 

จากคำชี้แจงของมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยเรียกร้องให้สังคมเห็นใจอาจารย์ที่กระทำความผิด ไม่ได้แสดงความเห็นใจต่อนิสิตที่ถูกทำร้าย แล้วนิสิตที่ถูกทำร้ายเขาเป็นอย่างไรบ้าง สภาพจิตใจเขาจะยิ่งเลวร้ายกว่าอาจารย์ไหม ไม่มีการกล่าวถึง 

ความแตกต่างทางความคิดจะต้องลงเอยด้วยความรุนแรงแบบนี้หรือ แล้วถ้าบรรดาอาจารย์ (จากคลิปคุณฟ้ารุ่ง ไม่ใช่คนเดียวที่ไร้วุฒิภาวะ) ประพฤติตนอย่างนี้ จะยังเป็นครูอยู่ได้อย่างไร จะมาเรียกร้องเอาจริยธรรมจากนิสิตได้อย่างไร  

มหาวิทยาลัยจะกลบเกลื่อนความผิดนี้ด้วยการขอความเห็นใจจากสังคมไม่ได้ การกระทำรุนแรงแบบนี้เกินกว่าเหตุแน่นอน มีความผิดอาญา เกินกว่าจะอาศัยความเห็นใจมาบดบังความผิด ไม่สมควรที่จะเพิกเฉยและปล่อยให้การกระทำผิดลอยนวลจนเป็นเหตุให้อาจเกิดความรุนแรงขึ้นอีก และอาจเลวร้ายกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก 

ในระดับของมหาวิทยาลัยเอง สภาอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรออกมาแสดงความรับผิดชอบไต่สวนวินัยอาจารย์เรื่องนี้ โดยให้ความเป็นธรรมแก่นิสิตเป็นหลัก ถึงอย่างไร คนที่สมควรมีวุฒิภาวะมากกว่าก็คืออาจารย์ไม่ใช่หรือ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า คือหากอาจารย์ผิดก็ควรต้องถือว่าผิดมากกว่านิสิต ร้ายแรงกว่าความผิดของนิสิต เพราะต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรมากกว่า ต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจมากกว่า 

มหาวิทยาลัยและสาธารณชนต้องแยกการให้ความเห็นใจต่อสภาวะจิตใจปัจจุบันของอาจารย์คนนั้น ออกจากกรรมที่ที่เขาได้ก่อไปแล้ว อย่างน้อยระหว่างก่อกรรมนั้น คนคนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะวิปลาสไม่ใช่หรือ หรือหากเป็นเช่นนั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็น่าสงสัยว่ามหาวิทยาลัยจะปล่อยให้เขามีสภาวะจิตที่ไม่สามารถดำเนินการเรียนการสอนอยู่ได้อย่างไร  

สาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า แล้วอาจารย์คนนี้จะถูกสอบสวนทางวินัยไหม อยู่ในสภาพที่ยังสามารถสอนหนังสือได้ไหม ยังมีวุฒิภาวะ มีสภาวะจิตใจที่ยังเป็นครูได้ไหม หากยังไม่พร้อม สมควรพิจารณาพักงานเขาไหม 

ถึงที่สุดแล้ว ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยกัน ผมเสียใจที่ได้เห็นว่าความเป็นครูจะบ่นปี้กันไปขนาดไหน ความมั่นใจของนิสิตต่อครูบาอาจารย์จะเป็นอย่างไร และยิ่งน่าสงสัยว่า ในระบบการศึกษาปัจจุบันที่เน้นการแข่งขันมุ่งเน้นกันแต่คะแนนประกันคุณภาพสูงๆ แข่งกันไต่อันดับในเวทีมหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก จะดำเนินไปโดยไม่ใส่ใจต่อระบบอำนาจนิยม หรือเลวร้ายกว่านั้นคือความไร้จริยธรรมของอาจารย์ ความขาดสติยั้งคิดของอาจารย์อย่างนั้นหรือ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้