Skip to main content

ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 

ยิ่งจากคำชี้แจงอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเองแล้ว (ดู http://www.chula.ac.th/th/archive/63023) ยิ่งชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เพียงจะยังไม่ก้าวหน้าทางวิชาการ แต่ยังยิ่งกลับถดถอยเสื่อมทรามในทางคุณธรรม ไม่ว่าจะวัดกันด้วยหลักจริยธรรมแบบไทย หรือหลักจริยธรรมสากลคือหลักสิทธิมนุษยชน 

จากคำชี้แจงของมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยเรียกร้องให้สังคมเห็นใจอาจารย์ที่กระทำความผิด ไม่ได้แสดงความเห็นใจต่อนิสิตที่ถูกทำร้าย แล้วนิสิตที่ถูกทำร้ายเขาเป็นอย่างไรบ้าง สภาพจิตใจเขาจะยิ่งเลวร้ายกว่าอาจารย์ไหม ไม่มีการกล่าวถึง 

ความแตกต่างทางความคิดจะต้องลงเอยด้วยความรุนแรงแบบนี้หรือ แล้วถ้าบรรดาอาจารย์ (จากคลิปคุณฟ้ารุ่ง ไม่ใช่คนเดียวที่ไร้วุฒิภาวะ) ประพฤติตนอย่างนี้ จะยังเป็นครูอยู่ได้อย่างไร จะมาเรียกร้องเอาจริยธรรมจากนิสิตได้อย่างไร  

มหาวิทยาลัยจะกลบเกลื่อนความผิดนี้ด้วยการขอความเห็นใจจากสังคมไม่ได้ การกระทำรุนแรงแบบนี้เกินกว่าเหตุแน่นอน มีความผิดอาญา เกินกว่าจะอาศัยความเห็นใจมาบดบังความผิด ไม่สมควรที่จะเพิกเฉยและปล่อยให้การกระทำผิดลอยนวลจนเป็นเหตุให้อาจเกิดความรุนแรงขึ้นอีก และอาจเลวร้ายกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก 

ในระดับของมหาวิทยาลัยเอง สภาอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรออกมาแสดงความรับผิดชอบไต่สวนวินัยอาจารย์เรื่องนี้ โดยให้ความเป็นธรรมแก่นิสิตเป็นหลัก ถึงอย่างไร คนที่สมควรมีวุฒิภาวะมากกว่าก็คืออาจารย์ไม่ใช่หรือ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า คือหากอาจารย์ผิดก็ควรต้องถือว่าผิดมากกว่านิสิต ร้ายแรงกว่าความผิดของนิสิต เพราะต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรมากกว่า ต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจมากกว่า 

มหาวิทยาลัยและสาธารณชนต้องแยกการให้ความเห็นใจต่อสภาวะจิตใจปัจจุบันของอาจารย์คนนั้น ออกจากกรรมที่ที่เขาได้ก่อไปแล้ว อย่างน้อยระหว่างก่อกรรมนั้น คนคนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะวิปลาสไม่ใช่หรือ หรือหากเป็นเช่นนั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็น่าสงสัยว่ามหาวิทยาลัยจะปล่อยให้เขามีสภาวะจิตที่ไม่สามารถดำเนินการเรียนการสอนอยู่ได้อย่างไร  

สาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า แล้วอาจารย์คนนี้จะถูกสอบสวนทางวินัยไหม อยู่ในสภาพที่ยังสามารถสอนหนังสือได้ไหม ยังมีวุฒิภาวะ มีสภาวะจิตใจที่ยังเป็นครูได้ไหม หากยังไม่พร้อม สมควรพิจารณาพักงานเขาไหม 

ถึงที่สุดแล้ว ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยกัน ผมเสียใจที่ได้เห็นว่าความเป็นครูจะบ่นปี้กันไปขนาดไหน ความมั่นใจของนิสิตต่อครูบาอาจารย์จะเป็นอย่างไร และยิ่งน่าสงสัยว่า ในระบบการศึกษาปัจจุบันที่เน้นการแข่งขันมุ่งเน้นกันแต่คะแนนประกันคุณภาพสูงๆ แข่งกันไต่อันดับในเวทีมหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก จะดำเนินไปโดยไม่ใส่ใจต่อระบบอำนาจนิยม หรือเลวร้ายกว่านั้นคือความไร้จริยธรรมของอาจารย์ ความขาดสติยั้งคิดของอาจารย์อย่างนั้นหรือ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ